ข่าวปัญหาการศึกษา(5) ครูไทย "ขาด... หรือ เกิน" ปัญหารอการแก้ไข - อาทิตยา


นับตั้งแต่ปี 2546 เป็นต้นมา คำกล่าวที่ว่า ครูเกิน ครูล้นงาน หรือเรียนครูแล้วไม่มีงานทำ คงต้องทบทวนและลบล้างให้หมดสิ้นไปจากความคิด เพราะสภาพความเป็นจริงที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน กลับพบว่าครูในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานขาดแคลน

---ที่มา---

http://www.rakbankerd.com/01_jam/thaiinfor/country_info/index.html?topic_id=2338&db_file

--รายละเอียด--

                นับตั้งแต่ปี 2546 เป็นต้นมา คำกล่าวที่ว่า ครูเกิน ครูล้นงาน หรือเรียนครูแล้วไม่มีงานทำ คงต้องทบทวนและลบล้างให้หมดสิ้นไปจากความคิด เพราะสภาพความเป็นจริงที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน กลับพบว่าครูในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานขาดแคลน ปัจจัยที่เป็นข้อเท็จจริงและส่งผลให้เกิดสภาวะขาดครูมีหลายประการ ได้แก่นโยบายควบคุมการผลิตครู การตัดอัตราครูเกษียณอายุราชการ และโครงการออกจากราชการก่อนเกษียณอายุ การลดอัตราการรับครู ครูทำงานหลายฝ่าย และครูสอนไม่ตรงตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ ปัจจัยดังกล่าวส่งผลให้เกิดสภาวะขาดแคลนครูในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้เกิดปัญหาที่รอการแก้ไขอยู่ในขณะนี้

                       ข้อเท็จจริงที่ว่าครูขาดหรือเกินกันแน่นั้น จึงขอนำผลงานวิจัยจำนวน 2 ชิ้นมานำเสนอเพื่อเป็นข้อมูลที่สะท้อนให้เห็นภาพการขาดแคลนครูในประเทศไทย ดังนี้

       เมื่อพิจารณาตามช่วงชั้น พบว่าจำนวนครูในระดับต่างๆ ดังนี้

กลุ่มประถมศึกษา ค่าเฉลี่ยของครูที่ขาดแคลน 1 ต่อโรงเรียน เท่ากับ 0.67

ช่วงชั้นที่ 1 เท่ากับ 0.58

ช่วงชั้นที่ 2 เท่ากับ 0.53

ช่วงชั้นที่ 3 เท่ากับ 0.52

ช่วงชั้นที่ 4 เท่ากับ 0.76

                  เมื่อพิจารณาตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ พบว่าจำนวนครูที่ขาดแคลนมากที่สุดอยู่ในระดับช่วงชั้นที่ 4 ซึ่งเป็นครูในกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ค่าเฉลี่ย 2.05 และเป็นครูในกลุ่มสาระการเรียนรู้ คณิตศาสตร์ค่าเฉลี่ย 1.30

                  เมื่อพิจารณาตามภูมิและที่ตั้งของโรงเรียนแล้ว พบว่าจำนวนครูที่ขาดแคลนมากที่สุดคือครูในเขตอำเภอภาคเหนือ ครูนอกเขตอำเภอเมืองของ กทม. และปริมณฑล โดยมีค่าเฉลี่ย 0.79 และ 0.78 ตามลำดับ

                      ลักษณะการขาดแคลนครูที่พบมากที่สุด คือครูสอนต้องช่วยงานอื่นๆ ของโรงเรียน และไม่ได้สอนตามวิชาเอกที่ได้เรียนมา คิดเป็นร้อยละ 92.50-92.90 ของโรงเรียนทั้งหมด

                      ผลงานวิจัยทั้ง 2 ชิ้นนี้บ่งชี้ให้เห็นภาพกว้างของสภาวะขาดแคลนครูในประเทศไทย และเป็นข้อมูลสารสนเทศที่มีประโยชน์ต่อการตัดสินใจผลิตครูในอนาคต ผู้ที่มีหน้าที่ความรับผิดชอบในการผลิตได้ใช้เป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาต่อไป

คำสำคัญ (Tags): #artitaya#h.
หมายเลขบันทึก: 58572เขียนเมื่อ 11 พฤศจิกายน 2006 00:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 พฤษภาคม 2012 15:02 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
น่ าตกใจนะคะกับจำนวนครูที่ขาดแคลน    ปัญหาที่รอการแก้ไขอย่างเร่งดวน  ของทุกเขตพื้นที่                                        

ก็เพราะการเป็นครูเดี๋ยวนี้ลำบาก ทำให้ไม่มีใครอยากเป็นไม่เหมือนเมื่อก่อนที่ได้รับความเคารพเชื่อถือ แต่เดี๋ยวนี้ไม่มีแล้ว 

 

ขอให้มีการเปิดสอบบรรจุในปีหน้าเยอะ ๆ นะครับ เผื่อผมจะสอบติดบ้าง เหอ ๆ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท