AAR : นักส่งเสริมฯ ลปรร.PAR อาหารปลอดภัย (พ.ย. 49)


การปรับเปลี่ยนบทบาทนักส่งเสริมการเกษตร จากผู้ถ่ายทอดเทคโนโลยี เป็นผู้จัดการความรู้

     เมื่อวันที่ 9 พ.ย. 49  ทีมงานนักส่งเสริมการเกษตรที่ได้นำการวิจัย PAR ไปดำเนินร่วมกับชาวบ้าน ได้จัดเวทีเพื่อมานำเสนอผลการปฏิบัติและแลกเปลี่ยนประสบการณ์กัน ณ ห้องประชุมสำนักงานเกษตรจังหวัดกำแพงเพชร


CKO คนใหม่ให้ความสนใจและยินดีสนับสนุนการเรียนรู้

     งานนี้มีการนำเสนอผลความก้าวหน้าจำนวน 8 ตำบล ซึ่งส่วนใหญ่ยังอยู่ในระหว่างการปฏิบัติกิจกรรม  หลังจากการนำเสนอแล้ว คุณศิริวรรณ หวังดี ได้สรุปบทเรียนว่า "นักส่งเสริมการเกษตร ได้เรียนรู้อะไร" จากการนำงานวิจัย PAR ลงไปปฏิบัติในงานส่งเสริมการเกษตร ซึ่งก็สรุปได้ดังนี้

  • การใช้ KM เป็นเครื่องมือในกระบวนการถ่ายทอดเทคโนโลยีได้
  • การปรับเปลี่ยนบทบาทนักส่งเสริมการเกษตร จากผู้ถ่ายทอดเทคโนโลยี เป็นผู้จัดการความรู้
  • การบูรณาการงานที่ทำ กับต่างหน่วยงาน ได้ในจุดเดียวกันนี้ (งานวิจัย)
  • ได้รู้วิธีการที่จะใช้เครื่องมือในการทำงานส่งเสริมการเกษตรร่วมกับชุมชน (การเก็บข้อมูล-การวิเคราะห์ข้อมูล-การสรุป)
  • เมื่อเรียนรู้ KM จึงได้รู้ว่าชุมชนนั้นมีภูมิปัญญามากมายที่สามารถนำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้/ปฏิบัติงานส่งเสริมการเกษตรได้
  • เรียนรู้วิธีการนำให้ชาวบ้านทำวิจัยอาหารปลอดภัยนั้น หากเริ่มด้วยความปลอดภัยของผลผลิตนั้นชาวบ้านจะไม่เห็นความสำคัญ แต่ควรเริ่มต้นด้วยการแจงขั้นตอนการผลิต แล้วนำด้วยปัญหาเพื่อการลดต้นทุน  แล้วจึงชักนำเข้าสู่ประเด็นการลดการใช้สารเคมี
  • ได้องค์ความรู้ในการตั้งโจทย์วิจัย ว่าในการตั้งโจทย์นั้น เมื่อได้ได้ปัญหาแล้ว ควรตั้งคำถามวิจัยต่อไปว่า "หาก......จะทำการผลิต......ให้มีความปลอดภัยแล้ว  เราจะต้องทำอย่างไรบ้าง?  เมื่อชาวบ้านเห็นกระบวนการทั้งหมดว่าควรทำอะไรบ้าง  จากนั้นจึงจะกำหนดชื่อการวิจัยด้วยคำถามว่า    ...แล้วสิ่งที่เราจะดำเนินการเพื่อให้ผลผลิตเราปลอดภัยเหล่านี้ เราจะเรียกว่าอะไร เป็นต้น
  • เรียนรู้วิธีการนำให้ชาวบ้านทำวิจัยอาหารปลอดภัยนั้น หากเริ่มด้วยความปลอดภัยของผลผลิตนั้นชาวบ้านจะไม่เห็นความสำคัญ แต่ควรเริ่มต้นด้วยการแจงขั้นตอนการผลิต แล้วนำด้วยปัญหาเพื่อการลดต้นทุน  แล้วจึงชักนำเข้าสู่ประเด็นการลดการใช้สารเคมี

     เป็นส่วนหนึ่งของบทเรียนที่ได้จากกิจกรรมนี้ในวันนี้   คงอีก  2-3 เดือน คงจะได้สรุปภาพรวมหลังกิจกรรม PAR วงแรกหมุนไปได้ครบรอบกันอีกครั้งหนึ่งนะครับ


ทีมงานจากกรมส่งเสริมฯ นำโดย ผอ.ธุวนันท์ ร่วม ลปรร.

 

บันทึกมาเพื่อการ ลปรร.ครับ

วีรยุทธ  สมป่าสัก

หมายเลขบันทึก: 58536เขียนเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2006 21:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:37 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

น้องสิงห์ป่าสัก 

                     ชอบบทเรียนที่สรุปว่า ในการตั้งโจทย์นั้น เมื่อได้ปัญหาแล้ว ควรตั้งคำถามวิจัยต่อไปว่า "หาก......จะทำการผลิต......ให้มีความปลอดภัยแล้ว  เราจะต้องทำอย่างไรบ้าง?  เมื่อชาวบ้านเห็นกระบวนการทั้งหมดว่าควรทำอะไรบ้าง  จากนั้นจึงจะกำหนดชื่อการวิจัยด้วยคำถามว่า    ...แล้วสิ่งที่เราจะดำเนินการเพื่อให้ผลผลิตเราปลอดภัยเหล่านี้ เราจะเรียกว่าอะไร พี่จะได้นำไปปรับใช้ C&D กับเครื่องมือโครงงานอาชีพที่พี่ใช้ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้อาชีพชาวบ้านอยู่ครับ ...ขอบคุณมากๆ

เรียน ครูนงเมืองคอน

  • ยินดีมากครับที่บันทึกนี้มีประโยชน์หากนำไปใช้แล้วผลเป็นอย่างไรช่วยต่อยอดให้ด้วยนะครับ
  • ให้ทุกคนได้เห็นสิ่งที่จะปฏิบัติทั้งหมดก่อน (เห็นเป็นก้อนใหญ่ๆ) แล้วจึงตั้งชื่อทีหลังชาวบ้านเขาร่วมกันตั้งได้ครอบคลุมและรวดเร็วดีมากครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท