Knowledge Sharing : การใช้เครื่องเอกซเรย์เคลื่อนที่แบบ C-Arm


สิ่งที่ได้รับจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของพวกเราเกิดประโยชน์อย่างยิ่งและอยากให้มีต่อไปเรื่อย ๆ

ในระยะนี้การจัดการความรู้ของชุมชนชาวชุดเขียวเป็นไปอย่างธรรมชาติและกำลังเข้มข้นขึ้นเรื่อย ๆ โดยที่เจ้าหน้าที่ทุกคนมีความเห็นชอบตรงกันที่จะจัดเวทีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ หรือ Knowledge Sharing กัน ซึ่งเราได้จัดไปครั้งที่ 1 /2550 ไปเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2549 เรื่อง เพื่อนช่วยเพื่อน : การตรวจสอบความถูกต้องของเลนส์ตา  คลิกที่นี่  

  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">สำหรับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครั้งที่ 2 / 2550 ได้กำหนดจัดในวันที่ 10 พ.ย. 2549 เวลา 08.30- 09.00 น. ในหัวข้อ การใช้เครื่องเอกซเรย์เคลื่อนที่แบบ C-Arm” โดยมีพี่ราตรี เพ็ชรเพ็ง เป็นหัวหน้าทีมครั้งนี้</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><div style="text-align: center"></div>

    

</span><p>คุณกิจที่ร่วมด้วยกันมีทั้ง ตัวแทนจากรองหัวหน้าพยาบาลงานศัลยกรรม พี่ถนอมจิตต์ ดวนด่วน และเป็นวิสัญญีด้วย พยาบาล พนักงานและผู้ช่วยเหลือคนไข้ห้องผ่าตัด</p><p>เครื่องเอกซเรย์เคลื่อนที่แบบ C-Arm เป็นเครื่องเอกซเรย์ที่มีขีดความสามารถในการเคลื่อนที่ วินิจฉัย และมีระบบดูภาพที่ใช้สำหรับการผ่าตัดผ่านทางจอภาพ ขอบข่ายการใช้งานหลัก ๆ มีดังนี้</p><blockquote>

·        การผ่าตัดแบบ Conventional Surgery

·        รักษาโรคทางระบบประสาทวิทยา

·        อาการบาดเจ็บ

</blockquote><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p>ส่วนประกอบของเครื่องและอุปกรณ์เสริม ประกอบด้วย</p><blockquote>

·        แท่นจอภาพเคลื่อนที่

·        ตัวแขน C-Arm

</blockquote><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"> </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p></p><p>ในวันนี้พี่ราตรีหรือคุณอำนวยเตรียมตัวมาอย่างดี เนื้อเรื่องที่เราแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประกอบด้วย… </p><p>1. ให้ทุกคนรู้จักส่วนประกอบของเครื่องเอกซเรย์เคลื่อนที่แบบ C-Arm </p><p>2. การสาธิตการใช้เครื่องโดยเริ่มตามขั้นตอนคือ  </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal" align="center"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal" align="center">2.1 ต่อสายระหว่างตัวแขน C-Arm กับแท่นจอภาพให้เรียบร้อย</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal" align="center"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal" align="center"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"><div style="text-align: center"></div></p>  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal" align="center">2.2 เสียบสายไฟของเครื่องเข้ากับปลั๊กไฟฟ้า</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal" align="center"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"><div style="text-align: center"></div></p>    <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal" align="center">2.3 เปิดสวิทช์ไฟสีเทาที่หน้าแผงของจอมอนิเตอร์ รอจนกว่าหน้ามอนิเตอร์และแผงที่ตัว C-Arm จะปรากฏสัญลักษณ์พร้อมใช้ดังภาพ</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal" align="center"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal" align="center"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>     <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal" align="center"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal" align="center">2.4 การบังคับให้เคลื่อนที่</p>  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p></p><p>2.4.1 ปุ่มควบคุมการเคลื่อนที่และห้ามล้อ </p><ul> <li class="MsoNormal" style="margin: 0cm 0cm 0pt; tab-stops: list 36.0pt"> ปกติเมื่อยังไม่ใช้งานต้องล็อคแป้นสำหรับเหยียบห้ามล้อ (ติดตั้งอยู่ทั้งสองด้านของแขน  C-Arm)ให้แขน C-Arm อยู่กับที่เสมอเพื่อความปลอดภัยของตัวเครื่อง </li> <li class="MsoNormal" style="margin: 0cm 0cm 0pt; tab-stops: list 36.0pt"> ถ้าต้องการจะขับเคลื่อน ให้ปลดล็อกแป้นสำหรับเหยียบห้ามล้อ </li> <li class="MsoNormal" style="margin: 0cm 0cm 0pt; tab-stops: list 36.0pt"> มือจับมีไว้สำหรับผลักหรือดันตัวเครื่องในระหว่างเคลื่อนย้าย ต้องการจะขับเคลื่อนไปข้างหน้า หลังปลดล็อคแป้นเหยียบห้ามล้อแล้ว ให้จับที่มือจับคันโยกสีเหลืองเคลื่อนที่ไปตรง ๆ ได้เลย แต่ถ้าต้องการจะขับเคลื่อนไปด้านซ้ายหรือขวาให้บิดมือจับคันโยกไปข้างซ้ายหรือขวาก็ได้ทั้ง 2 แบบ แล้วจึงเคลื่อนตัวเครื่อง C-Arm ไปตามทิศที่ต้องการ เมื่อได้ตำแหน่งที่ต้องการแล้วล็อคแป้นเหยียบห้ามล้อแขน C-Armให้อยู่กับที่เพื่อความปลอดภัย </li> </ul><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; tab-stops: list 36.0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; tab-stops: list 36.0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; tab-stops: list 36.0pt" class="MsoNormal"><div style="text-align: center"></div></p> 2.4.2 การบังคับควบคุมทิศทางแขน C-Arm ขณะจะใช้กับบริเวณผ่าตัด <ul><li class="MsoNormal" style="margin: 0cm 0cm 0pt; tab-stops: list 36.0pt">การเคลื่อนที่ของแท่นวางในแนวสูงจะมีมอเตอร์เป็นตัวขับเคลื่อน</li></ul><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; tab-stops: list 36.0pt" class="MsoNormal"><div style="text-align: center"></div> </p> <ul> <li class="MsoNormal" style="margin: 0cm 0cm 0pt; tab-stops: list 36.0pt"> สำหรับการปรับทิศทางอื่น ๆ จะถูกควบคุมด้วยการใช้มือ </li> <li class="MsoNormal" style="margin: 0cm 0cm 0pt; tab-stops: list 36.0pt"> สามารถปรับได้หลายทิศทาง ทั้งขึ้น-ลง เข้า-ออก ส่ายไปซ้ายหรือขวา หมุนให้ หรือตะแคง Lateral ซึ่งมักใช้ในการผ่าตัดกระดูกสันหลัง </li> <li class="MsoNormal" style="margin: 0cm 0cm 0pt; tab-stops: list 36.0pt"> การปรับทิศทางต่าง ๆ จะใช้คันบังคับที่มีอยู่ 4 ตัว คือ </li> </ul>1. การเคลื่อนที่เข้า-ออกในแนวนอน (Longitudinal movement) <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ปลดเบรกการเคลื่อนเข้าใกล้-หรือออกห่างจากบริเวณผ่าตัด ในแนวนอน หมุนมือจับไปที่สัญญลักษณ์กุญแจที่ไม่ล็อคข้างซ้าย</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"><div style="text-align: center"></div></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal" align="center">ภาพแสดงการเคลื่อนที่แนวนอนเข้า-ออก </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal" align="center"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal" align="center"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p>    </p><p></p><p>2. การเคลื่อนที่แบบส่ายไปมาซ้าย-ขวา (Panning movement) </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ยกคันโยกไปที่สัญญลักษณ์กุญแจที่ไม่ล็อค ระยะการเคลื่อนแบบส่ายอยู่ระหว่าง -10 องศา ถึง 10 องศา</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p>   </p><p></p><p> 3. การหมุน (Rotation) </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">เป็นการปรับตัวแขน C-Armให้อยู่ในท่า AP ยกคันโยกที่มีสัญลักษณ์กุญแจที่ไม่ล็อค องศาการหมุนอยู่ระหว่าง -155 องศา ถึง 155 องศา</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p>   </p><p></p><p>4. การเคลื่อนที่แบบทำมุม (Angulation) </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ปรับตัว C-Armให้อยู่ในท่าตะแคง Lateral ยกคันโยกที่มีสัญลักษณ์กุญแจที่ไม่ล็อค ระยะการทำมุมอยู่ระหว่าง -25 ถึง 90 องศา</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p>   </p><p></p><p> 2.5 กรณีที่ต้องการจะพิมพ์ภาพที่ถ่ายเอ๊กซเรย์ สามารถพิมพ์ออกมาได้จากเครื่องพิมพ์ที่อยู่กับจอมอนิเตอร์ หากกระดาษพิมพ์ภาพหมด สามารถเปลี่ยนได้ จากรูป </p><p> </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><div style="text-align: center"></div>  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ในระหว่างการสาธิตพี่ราตรีก็จะมีทีมน้องพนักงานซึ่งมีองค์ความรู้มากกว่าพยาบาลมาเป็นผู้ช่วยสาธิตเห้นมั๊ยคะว่าทำงานเป็นทีมกันดีขนาดไหน </p>  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ต่อจากการสาธิตก็เป็นช่วงที่ให้คุณกิจทุกคนมีส่วนร่วมโดยการทดลองการขับเคลื่อนโยกย้ายตัว C-Arm ตลอดจนการปรับตัว C-Arm ให้ได้ตามทิศทางที่ต้องการกันอย่างสนุกสนาน</p>  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">หลังจบการสาธิตและทดลองใช้งานแล้ว เราก็ได้ AAR กันทันที สิ่งที่ได้จากการ AAR คือ</p>  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">1. สิ่งที่คาดหวัง : </p><ul><li><div class="MsoNormal" style="margin: 0cm 0cm 0pt">ชุมชนคนชุดเขียวได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันเกี่ยวกับการใช้เครื่องเอ๊กซเรย์เคลื่อนที่แบบ C-Arm</div></li></ul>  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">2. สิ่งที่เกิดขึ้นจริง และ ผลที่ได้รับ:</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><blockquote>

·        เจ้าหน้าที่ที่ไม่เคยรู้มาก่อนได้เรียนรู้ร่วมกันเพิ่มเติม

·        เจ้าหน้าที่ที่เคยรู้มาบ้างแต่เนื่องจากไม่ค่อยได้สัมผัสจึงทำให้ลืม ในวันนี้จึงเป็นโอกาสดีที่ได้ทบทวนความรู้เดิม

·        บรรยากาศการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เต็มไปด้วยความสนุกสนาน ได้ทั้งสาระความรู้ เทคนิคต่าง ๆ

·        รู้สึกเป็นประโยชน์กับตนเอง สามารถนำไปใช้ในการปฏิบัติงานได้จริง

·        อยากให้มีจัดเวทีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างพวกเราไปเรื่อย ๆ

</blockquote><p style="margin: 0cm 0cm 0pt 72pt; text-indent: -18pt; tab-stops: list 72.0pt" class="MsoNormal" align="left"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt 72pt; text-indent: -18pt; tab-stops: list 72.0pt" class="MsoNormal" align="left"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt 72pt; text-indent: -18pt; tab-stops: list 72.0pt" class="MsoNormal" align="left">เห็นผลที่ได้รับแล้วดิฉันบอกได้คำเดียวค่ะ ปลื้มใจจริง ๆ</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt 72pt; text-indent: -18pt; tab-stops: list 72.0pt" class="MsoNormal" align="left"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt 72pt; text-indent: -18pt; tab-stops: list 72.0pt" class="MsoNormal" align="left">Line1</p>

หมายเลขบันทึก: 58515เขียนเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2006 19:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:37 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)
เห็นผลงานแล้วปลื้มตามหนูเล็กค่ะ

ขออนุญาตนำเรียนผ.อ. ให้ทราบว่าเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของพวกเราจะจัดในทุกวันศุกร์สัปดาห์ที่ 2 ของเดือนค่ะ ในเดือนหน้าเล็กว่าจะเชิญหน่วยงานอื่น ๆ มาร่วมแจมด้วยนะคะ

เพื่อความปลอดภัยและยืดอายุการใช้งานเครื่องเอกซเรย์ ผู้ปฏิบัติงานควรเลือกใช้เทคนิค pulse fluoro สามารถลดปริมาณรังสีที่ผู้ปฏิบัติงานจะได้รับ แม้จะบอกช้าไป2ปีก็คงไม่เป็นไรครับ

พี่คะหนูเป็น cir อยากได้คู่มือการใช้ที่เป็นภาษาไทย ที่ร.พ หนูรุ่นพี่เค้าหวงความรู้กันมากเลยค่ะ flu แต่ละทีสุดแสนจะลำบากค่ะ

คุณนักรังสี

ขอบคุณมากค่ะ จะได้นำไปบอกน้อง ๆ ต่อนะคะ

คุณน้องอร

น้อง ๆ ที่ใช้งานเป็นพนักงานค่ะ องค์ความรู้อย่างลึกซึ้งคงมีไม่มากเท่าไหร่ ถ้าอย่างไรน้องลองปรึกษานักรังสีน่าจะทำได้ดีกว่าพี่นะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท