รูปแบบ ไร้รูปแบบ


ระหว่างทำงานด้านการศึกษา ผมพบว่า ปัญหาอย่างหนึ่งคือการ "ตกร่องรูปแบบ" หรือ "ติดรูปแบบ" ซึ่งทำให้การนำทฤษฎีมาปฏิบัติไม่ได้ผล เพราะคน "รูปแบบการสอน" จนลืมให้ความสำคัญกับ "บริบท" ของผู้เรียน ชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม เมื่อใดได้คุยกันเรื่องประเด็นนี้ ผมจะใช้วิธีแยกให้เห็นกระบวนการเรียนรู้และพัฒนาริเริ่มรูปแบบด้วยภาพด้านล่าง (ซึ่งไ้ดนำเสนอไว้นานแล้วตามบันทึกนี้) เพื่อความสะดวกในการอ้างอิงต่อไป จึงคัดลอกส่วนนี้มาวางไว้อีกครั้ง


  • ขั้นใช้รูปแบบ หมายถึง การใช้ "หลักปฏิบัติ" หรือ "แนวปฏิบัติ" ที่เคยมีมา อาเป็นทฤษฎี กิจกรรม ฯลฯ
  • ขั้นเรียนรูปแบบ ระหว่างที่นำ "รูปแบบ" นั้นมาใช้ เราก็สังเกต ศึกษา วัดผล ประเมินผลบนพื้นฐานของบริบทและเป้าประสงค์ของตนเอง ทำให้เกิดความรู้ "เข้าใจ" และ "เข้าถึง" ในวิธีการ "พัฒนา" นักเรียนด้วยรูปแบบนั้นๆ
  • ขั้นไร้รูปแบบ คือ สถาวะที่เราเกิดองค์ความรู้และทักษะในการออกแบบในตนเองเพียงพอ สามารถปรับใช้รูปแบบเดิมต่างๆ หรือออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอนให้เข้ากับสถานการณ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ บรรลุเป้าหมายได้ทั้งผู้เรียนและผู้อำนวยการเรียน ฯลฯ
  • ขั้นริเริ่มรูปแบบ คือ ขั้นสังเคราะห์ประสบการณ์ฝังลึก (Tacit Knowledge) ในตนเอง ออกมาเป็น "หลักปฏิบัติ" หรือ "แนวปฏิบัติ" อาจเป็นในลักษณะของแบบจำลอง คู่มือ ผลงานวิชาการ ฯลฯ ซึ่งเพื่อนครูสามารถนำ "รูปแบบ" นี้ไปทดลองใช้ได้


  • หมายเลขบันทึก: 584873เขียนเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2015 08:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2015 08:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


    ความเห็น (0)

    ไม่มีความเห็น

    อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท