มองบันทึกของครูอ้อย VS นายรักษ์สุข ใน gotoknow กับการติดตามหาความรู้จากความไม่รู้


สิ่งที่หลายคนรู้ ย่อมมีผู้ที่ไม่เข้าใจได้เช่นกัน
ในมุมมองของผู้ที่ติดตามอ่าน gotoknow เกิดคำถามและสงสัยว่า ทำไมหลายคนเขียนหลายบันทึกและมีหลายบล็อกได้

เขาเอาอะไรมาเขียน แล้วเขียนได้ยังไง
นายบอนจึงถามเพื่อนให้ชี้ชัดๆสิว่า บล็อกของใคร บล็อกไหนหรือที่เพื่อนสงสัยน่ะ

บล็อกของครูอ้อย สิริพร กุ่ยกระโทก และคุณปภังกร ชิตวรรณ  (นายรักษ์สุข)

อันที่จริงก็มีหลายบันทึกที่ได้เขียนอธิบายถึงเรื่องความรู้ฝังลึก , การจัดการความรู้ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ฯลฯ ซึ่งจะตอบข้อสงสัยเหล่านั้นได้ ซึ่งเพื่อนของนายบอนก็เคยอ่าน

เมื่อตั้งคำถามแบบนี้ แสดงว่า บันทึกหลายบันทึกที่เคยเขียนเกี่ยวกับเรื่องเหล่านี้ เพื่อนของนายบอนอ่านไม่เข้าใจ!!!

พูดให้เข้าใจง่ายๆได้ไหม ให้คนที่ไม่จบปริญญาได้รู้บ้าง
อือม.. ถามง่ายแต่ตอบให้เข้าใจยากเหมือนกันนะครับ นายบอนจึงถามว่า อยากจะรู้อะไรบ้าง?

”อยากรู้ว่า เขารู้ได้ยังไงว่าจะต้องเขียนบันทึกเรื่องอะไร , แล้วเอาอะไรมาเขียนบันทึกตั้งมากมาย แล้วคนเขียนไม่งงหรือว่า กำลังเขียนอะไรอยู่”

นายบอนจึงถามใกล้ตัวเข้ามาอีกนิด แล้วที่เห็นบันทึกของนายบอนในแต่ละวันนี่ งงมากน้อยแค่ไหน??

”อันนี้ไม่งง เพราะเรื่องที่เขียนก็เห็นๆกันอยู่ว่า ไปหยิบเอามาจากไหนมั่ง”

ตอบแบบนี้ เพื่อนคงนึกไม่ออกว่า ครูอ้อย กับนายรักษ์สุข ไปหยิบเรื่องราวต่างๆมาเขียนบันทึก เอามาจากที่ไหนบ้าง..

จะอธิบายยังไงดีล่ะครับ ถ้าจะหยิบยกคำอธิบายในบันทึกที่มีผู้เคยอธิบายไว้แล้ว เพื่อนก็คงจะไม่เข้าใจเช่นเดิม เพราะบันทึกเหล่านั้น เพื่อนนายบอนได้อ่านมาแล้ว

”ตอนเช้าตื่นขึ้นมา ล้างหน้าแปรงฟัน  ตอนเที่ยงนั่งทานข้าว ตอนบ่าย นายต้องไปรับหลานที่โรงเรียน ตอนเย็นต้องไปจ่ายตลาด แล้วนายรู้ได้ยังไงว่า วันนึงๆจะต้องทำสิ่งเหล่านี้”

นั่นคือ คำอธิบายแบบง่ายๆในตอนเริ่มต้นที่นายบอนใช้ตอบคำถามที่เพื่อนสงสัยว่า ทำไมครูอ้อยกับนายรักษ์สุขถึงรู้ว่าจะต้องเขียนบันทึกเรื่องอะไร...

เพื่อนนายบอนตั้งข้อสังเกตที่น่าสนใจว่า ครูอ้อย และนายรักษ์สุข เป็นคุณครู ย่อมมีวิธีการในการถ่ายทอดเรื่องราวต่างๆได้อย่างต่อเนื่อง คนเป็นครู ได้เปรียบในจุดนี้ เนื่องจากสอนหนังสือให้ความรู้มากกว่าวิชาชีพอื่นๆ คนที่เป็นครูจะเขียนบันทึกได้อย่างต่อเนื่อง ไม่ขาดตอน

แต่ยังสงสัยว่าทำไมทั้ง 2 ท่านถึงมีหลายบล็อก แล้วรู้ได้ยังไงว่าเขียนบันทึกไหนที่บล็อกไหน ไม่สับสนบ้างหรือ?

นายบอนเลยอธิบายจากสิ่งที่เพื่อนคุ้นเคย คือ ห้องสมุดประชาชน จ.กาฬสินธุ์ที่เพื่อนไปใช้บริการบ่อยๆนั่นเอง ที่มีหนังสือหลากหลาย อยากได้เนื้อหาด้านไหน ก็ไปที่ตู้หนังสือหมวดนั้น  คงจะคล้ายกับครูอ้อย และนายรักษ์สุข ที่เหมือนมีห้องสมุดอยู่ในสมอง ที่จัดระบบความคิดเป็นหมวดหมู่ และหยิบประเด็นที่ต้องการออกมาถ่ายทอดตามที่ต้องการในแต่ละวัน

ห้องสมุดของทั้ง 2 ท่าน มีการเก็บสะสมหนังสืออยู่เรื่อยๆ เติมความรู้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งทั้งสองท่าน จะจัดระบบความคิดในแบบเฉพาะตัว ท่านหนึ่งสามารถจัดหมวดหมู่ได้ถึง 12 หมวดหมู่ (12 บล็อก) ถือเป็นความชำนาญและประสบการณ์ความรู้ที่เก็บสะสมมา


หลังจากที่ติดตามบันทึกของ 2 ท่านแล้ว เพื่อนของนายบอนเลยตั้งข้อสังเกต เพราะจับประเด็นบางอย่างของนายบอนได้

1)  ทำไมนานๆที นายบอนจะเขียนบันทึกถึงท่านหนึ่งโดยเฉพาะ เป็นบันทึกพิเศษเกี่ยวกับ Blogger ท่านนั้น หลายเดือนก่อน นายบอนจะเขียนถึงนายรักษ์สุข เดี๋ยวนี้เขียนถึงครูอ้อย เป็นเทคนิคในการเลือกเขียนถึงหรือเปล่า แล้วไม่เขียนถึงคนที่เคยเขียนอีกหรือ เพื่อจะได้อ่านความคิดเห็นที่เปลี่ยนไปจากหลายเดือนก่อน

ตอบ
+ การเขียนถึง เหมือนการสรุปการเรียนรู้ เมื่อเราได้อ่าน ฟัง ดู ชมเรื่องหนึ่งแล้ว เรารับรู้มากน้อยแค่ไหน เจ้าของบันทึกให้เต็มร้อย ณ วันที่อ่าน อาจจะรับได้ 70 ส่วน แต่นานวันก็จะลืมเลือน การสรุปบทเรียน เหมือนเป็นการบันทึกการเรียนรู้ บันทึกลงในสมอง บันทึกตามความเข้าใจของตัวเอง
+  การเรียนรู้ที่ผ่านโสตสัมผัส สามารถสะสมประสบการณ์ นำแนวคิดไปประยุกต์ใช้ในอนาคตได้
การที่เขียนถึงเรื่องใด เพราะกำลังเรียนรู้เรื่องนั้น และได้ข้อสรุปในเรื่องนั้น จนสามารถเขียนถึงได้  ศิลปะในการเขียน สามารถเขียนได้แบบตรงๆ หรือ แบบอ้อมๆ เขียนตรงคือ ระบุไปเลยว่า เขียนถึงคนนี้ หรือบันทึกนี้นะ ส่วนแบบอ้อมๆ อาจจะหยิบแนวคิดของท่านอื่น มาผสมกับแนวคิดของเรา เป็นอีกมุมมองหนึ่ง   .. มีหลายบันทึก ที่นายบอนหยิบแนวคิด นายรักษ์สุข + นายบอน เป็นอีกมุมมองใหม่ คนละเรื่องไปเลย แต่เป็นเรื่องที่ไม่ได้อยู่ในความสนใจของนายรักษ์สุข (สังเกตจากประเด็นที่นายรักษ์สุขชอบเขียน) จึงไมได้กล่าวถึงชื่อนายรักษ์สุข เพราะถ้าเจ้าตัวมาอ่านเจอ ก็คงจะงงๆว่า  มีมุมมองของนายรักษ์สุขด้วยหรือ

2) การเขียนบันทึกในแบบชื่นชม blogger ท่านอื่น ให้ประโยชน์กับคนอื่นอย่างไร เพราะดูแล้ว เหมือนเป็นเรื่องส่วนตัวระหว่างคนสองคน ที่เกี่ยวข้องกัน

ตอบ
+ เป็นน้ำใจเล็กๆน้อยๆที่มอบให้  เป็นแรงขับเคลื่อนให้ผู้เขียนบันทึก เขียนต่อไป
+ เอาผลสะท้อนที่เกิดขึ้น ความรู้สึกดีของผู้ที่ถูกเขียนถึง เติมกำลังใจให้ตัวเอง
+ เมื่อโลกสดใส ตัวเราซึ่งอยู่ในโลกใบเดียวกันนั้น ก็จะได้สัมผัสกับบรรยากาศนั้นด้วย
+ การทำให้ผู้อื่นปิติสุขอย่างพิเศษถือเป็นกุศลอย่างหนึ่ง  

3) การเขียนข้อคิดเห็นในบล็อกของครูอ้อย กับนายรักษ์สุข ทำไม บางที นายบอนก็เขียนข้อคิดเห็น บางช่วงก็ไม่เขียนเสียเลย

ตอบ
+ เมื่ออยากเต็มเติมกำลังใจยามเหงาๆ เติมมิตรภาพ  หรือมีเวลามากๆ ก็จะร่วมเขียนข้อคิดเห็น
+ เมื่ออยากตักตวงความรู้ แสวงหามุมมอง มีเวลาน้อย ก็จะนั่งอ่านลูกเดียว


4) เทคนิคการติดตามอ่านบล็อกของทั้ง 2 ท่านนี้ให้สนุก จะทำอย่างไรดี

ตอบ
+ ถ้าอ่านรู้เรื่อง ยังไงก็สนุก
+ ถ้าเปิดดูทุกวัน ก็ติดตามบันทึกใหม่ๆ อย่าพลาด
+  ถ้านานๆ เปิดที ก็เปิดบันทึกล่าสุดของเค้า อ่านๆๆ แล้วคลิกย้อนกลับไปอ่านบันทึกก่อนหน้า ไล่ดะอ่านไป เค้าจะเขียนเชื่อมโยงกัน เหมือนดูรายการวิเคราะห์ข่าว เมื่อให้เวลาช่วงหนึ่งติดตามอ่านบันทึกของคนๆหนึ่งอย่างต่อเนื่อง จะได้อรรถรสหลายอย่าง ซึ่งจะต่างจากการเปิดอ่านบันทึกแรก ของคนหนึ่ง แล้วคลิกอ่านบันทึกถัดไปของคนที่ 2
+ วิธีอ่านให้ครอบคลุม เปิดดูทุกบันทึกที่เห็น แม้จะเป็นเรื่องที่ไม่น่าสนใจสำหรับเรา เพราะผู้เขียนอาจจะตั้งชื่อเรื่องไม่โดนใจเรา แต่เนื้อหาข้างในน่าสนใจ มีรูปภาพที่น่าดู คลิกเปิดดูแล้วจะไม่พลาดสิ่งดีๆ



หมายเลขบันทึก: 58473เขียนเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2006 15:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:18 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ถึงคุณบอน

  • ต้องตอบก่อนไปสอบวันอาทิตย์ค่ะ

เมื่ออยากเต็มเติมกำลังใจยามเหงาๆ เติมมิตรภาพ  หรือมีเวลามากๆ ก็จะร่วมเขียนข้อคิดเห็น
+ เมื่ออยากตักตวงความรู้ แสวงหามุมมอง มีเวลาน้อย ก็จะนั่งอ่านลูกเดียว


มิน่าเล่า  counter ของครูอ้อยจึงพุ่งกระฉุดน้องกระเฉด

 

เป็นน้ำใจเล็กๆน้อยๆที่มอบให้  เป็นแรงขับเคลื่อนให้ผู้เขียนบันทึก เขียนต่อไป
+ เอาผลสะท้อนที่เกิดขึ้น ความรู้สึกดีของผู้ที่ถูกเขียนถึง เติมกำลังใจให้ตัวเอง
+ เมื่อโลกสดใส ตัวเราซึ่งอยู่ในโลกใบเดียวกันนั้น ก็จะได้สัมผัสกับบรรยากาศนั้นด้วย
+ การทำให้ผู้อื่นปิติสุขอย่างพิเศษถือเป็นกุศลอย่างหนึ่ง  

คุณบอนถ่ายทอดความรู้สึกตรงนี้ออกมา  เหมือนกับว่าคุณบอนเป็นครูอ้อยเสียเอง  โดนใจจริงๆ

 การที่เขียนถึงเรื่องใด เพราะกำลังเรียนรู้เรื่องนั้น และได้ข้อสรุปในเรื่องนั้น จนสามารถเขียนถึงได้  ศิลปะในการเขียน สามารถเขียนได้แบบตรงๆ หรือ แบบอ้อมๆ เขียนตรงคือ ระบุไปเลยว่า เขียนถึงคนนี้ หรือบันทึกนี้นะ ส่วนแบบอ้อมๆ อาจจะหยิบแนวคิดของท่านอื่น มาผสมกับแนวคิดของเรา เป็นอีกมุมมองหนึ่ง

ขอเพิ่มเติมอีกเรื่องหนึ่ง...คือความจริงใจผสมกับความตรงใจ  ครูอ้อยมักจะพูดเสมอว่า  ทั้งหมดที่เขียนโดยการกดลงบนแป้นพิมพ์นั้นมาจากใจ  จากก้นบึ้งของหัวใจ  ไม่เกรงคำวิจารณ์  ท่านผู้อ่านไม่ชอบ  ก็คลิกบันทึกอื่นต่อไป  ไม่มีกำหนด  ซึ่งขอบอกผ่านตรงนี้อีกครั้งว่า  เขียนออกมาจากใจ ไม่ได้ลอกเลียนแบบใคร

ห้องสมุดของทั้ง 2 ท่าน มีการเก็บสะสมหนังสืออยู่เรื่อยๆ เติมความรู้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งทั้งสองท่าน จะจัดระบบความคิดในแบบเฉพาะตัว ท่านหนึ่งสามารถจัดหมวดหมู่ได้ถึง 12 หมวดหมู่ (12 บล็อก) ถือเป็นความชำนาญและประสบการณ์ความรู้ที่เก็บสะสมมา

ครูอ้อยเขียนบันทึกและจัดเก็บตามระบบดูอี้  มีระบบการจัดเก็บที่ไม่ซ้ำใคร  และเป็นตัวของตัวเอง  ไม่หวงที่จะนำไปใช้

  • ขอบคุณ คุณบอนที่ส่งพลังใจ  ให้กำลังใจ  มาให้ครูอ้อยอย่างสม่ำเสมอ
  • จากที่นี่  เป็นเครื่องพิสูจน์ว่า  คุณบอนเป็นแฟนพันธ์แท้ของครูอ้อย


คุณบอน : เขียนบันทึกถึงครูอ้อย
2006-10-26 03:59:33

คุณบอน  โฉเก  เดี๋ยวมีเวลาก่อนจะย้ายบ้านหนีคุณบอน..
นายบอน!-กาฬสินธุ์ เมื่อ พฤ. 26 ต.ค. 2549 @ 00:44 จาก 203.113.61.166   ลบ

อาจจะมีซ้ำบ้างก็ขออภัย..ครูอ้อย..ขอบคุณคุณบอนอีกครั้ง...
ความรู้สึกหลั่งไหลดั่งท่อประปาแตกเลยนะครับ
และแล้วครูอ้อยก็โดนพาดพิงอีก 1 บันทึก

การขยายผลความสุข ความมีชีวิตชีวาของครอบครัวไทยด้วยการเขียนบันทึกใน blog

คุณบอนคะ 

  • จะเปรียบเทียบความรักเป็นท่อประปาแตกหรือ 
  • ผู้อ่านเขาไม่ซื้ออ่านแน่หนังสือเล่มนี้ อิอิ
  • เดือนธันวาคม  จะได้เห็นหน้าเห็นฝ้ากันใหมนี่  อิอิ

เปรียบควมรู้สึกต่างหาก ใครว่าความรัก เขียนตัวอักษรชัดเจนแล้ว คนบางคนอ่านมากจนตาเบลอ

ควรพักสายตาสักครู่ จะดีกว่า 

 

จริงนะ  คุณบอนพูดจริง ควรพักสายตาเสียบ้าง ครุอ้อยจะพักแล้วนะ ขอบคุณ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท