จุดประสงค์ของการแบ่งการดูแลสุขภาพ เป็น รูปเครือข่าย สามระดับ


เพื่อให้การใช้ทรัพยากรสาธารณสุขได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้ป่วยได้รับความพึงพอใจ อีกทั้งทำให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขพึงพอใจได้ทำงานตามขีดความสามารถที่มี และ ประเทศชาติประหยัดงบประมาณทางด้านสาธารณสุขลงได้อย่างมาก
จุดประสงค์ของการแบ่งการดูแลสุขภาพ เป็น รูปเครือข่าย สามระดับ มีดังต่อไปนี้ 1.เพื่อให้การใช้ทรัพยากรสาธารณสุขได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2.ผู้ป่วยได้รับความพึงพอใจ อีกทั้ง 3.ทำให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขพึงพอใจได้ทำงานตามขีดความสามารถที่มี และ 4.ประเทศชาติประหยัดงบประมาณทางด้านสาธารณสุขลงได้อย่างมาก เนื่องจากการเจ็บป่วย จะเริ่มป่วยเป็นขั้นตอน จากการปฏิบัติตัวผิด ที่ทำให้มีความเสี่ยงในการเกิดโรคสูงเมื่อไม่ได้รับการแนะนำแก้ไข จะป่วยมากขึ้นเรื่อย ๆ ถ้ายังไม่ได้รับการแก้ไขอีก ก็อาจจะป่วยรุนแรง เพิ่มขึ้น มีความพิการ หรือ อาจจะเสียชีวิตได้ ซึ่งกลุ่มที่ปฏิบัติตัวผิด หรือ เริ่มป่วยจะมีมากกว่าป่วยแล้ว หรือ ป่วยหนักมาก จะมีประมาณ มากกว่า 95% มีส่วนน้อยเพียงไม่ถึง 5% เท่านั้น ที่ต้องพบแพทย์เฉพาะทาง ดังนั้น ถ้ามีการกระจายทรัพยากรสาธารณสุขตาม ความเป็นจริงของการเจ็บป่วย ข้างต้น ควรจะต้องดูแลสุขภาพ เป็นรูปเครือข่าย ตามช่วงอาการ ที่ป่วยของคนไข้ อย่างเหมาะสม โดย แบ่งเป็น 3 ระดับ คือ 1.ด่านแรก ใช้แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว หรือ แพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป เดิม ที่เปลี่ยนมาเป็นสาขาเวชศาสตร์ครอบครัว ในปัจจุบัน ดูแลสุขภาพ ร่วมกับทีมสุขภาพของร.พ.อำเภอ (ประกอบด้วยแพทย์ ทันตแพทย์ เภสัชกร พยาบาล และ เจ้าหน้าที่สุขภาพอื่นๆ ตามเกณฑ์คุณภาพที่กระทรวงสาธารณสุข กำหนดขึ้น)มาดูแลใกล้บ้านประชาชนที่ศูนย์สุขภาพชุมชน (หรือ สถานีอนามัยเดิม ที่ได้รับการพัฒนา โดย มีทีมสุขภาพ ของร.พ.อำเภอมาดูแล จนพัฒนาครบเกณฑ์ฯ จนได้รับการยกฐานะเป็นศูนย์สุขภาพชุมชน) โดยทีมสุขภาพ จะทำหน้าที่ให้การดูแลสุขภาพ ทุกๆคนในเขตรับผิดชอบของสถานีอนามัยเดิม(ศูนย์สุขภาพชุมชนในอนาคต) การดูแล สุขภาพ ตามอุดมการณ์............................. "ดูแล แต่แรก แทรกทุกเรื่อง อย่างต่อเนื่องผสมผสาน ดูแลใกล้บ้าน ประสานส่งต่อ" เมื่อประชาชนป่วย หรือ รู้สึกไม่สบาย หรือ อยากปรึกษาปัญหาสุขภาพ ก็สามารถมาหาได้ทันที เพราะ อยู่ใกล้บ้าน ทำให้ประชาชนส่วนใหญ่ 95% กว่า ที่อยู่ในความรับผิดชอบ ได้รับความสะดวกในการมารับบริการสุขภาพ ฟรี หรือ 30 บาทตามสิทธิ ที่มีคุณภาพ เพราะ อยู่ใกล้บ้าน ถ้าด่านแรกพบว่าเกินความสามารถซึ่งพบได้น้อย น้อยกว่า 5 % ที่จะเกินความสามารถ ก็จะได้รับคำแนะนำและใบส่งตัวให้ไปรักษาต่อตามสิทธิได้ ในสถานพยาบาลที่ด่านสอง หรือ สามที่ เหมะสม ต่อไป ยกเว้น:กรณีอุบัติเหตุ หรือ ฉุกเฉิน สามารถเข้ารักษาที่สถานพยาบาล ด่านใดก็ได้ที่อยู่ใกล้ที่สุด ไม่ต้องมีใบส่งตัว จากสถานพยาบาลใกล้บ้าน ใช้สิทธิ 30 บาท รักษาฟรี ได้ ดังนั้นในประเทศอังกฤษ หรือ ฟินแลนด์ แพทย์ส่วนใหญ่จะเป็นแพทย์ด่านแรก ในประเทศไทยเรากำลังพยายามปฏิรูปให้เหมือนประเทศที่พัฒนาแล้วให้มีแพทย์ด่านแรก (แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว หรือ แพทย์เวชปฏิบัติเดิม)มากขึ้นกว่าแพทย์เฉพาะทาง ดูอ้างอิงได้ที่ "การดูแลทางด้านสาธารณสุขเบื้องต้น(ระดับปฐมภูมิ)ที่อังกฤษ และ ฟินแลนด์"ที่เวบบ์ข้างล่างนี้ http://gotoknow.org/blog/doctor000/27272 2.ด่านสอง ใช้ กลุ่มแพทย์เฉพาะทาง แต่ละสาขา ดูแลคนไข้ที่เกินความสามารถด่านแรก ที่เขียนใบส่งตัวมาให้รักษา ประมาณน้อยกว่า 5 % ที่เกินความสามารถ ถ้ามาโดยไม่ผ่านด่านแรก ไม่มีใบส่งตัว มา ถ้าจะรักษาจะต้องเสียเงินเองเพราะมาผิดขั้นตอน ด่านสองจะดูแลเฉพาะ คนไข้ตามแผนก ของตน ที่สมควรต้องมาพบแพทย์เฉพาะทางเท่านั้น ผลจากการต้องมีการผ่านการตรวจคัดกรองก่อนมาจากด่านแรก จะทำให้คนไข้ในด่านสอง น้อยลง ในด่านนี้มี กลุ่ม แพทย์เฉพาะทางในแต่ละสาขา จำนวนหลายคน มีเครื่องมือ เครื่องใช้ในการบริการพร้อมใช้ มีแพทย์เฉพาะทางแต่ละสาขามากพอที่จะจัดให้อยู่เวรนอกเวลาราชการตลอด 24 ชม.ได้ทุกวันได้ ต่างกับ ร.พ.อำเภอ มีแพทย์เฉพาะทางเพียง สาขาละ 1 คน เป็นด่านแรก ไม่สามารถจัดแพทย์เฉพาะทาง อยู่เวร ได้ตลอด ทุกวันได้ ข้อเสนอที่อยากเสนอ ให้จัดใหม่ แพทย์เฉพาะทาง ควรให้มารวมกันเป็นแผนกทำงานอยู่ที่ร.พ.ด่านสอง ที่มีทีมแพทย์หลายคน เครื่องมือก็พร้อม บุคคลากร ด้านช่วยเหลืออื่นๆ ก็พร้อม เพื่อ รอรับส่งต่อจากด่านแรกที่ควรให้มีเฉพาะแพทย์ทั่วไปหรือ เวชศาสตร์ครอบครัวอยู่เท่านั้น ไม่ควรมีแพทย์เฉพาะทางเพียงคนเดียว ทำให้ประชาชนเข้าใจผิดว่ามีแพทย์เฉพาะทางตลอดเวลามาเมื่อไรก็ตามจะต้องพบหมอเฉพาะทางซึ่งเป็นไปไม่ได้สำหรับแพทย์เฉพาะทางคนเดียวที่จะมาอยู่เวรตลอดทุกวันได้ 3.ด่านสาม ใช้แพทย์เฉพาะทาง ที่ดูแลคนไข้ที่เกินขีดความสามารถของด่านสอง หรือ ด่านแรกที่รู้ว่าด่านสองก็รักษาไม่ได้ มีใบส่งตัว ส่งต่อมาให้ ใช้สิทธิรักษา30บาท ได้ถ้ามาเองโดยไม่มีใบส่งตัวให้มาจะต้องเสียเงินเอง เพราะ ไม่ผ่านตามเครือข่ายที่กำหนด ที่ด่านสาม จะมี เครื่องมือพิเศษ ราคาแพง เช่น เครื่องฉายแสงรักษามะเร็ง ราคาสูง หลัก ล้าน ต้องอาศัยความชำนาญพิเศษ ที่มีแพทย์เฉพาะทางกลุ่มนี้จำนวนน้อยมารวมกัน อยู่ที่ด่านสาม เช่น ศูนย์มะเร็ง เพื่อให้คนไข้แต่ละด่านได้ส่งคนไข้มาร่วมรักษาจากทุกจังหวัดในศูนย์ หรือ เขตนั้น นอกจากนี้ กลุ่มแพทย์เฉพาะทาง ด่านสาม มีเครื่องมือ และ วิชาการสามารถทำการวิจัยหาวิธีการรักษา แล้วนำมาทำเป็นแนวทางการรักษาเผยแพร่ ให้นักเรียนแพทย์ หรือ ถ่ายทอด ทางเวบไซด์ ทางอินเตอร์เนต ของแต่ละด่านสาม ให้แพทย์ ด่านสอง หรือ ด่านแรก ได้เลือก ที่จะยึดเป็นแนวทางการรักษา ที่มีประสิทธิภาพ ที่เหมาะสมต่อพื้นที่ นำไปใช้ต่อไปในด่านของตนที่รับผิดชอบได้ ให้แพทย์ เลือกประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมต่อสถานพยาบาลแต่ละแห่งต่อไป สรุป การดูแลเป็นรูปเครือข่าย ทำให้เกิดประโยชน์อย่างมาก ได้แก่ ประชาชนมีความพึงพอใจ ได้รับการรักษาที่มีคุณภาพใกล้บ้าน อีกทั้งเจ้าหน้าที่สาธารณสุขก็มีความพึงพอใจได้ทำงานตามขีดความสามารถที่มี และ ประเทศชาติประหยัดงบสาธารณสุขลงได้อย่างมาก
หมายเลขบันทึก: 5845เขียนเมื่อ 25 ตุลาคม 2005 14:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 พฤษภาคม 2012 15:11 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท