ปวีณา
นางสาว ปวีณา ติ๊ก ทองเกลี้ยง

KMS


O-nO!!_KM
ปัจจุบันหน่วยงานทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน รวมทั้งมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช กำลังอยู่ในกระแสสังคมที่เรียกว่า "สังคมเศรษฐกิจฐานความร"ู้ (Knowledge-base Society and Economy) สังคมดังกล่าวมีแนวคิดที่ว่าความรู้เป็นทรัพยากรที่มีค่ายิ่ง การพัฒนาความรู้ใหม่ๆเพื่อการแข่งขันและเสริมสร้างความเข้มแข็ง จึงเป็นฐานที่สำคัญอย่างยิ่งของกระบวนการพัฒนาประเทศ ในระบบเศรษฐกิจจะให้ความสำคัญต่อการเปลี่ยนความรู้เป็นนวัตกรรมโดยอาศัยเทคโนโลยีระดับสูงการพัฒนาสังคมเศรษฐกิจฐานความรู้จะทำให้สัดส่วนความรู้ที่อยู่ภายในกับภายนอกตัวบุคคลเปลี่ยนแปลงไป เนื่องจากมีความจำเป็นและความต้องการในการเปลี่ยนแปลงความรู้ที่อยู่ในตัวบุคคล (Tacit Knowledge) ให้มีสภาพกลายเป็นความรู้ที่ปรากฏชัดเจน (Explicit Knowledge) ด้วยแนวคิดดังกล่าวทำให้สังคมไทยไม่ว่าจะเป็นหน่วนงานทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน หรือแม้กระทั้งในส่วนที่เกี่ยวข้องกับชุมชนต่างให้ความสำคัญกับ "การจัดการความรู้"
ในขณะที่แต่ละหน่วยงานให้ความสำคัญและเร่งระดมการปรับเปลี่ยนหน่วยงานของตน แต่คำถามที่คนส่วนใหญ่ในหน่วยงานมักตอบเป็นเสียงเดียวกัน คือว่ายังมีความรู้ความเข้าใจที่ไม่ชัดเจนตลอดจนไม่ทราบว่าจะนำแนวคิดดังกล่าวมาประยุกต์ใช้งานได้อย่าง
คำถามแรกที่เกิดขึ้น จะเป็นคำถามที่ว่า KM หมายถึงอะไร?
การจัดการความรู้ หมายถึง ความสามารถในการจัดการความรู้ ประกอบด้วย การสร้างความรู้ การประมวล การแลกเปลี่ยนและสนับสนุนกระบวนการเรียนรู้และการสร้างนวัตกรรมใหม่ให้เกิดขึ้นในหน่วยงาน
คำถามต่อมาคือ เป้าหมายของ KM มีอะไรบ้าง?
เป้าหมายประการแรก คือ เพื่อเป็นองค์กรเรียนรู้ การปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กรและการสร้างและใช้ความรู้ในการปฏิบัติงาน มีการเรียนรู้ร่วมกันและแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ ส่วนในแง่ของบุคคลในหน่วยงาน เช่น ถ้าเป็นหน่วยงานรัฐก็จะเป็นข้าราชการเป็นบุคคลเรียนรู้ ควรมีภาวะแนะนำ และสามารถเรียนรู้จากผู้อื่น ซึ่งอาจจะเป็นเพื่อร่วมงานหรือผู้ใช้บริการ
คำถามต่อมา องค์ประกอบของ KM ประกอบไปด้วยอะไรบ้าง?
องค์ประกอบของ KM ที่สำคัญเป็นเรื่องของกระบวนการจัดการความรู้ (KM Process) องค์ประกอบแรก เป็นทัศนะของการปรับเปลี่ยนมุมมองในประเด็นต่างๆที่เกี่ยวข้องกับงาน เพื่อให้สอดคล้องกับแนวคิดของการจัดการความรู้ ส่วนหนึ่งคือ ผู้ปฏิบัติงานจำเป็นที่จะต้องขยายขอบเขตไปยังบุคคลที่เป็นผู้เชี่ยวชาญหรือผู้รู้ในด้านต่างๆในฐานะที่เป็น "ผู้สร้างความรู้" ทั้งภายในและภายนอกหน่วยงานของตน โดยอาจจัดกิจกรรมต่างๆเพื่อการถ่ายทอด แลกเปลี่ยน และแบ่งปันความรู้ให้เกิดขึ้น และประการที่ 2 เป็นข้อเสนอแนะหรือแนวทางของการปรับเปลี่ยนที่ยั่งยืน สำหรับการฝังรากของการจัดการความรู้ลงในกระบวนการของการดำเนินงาน ทั้งนี้ความสำเร็จดังกล่าวตั้งอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่สำคัญคือ สมองประสานใจ นั้นคือ ผู้ที่อยู่ในวิชาชีพจะต้องมีทัศนะ ความคิดเห็น และความรู้สึกเชิงบวก รวมทั้งมีความมั่นใจและเชื่อมั่นว่าจะสามารถนำแนวคิดดังกล่าวมาประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม
คำถามสุดท้าย กล่าวคือ เหตุผลว่าทำไมต้องมี KM?
เหตุผลที่หน่วยงานต้องลุกขึ้นมาปรับเปลี่ยนหน่วยงานตนเองเข้าสู่กระบวนการจัดการความรู้ คือ สังคมมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในด้านความรู้ เทคโนโลยี ซึ่งส่งผลต่อบุคลากร จำเป็นต้องเรียนรู้และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง การลดขนาดของหน่วยงาน การจำกัดอัตรากำลังคน ทำให้ความรู้และประสบการณ์ส่วนหนึ่งของหน่วยงานขาดหายไป บุคลากรที่เหลืออยู่จำเป็นต้องรักษาและพัฒนาความรู้ของหน่วยงานต่อไป รวมทั้งแสวงหาความรู้ใหม่ๆในเวลาที่น้อยลง และการบริการมีลักษณะใช้ความรู้มากขึ้น การปรับเปลี่ยนเป็นบริการที่มีลักษณะฉลาด(Smart) รวมทั้งความรู้เป็นการได้เปรียบทางการแข่งขัน และนำไปสู่ความสำเร็จของหนว่ยงาน และท้ายสุดเป็นเพราะกระแสโลกาภิวัฒน์ที่เปิดโอกาสให้สามารถเลือกบริการได้
สิ่งที่กล่าวมาทั้งหมดเป็นเพียงแนวคิดสำคัญโดยสรุปของการจัดการความรู้ ผู้ที่สนใจแนวคิดดังกล่าวควรติดตามแก่นสาระที่เป็นความรู้ทางด้านการจัดการความรู้ที่ตีพิมพ์เผยแพร่ในรูปแบบต่างๆต่อไป หากเป็นผู้ปฏิบัติงานที่อยู่ในวิชาชีพก็มีความท้าทายในการที่จะนำไปปรับประยุกต์และใช้ให้หเหมาะสมกับบริษัทองค์กรของตรต่อไป ด้วยความเชื่อมั่นที่ว่า "ความรู้มีอยู่ในตัวคนที่ปฏิบัติ" ท่านใดที่ปฏิบัติก็จะทำให้เกิดความรู้เพิ่มพูนขึ้น และเมื่อใดที่ท่านได้แบ่งปันความรู้ที่เพิ่มพูนขึ้น จะส่งผลทำให้องค์ความรู้ในเรื่องนั้นๆเติบโตก้าวหน้าและพัฒนาขึ้นด้วยเช่นกัน
คำสำคัญ (Tags): #kms
หมายเลขบันทึก: 58372เขียนเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2006 10:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:18 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท