SEEN อีสาน _๐๓ : เรียนรู้จากการบรรยายของ ดร.ปรียานุช ธรรมปิยา "วิธีขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา" (๒)


ความจริงบันทึกนี้ น่าจะเขียนไว้ก่อนบันทึกที่แล้ว เพราะทันที ดร.ปรียานุช ท่านจับไมค์ สิ่งที่ท่านให้ความสำคัญที่สุด คือการสร้างความเข้าใจว่า การขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา (ปศพพ.) แท้จริงแล้ว เพื่อให้ทุกคนสามารถ "นำมาใช้เป็นหลักตัดสินใจในการดำเนินชีวิต เพื่อให้ประสบความสำเร็จทั้งในระยะสั้นและระยะยาว โดยที่เราไม่เดือนร้อนและผู้อื่นไม่เดือนร้อน" นั่นคือหลักพอเพียงเอามาใช้ได้ตลอด

ท่านเล่าเรื่อง เจ้าหน้าที่ผู้หญิงที่ทำหน้าที่โหลดกระเป๋าที่สนามบิน เธอเกือบจะล้มตั้งหลายหนและต้องทนทำงานอย่างทุลักทุเล ความไม่พอประมาณในการเลือกรองเท้าส้นสูงที่ไม่เหมาะกับงาน ทำให้เธอเดือดร้อน และความไม่สะดวกจึงทำให้ขาดประสิทธิภาพ ทำให้ผู้โดยสารต้องรอคิวนาน นั่นอาจถือได้ว่าส่งผลให้คนอื่นเดือนร้อนด้วย


ท่านสรุปความคิดรวบยอดของการขับเคลื่อน ปศพพ. ด้วยการเขียนรูปง่ายๆ ด้านล่าง


พร้อมทั้งอธิบายสั้นๆ แต่ตรงประเด็นยิ่ง ผมถอดความจากความประทับใจของตนเองได้ ดังนี้ครับ

  • แท้ที่จริงแล้ว การขับเคลื่อน ปศพพ. ด้านการศึกษา คือการ ทำให้ผู้บริหารโรงเรียน ครู นักเรียน และผู้ปกครอง น้อมนำหลักปรัชญาฯ มา "ประยุกต์ใช้" นั่นเอง
  • เมื่อประยุกต์ใช้แล้ว ก็ให้ทุกคน "ถอดบทเรียน" (สะท้อนการเรียนรู้) เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจ จนเกิดอุปนิสัย "พอเพียง" ที่จะเป็นวงจรแห่งการพัฒนาชีวิตไม่รู้จบ เกิดความรู้และทักษะเป็นภูมิคุ้มกันต่อไป
  • เครื่องมือ "ประยูกต์ใช้" และ "ถอดบทเรียน" ที่ง่ายและใช้กันเยอะ คือ "๗ คำถาม" ที่เสนอโดย รศ.ดร.ทิศนา แขมมณี (ที่อยู่กลางวงกลม)
  • คำถามนี้ใช้ "ถามตนเอง" "ถามทีมงานของตนเอง" ... นี่หมายความว่า การขับเคลื่อน แท้จริงแล้วคือ การฝึกให้ผู้บริหาร ครู นักเรียน ใช้ ๗ คำถามนี้ถามตนเองเสมอในการทำการใดๆ
  • ช่วงแรกๆ อาจช้า ใช้เวลานาน แต่เมื่อฝึกฝน "บ่อย ซ้ำ ย้ำ ทวน" ต่อๆ ไป จะเกิดอุปนิสัย "พอเพียง" ขึ้นเอง...

ดูรูปทั้งหมดได้ที่นี่ครับ


...ผมเองจะน้อมนำไปพัฒนาตนเองให้เป็นผู้มีอุปนิสัย "พอเพียง" ตามที่ท่านบอกไว้ในบันทึกนี้ให้จงได้



หมายเลขบันทึก: 583063เขียนเมื่อ 24 ธันวาคม 2014 23:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 ธันวาคม 2014 23:16 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท