AAR : Gotoknow "Blog Life Cycle" THE END


ปัจจัยด้านคุณอำนวยเป็นปัจจัยแห่งความสำเร็จของ Blogger แห่ง Gotoknow

หลังจากที่มีบันทึกแรกเรื่องของ AAR : Gotoknow "Blog Life Cycle" Episode I เวลาผ่านไม่กี่ชั่วโมงที่ผ่านมาอยากบอกความรู้ในใจลึก ๆ แบบตรง ๆ ว่า "ไม่สบายใจ" เลยครับกับการอาจหาญไปวิพากษ์ Gotoknow และ สคส.

ด้วยเพราะประสบการณ์แบบฝังลึกเมื่อครั้งที่อยู่อุบลราชธานี กับการทำอะไรที่คนอื่นไม่ค่อยทำกันทำให้ความหวังดีกลายเป็นดาบทิ่มแทงตัวเอง ประกอบกับที่ผมเองในตอนนี้เป็นแค่นักวิชาการโลโซ (Lecturer Loso Syndrome) ความตั้งใจที่จะวิเคราะห์แบบบริสุทธิ์ใจอาจจะมิเกิดผลดีตามที่ใจหวังไว้ ดังนั้นความตั้งที่แบ่ง Part การเขียนบันทึกไว้ 3-4 บันทึกขออนุญาตสรุปสั้น ๆ ให้จบในบันทึกนี้เลยนะครับ


AAR ปัจจัยแห่งความสำเร็จ

จาก Tacit Knowledge ของผมเองที่ผ่านมา จากการเริ่มต้นมาจนถึงทุกวันนี้ ผมได้ทำ AAR เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่ทำให้ผมสามารถเดินได้มาถึงจุดนี้ก็เพราะว่ามี "คุณอำนวย" นั่นคือเพื่อน ๆ พี่ ๆ และอาจารย์หลาย ๆ ท่านคอยชี้แนะ แนะนำ กระตุ้น ตักเตือนและให้กำลังใจในการเขียนบันทึก (ในช่วงแรก ๆ) จนทำให้มีจิตผูกพันธ์ที่จะทำงานในชุมชนแห่งนี้

โดยเฉพาะอย่างยิ่งการมองเห็นภาพการพัฒนาทางด้านระบบที่มีคุณอำนวยคนสำคัญคือ ดร.จันทวรรณ ที่จัดกระบวนการจัดการความรู้ทางด้านการพัฒนาระบบจนสามารถทำให้ Gotoknow พัฒนาอย่างรุดหน้าได้จนถึงทุกวันนี้

ดังนั้นทำให้ปัจจัยด้านคุณอำนวยเป็นปัจจัยแห่งความสำเร็จของ Blogger แห่ง Gotoknow

ปัจจัยในการมีคุณอำนวยคอยกระตุ้นนี้เอง เมื่อมองในทางกลับกันมีพี่ ๆ และน้อง ๆ อีกหลายคนที่เข้ามา ในสาขาหรือศาสตร์อื่น ๆ ที่ไม่มีคุณอำนวยคอยกระตุ้น ผลักดัน และจัดกระบวนการให้ เมื่อเข้ามาแล้วซักพักก็จากไป ซึ่งตามหลักการพฤติกรรมชาวบล็อก (Blogger Behavior) แล้ว "สิ่งที่ยากที่สุดคือการให้เขาเดินเข้ามาในบล็อก แต่สิ่งที่ยากกว่าคือการที่จะให้ชาวบล็อกอยู่กับเราตลอดไป"

จาก Tacit Knowledge ของผมทั้งสองประการข้างต้นนั้น ปัจจัยสำคัญที่จะอยู่ที่ "คุณอำนวย" ซึ่งอาจจะเป็น Blogger รุ่นพี่ รุ่นก่อน หรือกูรูในสาขาวิชานั้น ๆ คอยกระตุ้นและจัดกระบวนการ ทำให้ Blogger หน้าใหม่เกิดความมั่นใจและถ่ายทอด Tacit Knowledge ออกมาได้มากที่สุด

ดังนั้นจาก Blog Life Cycle ช่วงของการแนะนำตัว (Introduction) และเดินเข้าสู่ช่วงการเจริญเติบโต (Growth) การชักชวนทั้งใน G2K แห่งนี้ก็ดีหรือการประชาสัมพันธ์และเดินทางไปชักชวน เชิญชวน อบรมสมาชิกทั่วประเทศไทยก็ดี การที่จะให้ผู้ที่ตัดสินใจเข้ามาสมัครสมาชิกแล้วสามารถเขียนบันทึกจาก Tacit Knowledge ได้ดีที่สุดก็คือการมีคุณอำนวยใน G2K

เพราะถ้าสมาชิกเข้ามา หนึ่งสัปดาห์ผ่านไป เดือนนึงผ่านไป สองเดือนก็แล้ว สามเดือนก็แล้วถ้าขาดพี่เลี้ยงคอยกระตุ้นและนำทางก็อาจจะเดินหลงทางหรือไม่ก็จะเดินออกไปอย่างไม่มีวันหวนกลับ เพราะนั่นเป็น Negative Emotional Bank Account (การติดลบในสมุดสะสมอารมณ์ใจ) จากการเดินเข้ามาในชุมชน G2K

ถ้ามีพี่เลี้ยงคอยจัดกระบวนการ ชี้แนะและนำทางในทุก ๆ Moment of Truth แล้วนั้น ก็จะทำให้เกิด Positive Emotional Bank Account (EBA+)ดั่งเช่นที่ผมยังมียอดบัญชีบวกกับ G2K แห่งนี้อยู่

จากยอดบวกในใจที่ยังมีอยู่นี้ก็จะทำให้สมาชิกที่เข้ามายังสามารถทำงานที่สร้างสรรค์ได้ตลอดไป

ช่วงชีวิตของบล็อก (Blog Life Cycle) จะอยู่ในขั้นการเจริญเติบโต จนถึงเจริญเติบโตอย่างสูงสุดได้เพียงใดขึ้นอยู่กับชาวบล็อก (Blogger) ฉันใด

การทำงาน การเขียนบันทึก การเดินอย่างถูกทางของ Blogger เพื่อสร้างผลงานจาก Tacit Knowledge อันสร้างสรรค์นั้นก็ขึ้นอยู่กับคุณอำนวยซึ่งเป็นกัลยาณิมตร ฉันนั้น 

ปภังกร วงศ์ชิดวรรณ

Loso Lecturer

คำสำคัญ (Tags): #aar#gotoknow
หมายเลขบันทึก: 58302เขียนเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2006 00:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (16)

เข้าไปให้ความเห็นไว้ใน บันทึก http://gotoknow.org/blog/papangkorn/58147# ของอาจารย์แล้วนะคะ...แบบรวบยอดค่ะ

ขอบคุณและขอโทษไปพร้อมๆกันเลยค่ะ

ผมเริ่มเขียนblog ครั้งแรกเมื่อประมาณต้นปี49 ประมาณ 3 เดือนผ่านไปก็เริ่มชักขี้เกียจ มาเริ่มเขียนอีกครั้ง(สมัครใหม่) ก็สัปดาห์นี้นี่เอง ซึ่งผมจะพยายามไม่ให้ประวัติศาสตร์ของตัวเองซ้ำรอยครับ...กัมปนาท

Plateform Gotoknow ในมุมมองของผมก็ไม่ต่างอะไรจากโลกที่เราอยู่ใบหนึ่ง   ซึ่งไม่ได้มีเฉพาะ ขาว หรือ ดำ          แต่มี แดง  เหลือง ชมพู เขียว.........และ เทา

การสร้างเวทีสาธารณะขึ้นมา  แล้วกำหนดเงื่อนไขว่า  เป็นเวทีเฉพาะสีใด สีหนึ่งนั้น  ไม่ใช่เรื่องง่าย และต้องลงแรงมาก  การลงแรงเกินกำลัง จึงเป็นสิ่งหนึ่งที่ไม่น่าทำ      มีคนพยามยามทำหลายคน   แต่ไม่เป็นผล  เช่น เวลาเราเข้าไปอ่าน  webboard หลายๆอัน  เราจะเห็นปรากฏการณ์นี้ดี

ด้วยความแตกต่างหลากหลาย   และเชื่อลึกๆว่า  ทุกสรรพสิ่งมีทั้งมุมดี  และมุมด้อย   ขึ้นอยู่กับว่าจะมองไปที่มุมไหน  

Gotoknow  จึงเป็นธรรมชาติเหมือนสังคมทั่วๆไป   แต่ที่น่าสนใจ   ว่ามีใครคนใดหยิบเอา  plateform นี้  มาใช้อย่างชาญฉลาด   ใช้จนเกิดประโยชน์ต่อชุมชนของเขาเอง  นั่น คือ tacit k ที่น่าเรียนรู้ยิ่งกว่า   ที่ผ่านมา  หลายๆ nobody  กลายเป็น somebody ในองค์กรขึ้นก็มีให้เห็น,    หรือคนที่ไม่รู้จักหน้าค่าตากันมาก่อน  แต่ก็ได้เรียนรู้จากกันและกันก็มีหลายคน   และอีกหลายเหตุการณ์ที่เป็นเรื่องดีเกิดขึ้น     ข้างในนี้แหละ  คือ tacit k  ล้วนๆ ที่น่าเรียนรู้ว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร?   how-to ข้างในนั้นมันมีอะไรพอเอาไปปรับใช้กับบริบทอื่นได้บ้าง?       

การมองหาด้านดี  แม้จะเล็กๆก็ตาม   แล้วหยิบขึ้นมาเขย่าสังคมใหญ่  ให้เรียนรู้   นี่ก็เป็นแนวทางหนึ่งของ KM ที่เชื่อและผมชอบในตอนนี้

การเลือกแต่นักเรียนที่เรียนดีเอาไว้ในวง   ก้คงจะดีนักเรียนกลุ่มนั้น

แต่การดึงเอา how-to ของนักเรียนที่เรียนดีมาให้นักเรียนคนอื่นได้เรียนด้วย  น่าสนใจยิ่งกว่า

เป็นกำลังใจครับอาจารย์ ค่อย ๆ เรียนรู้ไปเหมือนออตเนี่ย ผิดบ้าง พลาดบ้างก็คนงะครับ สู้ ๆ ๆ งานเขียนของอาจารย์มีประโยชน์มาก ผมชอบเรื่องเกี่ยวกับวัฒนธรรมอาจารย์ก็มีให้ผมเสพ จะตามอ่าน

ดีมากๆเลยครับที่อาจารย์เขียนบทความนี้ขึ้นมา

ีที่ผ่านมา ผมลองใช้งานของหลายๆ Blog แต่ก็มีปัญหาการใช้งานเยอะมาก และไม่มีใครเลยใน Blog นั้นที่จะให้คำแนะนำได้  อย่างที่อาจารย์บอกครับ"ไม่มีพี่เลี้ยง"

ลองผิดลองถูกหลายที บ่อยๆเข้า จากความพยายามกลายเป็นความท้อแท้ สิ้นหวัง 

ที่ G2K นี้มีสังคมที่เปิดกว้างมาก มีหลากหลายสาขาอาชีพ สามารถเชื่อมโยงและเข้าถึงได้ง่าย ไม่ซับซ้อน

 (ผมเจอแฟนเก่าที่ผมเลิกไปปีกว่ามา POST ใน Blogด้วย ตกใจหมดเลย แต่ก็แสดงให้เห็นว่า G2K ทุกๆคนบนโลกนี้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ ไม่จำกัดกลุ่ม)

และที่สำคัญ มีคู่มือการใช้งานที่"อ่านรู้เรื่อง" ใช้งานได้เลย ไม่เหมือนบางBlogที่สอนการทำ Blog ให้สวยๆ สอนลงเพลง สอนเปลี่ยน Theme แต่ไม่มีการสอนให้เชื่อมโยงข้อมูล การค้นหาข้อมูล Blog ที่ทำก็จะกระจายเฉพาะในกลุ่มเท่านั้น

ทุกๆวันที่ผ่านไป G2K เริ่มมีพัฒนาการมากขึ้นเรื่อยๆ และต่อไป G2K จะขึ้นไปเบียดกับ Xteen Bloggang ได้

แต่อย่าลืม Concept ของ G2K ไปนะครับ

"มาเพื่อเรียนรู้" 

  • สวัสดีครับท่านอาจารย์จันทรรัตน์
  • ผมได้ติดตามเข้าไปอ่านข้อแลกเปลี่ยนและเติมเต็มที่ดียิ่งของอาจารย์ในบันทึกดังกล่าวและตอบท่านอาจารย์เรียบร้อยแล้วครับ
  • ต้องกราบขอบพระคุณท่านอาจารย์อย่างสูงอีกครั้งครับที่อาจารย์ได้เอื้อและอำนวยให้เกิดบันทึกนี้ขึ้นมา รวมถึงการต่อยอดและแลกเปลี่ยนที่สูงค่ายิ่งครับ
  • สำหรับผมนั้น ผมมองว่าสิ่งที่เกิดขึ้นนี้เป็นสิ่งที่น่าสนใจมาก ๆ ครับ ที่ว่าน่าสนใจนั้นมิใช่ตัวหนังสือหรืออักษรที่อยู่ในบล็อกหรือในบันทึกทั้งสองนี้ แต่สิ่งที่น่าสนใจอยู่ที่ "กระบวนการและสิ่งที่เกิดขึ้นหลังจากสองบันทึกนี้" การตอบข้อคิดเห็นแบบยาว ๆ และการแลกเปลี่ยนที่ทรงคุณค่าได้เกิดขึ้นและมีประโยชน์ยิ่งกว่าการวิเคราะห์ของผมซึ่งเป็นเพียงแค่การเปิดประเด็นและเวทีในการพูดคุยครับ
  • ขอบพระคุณอาจารย์อีกครั้งและยินดีอย่างยิ่งครับถ้าอาจารย์มีประเด็นดี ๆ เช่นนี้มาเปิดประเด็นและเปิดสมองให้ผมเพื่อวิเคราะห์สิ่งต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นต่อไปในอนาคตครับ
  • สวัสดีครับคุณกัมปนาท
  • ยินดีเป็นอย่างยิ่งครับสำหรับการกลับมาของคุณกัมปนาท
  • ผมขออนุญาตนำบล็อกของคุณกัมปนาทเข้ามาไว้ในแพลนเนทของผม เพื่อที่จะเข้าไปแลกเปลี่ยนและเรียนรู้กับคุณกัมปนาทด้วยนะครับ การกลับมาคราวนี้รับรองได้ว่าคุณกัมปนาทจะไม่เดินอย่างโดดเดี่ยวและเดียวดายครับ
  • ขอบพระคุณเป็นอย่างสูงสำหรับข้อแลกเปลี่ยนและการเติมเต็มที่ดียิ่งครับ

สวัสดีค่ะ เพิ่งกลับจากประชุมค่ะ เห็นมี comment เยอะนี่ดีใจมากๆ เลยค่ะ :)

ต้องขอโทษด้วยค่ะ ที่ดิฉันอาจจะดูแลผู้ใช้ไม่ดีพอ คู่มือดีๆ ที่เข้าใจง่ายๆ ดิฉันก็ยังไม่ได้ทำเป็นหลักเป็นฐาน งานเยอะมากๆ จริงๆ ค่ะ เพราะต้องพัฒนาระบบด้วย ดูแลชุมชนด้วย อบรมด้วย เพราะระบบเป็นระบบใหม่และเป็นระบบที่ทำไปใช้ไปค่ะ

คงต้องเรียนว่า เราเพิ่งเปลี่ยนระบบของ GotoKnow ไปเมื่อไม่กี่เดือนที่ผ่านมาเองค่ะ การปรับปรุงระบบและปัญหาความช้าเนื่องจากผู้ใช้เพิ่มขึ้นมากกลายเป็นประเด็นใหญ่ ที่ทำให้เวลาการจัดการเรื่องอื่น เช่น การจัดทำคู่มือ ก็ล่าช้าไปค่ะ และด้วยการปรับปรุงระบบอยู่เรื่อยๆ ทำให้คู่มือก็ไม่สามารถเสร็จสิ้นเสียทีค่ะ ขออภัยด้วยค่ะ :(

แต่ตอนนี้ คู่มือฉบับ flash ได้จัดทำขึ้นแล้วค่ะโดยนักศึกษา มอ. ค่ะ คาดว่าพรุ่งนี้ดิฉันคงนำขึ้นให้ได้ค่ะ

ขอบคุณค่ะ ไว้ติดตามคู่มือพรุ่งนี้นะค่ะ :)

เรื่อง การดูแลชุมชน GotoKnow เป็นเรื่องใหญ่ค่ะ สังคมออนไลน์จะให้ ALIVE ได้นี่ต้องมีคนที่มีใจมาช่วยกันเยอะๆ ค่ะ ดังที่ดิฉันเคยเขียนไว้ในบันทึกนี้นะค่ะ ประสบการณ์จากการดูแลชุมชนเสมือน GotoKnow

สังคม GotoKnow เป็นสังคมของการเรียนรู้ การต่อยอดแลกเปลี่ยนเรื่องประสบการณ์ที่ blogger ถ่ายทอดออกมาจึงไม่ใช่เรื่องง่ายค่ะ ดิฉันเคยเขียนบันทึกว่า ไม่เขียนอย่างน้อยก็ขอให้อ่าน และ KM กับการอ่านบล็อกอย่างตั้งใจ (Deep reading) 

แต่ สคส. และ สมาชิก GotoKnow ก็พยายามช่วยๆ กันคนละไม้ละมือค่ะ รวมทั้งคุณปภังกรด้วยค่ะ แต่ก็แผ่วลงบ้าง เพราะสมาชิก GotoKnow ส่วนใหญ่เป็นสมองของพื้นที่ในส่วนต่างๆ ของประเทศ และเป็นเรี่ยวแรงสำคัญขององค์กรค่ะ งานก็เลยเต็มไม้เต็มมือกันไปหมด จนในที่สุดก็ไม่มีเวลามาเขียนบล็อกหรือมาช่วย comment ค่ะ

ดิฉันคงขอรบกวนให้คุณปภังกรและผู้อ่านช่วยกันเสนอแนะแนวทางเกี่ยวกับเรื่องของพี่เลี้ยงของสมาชิก GotoKnow ค่ะ เพราะเสียงจากผู้ใช้นี่สำคัญที่สุดแล้วค่ะ ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ

  • สวัสดีครับคุณธวัช ยินดีอย่างยิ่งครับที่คุณธวัชเข้ามาเยี่ยมเยียนครับ
  • ขออภัยที่ตอบช้าครับ เนื่องจากผมอ่านข้อแลกเปลี่ยนที่คุณธวัชเขียนมาอยู่หลายรอบครับ เพราะผมสงสัยว่าผมเขียนบันทึกไม่ดี สื่อสารได้ไม่ตรง จนทำให้คุณธวัชอาจจะเข้าใจคลาดเคลื่อนถึงเป้าประสงค์หลักที่อยู่ในบันทึกครับ
  • ขออนุญาตเล่าถึงที่มาที่ไปสักนิดนึงนะครับ อันนี้ก็อาจจะเป็นความผิดของผมเองที่ใช้บรรทัดฐานซึ่งเกิดจาก Tacit Knowledge ส่วนตัว เมื่อสมัยเป็นอาจารย์โลโซ ๆ ก่อนที่จะมารู้จักกับ KM ครับ เพราะตอนนั้นผมได้พบกับสิ่งมหัศจรรย์ในการเรียนรู้อย่างหนึ่งก็คือ การเรียนรู้จากเด็กนักศึกษาของตัวเอง ผมได้เรียนและรู้จากนักศึกษาภายในชั้นเรียนอย่างมากมาย มากกว่าอ่านหนังสือหรือเดินทางไปประชุมไกล ๆ จากการได้เรียนรู้จากเด็กนักศึกษาแล้วเกิดประโยชน์นั้นเอง ซึ่งในขณะนี้ผมก็เปรียบเสมือนนักศึกษาหรือผู้ใช้งานคนหนึ่งของทาง สคส. และ Gotoknow เลยคิดว่า AAR จากการเป็นผู้ใช้งานจริง ๆ น่าประโยชน์และทางสคส.น่าจะเปิดกว้างในการรับฟัง และไม่มี Bias ในการอ่านเหมือนกับที่ผมไม่มี Bias ในการเขียนครับ 
  • โดยเฉพาะประเด็นที่คุณธวัชอาจจะเข้าใจคลาดเคลื่อนเรื่องของ "การเลือกแต่นักเรียนที่เรียนดีเอาไว้ในวง   ก้คงจะดีนักเรียนกลุ่มนั้น" ซึ่งนั่นก็มิใช่ประเด็นหลักและไม่ใช่สิ่งที่ผมกำลังจะพยายามสื่อสารใน AAR นี้ครับ
  • เพราะผมก็เริ่มต้นจากจุดที่เขียนอะไรไม่ค่อยดี แต่ที่เดินมาได้จนถึงทุกวันนี้ ก็เพราะมีโอกาสจากพี่เลี้ยงหลาย ๆ ท่านในที่นี่ เพราะผมเห็นเพื่อน ๆ น้อง ๆ หลาย ๆ คนเข้ามาและถูกปล่อยให้เดินอย่างโดดเดี่ยวและเดียวดาย ขาดคุณอำนวยและพี่เลี้ยงในการกระตุ้น ชี้แนะ และแนะนำ ดึงพลังสร้างสรรค์และ How-to ออกมาได้อย่างสูงสุดอย่างเช่นที่คุณธวัชได้ให้ข้อคิดเห็นครับ  
  • ซึ่งจะกล่าวตรง ๆ ก็คือ การเป็นคุณอำนวยในบล็อกนี้ ซึ่งมีต้นทุนและค่าใช้จ่ายต่ำมาก ถึงมีความสำคัญน้อยกว่าการเดินทางไปเป็นคุณอำนวยตามจังหวัดและสถานที่ต่าง ๆ ซึ่งมีต้นทุน (เงินภาษี) สูงมากครับ ถ้าผมเข้าใจผิดหรือคลาดเคลื่อนไปก็ต้องขออภัยไว้ด้วยครับ เพราะสิ่งเหล่านี้คือ Tacit Knowledge ที่พบและเห็นจากเวลาที่ได้สัมผัสชุมชนแห่งนี้ครับ
  • ขอขอบพระคุณข้อแลกเปลี่ยนที่ดียิ่งจากคุณธวัชเป็นอย่างสูงอีกครั้งครับ
  • สวัสดีครับคุณออต
  • ผมก็เช่นเดียวกันครับในชีวิตส่วนใหญ่เรียนรู้จากการผิดพลาด ลองผิด (ส่วนใหญ่) และลองถูกครับ
  • ผมเองก็เข้าไปเสพงานของคุณออตอยู่บ่อย ๆ ครับโดยเฉพาะเรื่องของการทำงานกับเด็ก ๆ ในโอกาสอันใกล้นี้ ผมก็จะมีโอกาสขึ้นไปสอนหนังสือบนดอยตามความใฝ่ฝันที่เคยตั้งไว้ในชีวิตครับ
  • ถ้าอย่างไรแล้วจะขออนุญาตนำสิ่งที่ได้มาแลกเปลี่ยนกับคุณออตอีกครั้งหนึ่งครับ
  • ขอขอบพระคุณคุณออตอีกครั้งเป็นอย่างสูงครับ
  • สวัสดีครับคุณทรัพย์ศิริ ขอบพระคุณเป็นอย่างสูงครับที่แวะเวียนเข้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครับ
  • สิ่งที่คุณทรัพย์ศิริได้กรุณาเล่าให้ฟังเป็นสิ่งที่มีประโยชน์มาก ๆ เลยครับ โดยเฉพาะในเรื่องของความเป็นมาเป็นไป ความท้อแท้ สิ้นหวัง เดินทางอย่างไม่มีพี่เลี้ยงครับ
  • สำหรับ Gotoknow แห่งนี้ต้องยกประโยชน์และความดีให้กับผู้มีพระคุณสองท่านหลัก ๆ ครับ ก็คือท่าน ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช และท่าน ดร.จันทวรรณ น้อยวันที่เปรียบเสมือนเป็นพี่เลี้ยงหลักทางด้านซอฟท์แวร์ (ความรู้) และทางด้านฮาร์ดแวร์ (ระบบ) เพียงแค่ปีกว่า ๆ ทำให้สังคมนี้เจริญเติบโตได้รุดหน้ามาก ๆ ครับ
  • สำหรับ Concept ของ G2K อันนี้สำคัญมาก ๆ อย่างเช่นที่คุณทรัพย์ศิริบอกครับ ดังนั้นพี่เลี้ยงที่เข้าใจ Concept อย่างถ่องแท้จะมีประโยชน์มาก ๆ ครับ หากเมื่อใดสมาชิกหรือ Blogger มีปัญหา หรือหลงลืม Concept เดินผิดทางไปช่วงใดช่วงหนึ่ง ถ้ามีพี่เลี้ยงคอยดูแลก็จะสามารถนำพากลับเข้าสู่ทางหลักได้อย่างฉับพลันครับ
  • ขอขอบพระคุณอย่างสูงอีกครั้งครับที่ช่วยเข้ามาเติบเต็มบันทึกนี้ครับ
  • ขออนุญาตเพิ่มเติมเล็กน้อยครับคุณทรัพย์ศิริ พอดีนึกขึ้นมาถึงเรื่อง Concept ได้เรื่องหนึ่งครับ
  • เคยมีครั้งหนึ่งผมเคยไปทำงานกับท่านผู้ใหญ่ในจังหวัด ผมไปศึกษาและสืบค้นดูถึงปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นอย่างมากมายภายในจังหวัด ปัญหามากมายเหล่านั้นเกิดขึ้นมาก็เนื่องจากสาเหตุหลักอันเดียวครับนั่นก็คือ "การตีความเรื่อง Concept" ซึ่งจะเรียกว่าแนวคิด วิสัยทัศน์หรือนโยบายหลัก มีหลาย ๆ คำครับ ซึ่งแล้วแต่ว่าใครจะชอบใช้คำไหน
  • Concept นี้เป็นเรื่องสำคัญมากครับ ถ้าผู้บริหารให้นโยบายไปแล้ว การตีความของลูกน้องแต่ละคน บางคนอาจจะตีความไปผิดแผกแตกต่างซึ่งแล้วแต่ฐานคิดของแต่ละคน
  • ดังนั้น "พี่เลี้ยง" จึงสำคัญมาก ๆ ครับ คนที่จะมีเวลาสามารถผ่องถ่าย ถ่ายทอด ตีความ Concept ของผู้บริหารที่ออกแนวคิดมาได้อย่างถูกต้องชัดเจน แจ่มแจ้ง ที่สำคัญที่สุดก็คือมีเวลาตอบคำถามและมีสุนทรียในการตอบคำถามค้างคาใจของฝ่ายปฏิบัติได้ครับ
  • ดั่งเช่นการตีความ Concept คำว่า "สร้างสรรค์" ใน G2K แห่งนี้ หลาย ๆ คนหรือแม้กระทั่งผมเองก็อาจจะตีความคำสั่งสร้างสรรค์แตกต่างจากท่านอื่น ซึ่งบางครั้งอาจจะผิด
  • โดยสิ่งที่ถูกหรือผิด ใกล้ ๆ หรือห่างออกไปไกลนั้น อันนี้ต้องพึ่งพาพี่เลี้ยงที่จะเข้ามาอธิบายและตอบคำถามครับ
  • คำถามและของฝากจากคุณทรัพย์ศิริเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ในการต่อยอดมาก ๆ เลยครับ ขอขอบพระคุณอีกครั้งครับ
  • สวัสดีครับท่านดร.จันทวรรณ และกราบขอบพระคุณมาก ๆ ครับที่เข้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้และให้ความกระจ่างในด้านต่าง ๆ ครับ
  • ก่อนอื่นขออนุญาตเถียงท่านอาจารย์ก่อนสักนิดหนึ่งครับ ที่ท่านว่าท่านไม่ค่อยได้มีเวลามาดูแลพวกเรา ผมขออนุญาตเถียงว่าท่านเสียสละเวลามาให้พวกเราอย่างมากเลยครับ เพราะสิ่งที่ผมเขียนบันทึกออกมานี้ก็ได้มาจากการมีต้นแบบที่ดีในการศึกษา (Best Case) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางด้านระบบเครือข่าย G2K ของท่านดร.จันทวรรณนี่แหละครับ Best Case ที่ท่าน ดร.จันทวรรณ เป็นพี่เลี้ยงในการกระตุ้นการจัดการความรู้ต่าง ๆ ใน G2K แห่งนี้เสมอมาครับ ต้องกราบขอบพระคุณมาก ๆ ครับที่ดูแลพวกเรา ให้ความรู้ และสร้างระบบดี ๆ แบบนี้กับเราไว้ได้ใช้ประโยชน์ครับ รวมถึงขอบพระคุณนักศึกษาและบุคลากรทาง มอ. ล่วงหน้าถึงคู่มือที่จะออกมาเร็ว ๆ นี้ครับ
  • ส่วนเรื่องของข้อเสนอแนะด้านพี่เลี้ยงก็ต้องใช้เทคนิคอย่างที่ท่านดร.จันทวรรณว่าครับ ต้องให้ทุก ๆ ช่วยกันนำเสนอว่าควรจะทำอย่างไรดี
  • แต่สำหรับผมนั้นขออนุญาตใช้เทคนิคแบบที่ท่านนายกฯ ใช้เลือกรัฐมนตรีในรัฐบาลชุดนี้ครับ คือทาบทามแล้วมอบหมายงานอำนาจและหน้าที่ครับ เพราะผมคิดว่าทาง สคส.และท่านดร.จันทวรรณเองมีประสบการณ์ในการมองและสามารถมองทะลุปุโปร่งถึงความสามารถในตัวสมาชิกแต่ละท่านครับ ทั้งทางด้านคุณวุฒิและวัยวุฒิ ซึ่งสมาชิกแต่ละท่านที่เข้ามานั้นผมคิดว่าท่านก็พร้อมที่จะเสียสละทำงานที่มีประโยชน์เช่นนี้ เพื่อร่วมกันประคับประคอง เอื้อ อำนวย สร้างสรรค์ชุมชนแห่งนี้ให้เจริญก้าวหน้าไปชุมชนที่อุดมไปด้วยความรู้และปัญญา ซึ่งจะนำพาสังคมไทยนี้ให้เดินหน้าอย่างมั่นคงต่อไปครับ
  • ขอกราบขอบพระคุณท่านดร.จันทวรรณ อย่างสูงอีกครั้งหนึ่งครับ สำหรับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ต่อยอดและเติมเต็มสำหรับบันทึกทั้งสองบันทึกครับ

สวัสดีค่ะคุณปภังกรและคุณออต

GotoKnow คงมีบันทึกแห่งคุณภาพอีกเยอะค่ะ หากมีพี่เลี้ยงอย่างท่านทั้งสองเข้ามาช่วยเหลือสมาชิกท่านอื่นค่ะ

การช่วยเหลือด้วยน้ำใจด้วยใจที่ให้นี่ประเสริฐที่สุดแล้วค่ะ ดิฉันก็คงต้องขอรบกวนให้ช่วยๆ เป็นพี่เลี้ยงให้แก่ blogger หน้าใหม่ไปพลางๆ ก่อนค่ะ

ดิฉันกำลังคิดกลยุทธ์และระบบ reward ของพี่เลี้ยงแบบอัตโนมัติค่ะ เพื่อเป็นแรงกระตุ้นให้ท่านอื่นๆ เข้ามาช่วยดูแลชุมชนแห่งการเรียนรู้ขนาดมหึมาของประเทศค่ะ เช่น ดิฉันคงเริ่มจัดอันดับให้เห็นจำนวนการเข้าไป comment ในบล็อกอื่นๆ เป็นต้นค่ะ เพื่อกระตุ้นการลปรร.และการเป็นพี่เลี้ยงค่ะ

คิดเห็นประการใดค่ะ :)

ปล. post ไว้แล้วที่ http://gotoknow.org/ask/papangkorn/1581 แต่เกรงท่านที่ได้อ่านติดตาม จะพลาดไปก็เลยนำมาใส่ไว้ในบันทึกนี้ด้วยค่ะ

สวัสดีครับ ดร.จันทวรรณ

  • ขอบพระคุณและยินดีเป็นอย่างยิ่งครับสำหรับการให้เกียรติผมเป็นพี่เลี้ยงสำหรับ Blogger หน้าใหม่ ๆ ครับ ผมจะพยายามทำหน้าที่นี้ให้ดีที่สุดครับ ถ้าอย่างไรก็จะขอรบกวนสอบถามเรื่องต่าง ๆ จากพี่เลี้ยงกิตติมศักดิ์ที่เชี่ยวชาญยิ่งอย่างเช่น ดร.จันทวรรณบ้างนะครับ
  • ผมกำลังเรียนรู้จากสิ่งที่ดร.จันทวรรณ ได้เป็นคุณอำนวยและเป็นพี่เลี้ยงให้กับ Blogger โดยเฉพาะทางด้านการพัฒนาระบบ G2K เป็น Best Case ที่ดีเยี่ยมมาก ๆ เลยครับ ผมขออนุญาตเดินรอยตามที่สิ่ง ดร.จันทวรรณได้ทำสิ่งดี ๆ ไว้ครับ
  • สำหรับเรื่องกลยุทธ์และระบบ reward ของพี่เลี้ยงแบบอัตโนมัติเป็นสิ่งที่ดีมาก ๆ เลยครับ เพราะหลาย ๆ ท่านที่เข้ามาในชุมชน G2K พร้อมที่จะทำงานและเสียสละเพื่อส่วนรวมอยู่แล้วครับ เพียงแค่มีการกระตุ้นหรือจัดการอะไรสักเล็กน้อย อย่างเช่นที่ท่าน ดร.จันทวรรณเสนอครับ จัดลำดับ ให้ความสำคัญ ให้เกียรติกับสิ่งต่าง ๆ ที่หลาย ๆ ท่านพยายามได้ทำ สิ่งนี้เป็นแรงกระตุ้นที่ดีและยั่งยืนที่สุดเลยครับ
  • ขอชื่นชมและสนับสนุนแนวคิดนี้ของท่านดร.จันทวรรณครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท