ลูกและโลกแห่งการเรียนรู้ของพ่อ ตอนที่ 1 : สายใยแห่งอัตลักษณ์


เรา (คุณพ่อมือใหม่)ได้ฝึกคิดเชื่อมโยงตัวเรากับผู้อื่น เห็นความเป็นตัวตนหรืออัตลักษณ์ของตัวเรา(พ่อ) ในผู้อื่น (ลูกของเรา) (อัตลักษณ์หรือความเป็นตัวตนของเราจึงไม่ใช่ของเราทั้งหมด แต่มันอยู่ในตัวผู้คนรอบข้างของเรา อยู่ในทุกสิ่งที่เราสัมผัสได้ใกล้ชิด) โดยอาศัยลูกเป็นสื่อ หากยังสามารถขยายการเชื่อมโยงไปยังผู้คนและสรรพสิ่งต่างๆได้มากมาย เช่น พ่อของเรา แม่ของเรา ภรรยาของเรา พี่น้องของเรา คนที่กำลังเลี้ยงลูกเหมือนเรา เป็นต้น ทั้งยั้งข้ามผ่านมิติเรื่องเวลา ไปยังอดีตกาลวัยแบเบาะของเรา เห็นภาพสายสัมพันธ์หรืออัตลักษณ์ของเราอยู่ในตัวผู้อื่นในช่วงเวลานั้น นี่เอง ที่ผมพบว่า ที่ใดที่อัตลักษณ์ของเราถ่ายเทไป ย่อมเปิดพื้นที่ใหม่ๆให้ความเมตตากรุณาไปเกาะกุมได้ไม่ยาก

หลายคนอีเมล์มาแสดงความยินดีในวาระที่ น้องออมสินลูกคนแรกของผมลืมตาดูโลกเมื่อยี่สิบวันก่อน

เด็กชายออมสิน ยินดีที่ได้รู้จักกับทุกคนครับ 

ที่ผมดีใจยิ่งกว่าก็คือแข็งแรงและอารมณ์ดีกันทั้งแม่และลูกชายตัวน้อย ใครๆก็ชมว่าลูกเราน่ารัก คนเป็นพ่อก็ปลื้ม

 

แต่หลายๆคนอาจจะมองข้ามความสำคัญของ การครุ่นคิดอย่างลึกซึ้ง ถึงการเป็นพ่อไป และอีกหลายๆคนเลือกที่จะหันหลังให้  แต่สำหรับผม นี่เป็นประสบการณ์ตรงอีกฉากที่ทรงคุณค่าแก่การเรียนรู้และพัฒนาตนเอง

 

ผมจำได้ว่าเคยพบเจอหลายคนว่า ไม่รู้จะมีครอบครัวไปทำไม ยิ่งมีลูกยิ่งไม่เห็นต้องการ เป็นภาระเปล่าๆ

 

   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ผมก็ไม่อาจบังคับใครให้เห็นตามผมได้ ทุกคนมีสิทธิ์คิดแตกต่าง ส่วนตัวผมแล้ว การมองลูกว่าเป็นภาระใหญ่ ก็เป็นเรื่องปฏิเสธไม่ได้  แต่ทุกๆคนล้วนเกิดมาย่อมมีภาระ อย่างน้อยที่สุดคือภาระที่จะมีชีวิตอยู่รอด เขยิบขึ้นไปคืออยู่รอดได้อย่างมีคุณค่า ได้รับการยอมรับจากสังคมอีกด้วย มีลูกดี วันข้างหน้าอาจจะช่วยเราปลดเปลื้องภาระก็ได้</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">การมีหรือไม่มีลูก เป็นช่วงเวลาที่กินยาวไปถึงอนาคต ที่มีแต่ความไม่แน่นอน จะชี้ชัดได้อย่างไรว่าเป็นการเพิ่มหรือลดสัมภาระของชีวิต </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">อีกประการหนึ่ง ผมคิดว่ากำเนิดของความคิดที่จะมีลูกของคนแตกต่างกัน บางคนคิดจะมีลูกไว้ใช้ตอนแก่ บางคนคิดจะมีลูกไว้ทำนั่นทำนี่เพื่อตัวเอง ผมเคยบอกเพื่อนซึ่งคิดในตรรกะเศรษฐศาสตร์อย่างนี้ ว่าเอ็งอย่ามีมันเลย แฟนก็ไม่ต้องมี พ่อแม่ก็ไม่ต้องมี เป็นภาระไปหมด </p>    <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ในการวิเคราะห์วิจัย เราจะคิดคำนวณความสัมพันธ์ในครอบครัวในตรรกะแบบต้นทุนกำไรก็ได้ แต่นักเศรษฐศาสตร์มักตาบอดกับมิติทางจิตวิญญาณหรือการเติบโตทางวุฒิภาวะ อารมณ์ ความรู้สึกที่เป็นผลมาจากพันธะทางสังคมที่แนบแน่นเหล่านี้</p>    <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ไม่ใช่ว่ามิติทางเศรษฐกิจไม่สำคัญ แต่เห็นมีคนว่ากันมาเยอะแล้ว ผมก็เลยมองต่างมุมมาประกอบและชั่งน้ำหนักกันบ้าง </p>    <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">คนจน ไม่มีข้าวจะยาไส้ ยังริอยากมีลูก เด็กออกมาก็ไม่มีคุณภาพ ผมเคยได้ยินถ้อยคำทำนองนี้จากนักพัฒนาคนหนึ่ง ที่ไหน จำไม่ได้ </p>    <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">เราจะห้ามไม่ให้คนจนมีลูกได้ไหม   คงเป็นไปไม่ได้  (แม้รัฐพยายามจะคุมกำเนิดคนจนและคนดอยด้วยวิธีต่างๆ) แสดงว่าการมีลูกเป็นอะไรที่มากกว่าเรื่องเศรษฐกิจของชาวบ้าน ไม่ใช่เค้าไม่รู้ตัวว่าจน แต่รู้อยู่แล้วว่าจน ก็ยังอยากมี อันนี้มีเหตุผลทางวัฒนธรรมและทางจิตวิทยาอยู่เบื้องหลังแน่ๆ  การไปทึกทักว่า จน แล้วยังโง่อยากมีลูกอีกอันนี้ คนจนอาจจะสะท้อนกลับไปยังคนพูดว่า รวยแล้วยังไม่คิดจะมีลูกอีก โง่ฉิบ เลยไม่รู้ว่าใครโง่กันแน่ ถ้าไม่ชกกันไปซะก่อน ก็ยก ความแตกต่างทางวัฒนธรรมวิธีคิดให้เป็นจำเลย ก็คงดูง่ายดี</p>    <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">วกกลับมาเข้าเรื่องตัวเองดีกว่า กลับไปดูลูกน้อยดูดนมแม่แล้วกลับมาก็ชื่นใจพ่อคนนี้ มีความสุขนะครับ เป็นความสุขจากการได้เห็นเขามีความสุข อยู่ดี กินดี เห็นตัวเรา ความสำเร็จของเราอยู่ในตัวเขา</p>    <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">อันนี้ สำหรับผม ผมคิดว่าการมีลูกเป็นจุดเชื่อมต่อสำคัญ ในการมองเห็นตัวเรา (พ่อ) เชื่อมโยงอยู่ในตัวผู้อื่น (ลูก) โดยไม่ลืมคิดถึงเมีย</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">เรา (พ่อ) เห็นความเชื่อมโยงระหว่างพ่อของเราที่ดูแลเราเมื่อตัวเท่านี้ ว่าเค้าผ่านประสบการณ์คล้ายๆกันนี้ เหมือนเรา </p><p>   ถ้าจะสังเคราะห์ซะหน่อย ตามธรรมเนียมของนักวิจัย ก็จะเห็นว่า เรา (คุณพ่อมือใหม่)ได้ฝึกคิดเชื่อมโยงตัวเรากับผู้อื่น เห็นความเป็นตัวตนหรืออัตลักษณ์ของตัวเรา(พ่อ) ในผู้อื่น (ลูกของเรา)  (อัตลักษณ์หรือความเป็นตัวตนของเราจึงไม่ใช่ของเราทั้งหมด แต่มันอยู่ในตัวผู้คนรอบข้างของเรา อยู่ในทุกสิ่งที่เราสัมผัสได้ใกล้ชิด)  โดยอาศัยลูกเป็นสื่อ หากยังสามารถขยายการเชื่อมโยงไปยังผู้คนและสรรพสิ่งต่างๆได้มากมาย เช่น พ่อของเรา แม่ของเรา ภรรยาของเรา พี่น้องของเรา คนที่กำลังเลี้ยงลูกเหมือนเรา เป็นต้น ทั้งยั้งข้ามผ่านมิติเรื่องเวลา ไปยังอดีตกาลวัยแบเบาะของเรา เห็นภาพสายสัมพันธ์หรืออัตลักษณ์ของเราอยู่ในตัวผู้อื่นในช่วงเวลานั้น  นี่เอง ที่ผมพบว่า ที่ใดที่อัตลักษณ์ของเราถ่ายเทไป ย่อมเปิดพื้นที่ใหม่ๆให้ความเมตตากรุณาไปเกาะกุมได้ไม่ยาก   </p><p> </p><p>ณ วันนี้ ความสุขจากการมีลูกของผมจึงขยับขึ้นเป็นสองเท่า เพราะนอกจากจะมีความสุขจากการเป็นผู้ให้แล้ว ยังเล็งเห็นอรรถประโยชน์ทางจิตวิญญาณ ที่ได้เห็นความเชื่อมโยงระหว่างอัตลักษณ์ของตัวเราที่แทรกซึมอยู่ในสรรพสิ่งต่างๆ ทั้งยังที่จะได้จากการเรียนรู้สิ่งต่างๆอีกมากจากประสบการณ์ตรงเช่นนี้ </p>

หมายเลขบันทึก: 58301เขียนเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2006 00:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 พฤษภาคม 2012 12:16 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

ยินดีกับคุณยอดดอยและครอบครัวที่มีสมาชิกใหม่ตัวน้อยที่น่ารักมาก

สวัสดีค่ะคุณยอดดอย

  • ยินดีกับลูกคนแรกนะคะ
  • ครูอ้อยเรียนเชิญอ่านที่นี่ค่ะ  ลูกคือโลก
  • เรามารักและผูกพันกับลูกของเรานะคะ

เขียนได้น่ารักมากค่ะ "นอกจากจะมีความสุขจากการเป็นผู้ให้แล้ว ยังเล็งเห็นอรรถประโยชน์ทางจิตวิญญาณ ที่ได้เห็นความเชื่อมโยงระหว่างอัตลักษณ์ของตัวเราที่แทรกซึมอยู่ในสรรพสิ่งต่างที่แวดล้อมเค้า"  ยินดีด้วยนะคะอีกไม่กี่เดือนก็จะซนให้คุณพ่อเพิ่มอัตลักษณ์ใหม่...(ผอม)..แหะ.... แหะ..

ตามพี่จิ๊บ...มาต้อนรับสมาชิกใหม่...ที่มาด้วยกระแสแห่งความรักของพ่อและแม่...

...

นี่อาจเป็นบทเรียนหนึ่งอีกบทเรียนของชีวิต...ต่อการประคอง...จิตวิญญาณแห่งความเป็นมนุษย์...ว่าเราจะสามารถก้าวพ้นแห่งความเป็นคนได้มากน้อยแค่ไหน..แห่งสัญชาตญาณ...ของความเป็นผู้ให้ชีวิต...อีกหนึ่งชีวิต...

...

กะปุ๋มเป็นคนหนึ่งที่ศรัทธาเรื่อง ครอบครัว...และการหล่อหลอมเป็นหนึ่งเดียวแห่งคครอบครัว...กับคนที่เรารู้สึกว่าใช่เลย..คือ คนนี้เลย..ที่เราจะจูงมือกันเดินไปเพื่อร่วมทำสิ่งที่ดีงามแก่ชีวิต...

ขอบคุณสำหรับบันทึกนี้...อ่านแล้วรู้สึกดีมากเลยคะ

ขอบคุณคะ

กะปุ๋ม

 

เข็มนาฬิกาบอกเวลาวันใหม่......

เด็กน้อยเจ้าดวงใจ.... หลับปุ๋ยไปแล้ว ......

แววตาใสๆปิดสนิทไว้ในเปลือกตาบางๆ......

หากพอเอื้อนเอ่ยได้บ้าง....

เจ้าอยากจะบอกสิ่งไรกับโลกนี้หนอ?.......

แม้เจ้ายังรับรู้ได้...

ถึงความห่วงใยที่คนเหล่านี้ ล้ำค่า......

กระพริบตาแผ่วๆ แล้วส่งยิ้มมา....

แค่นี้...ก็รู้แล้วว่าเจ้า ขอบคุณถึงผู้ใหญ่ทุกๆคน 

 

             แทนใจน้องออมสิน จากคุณพ่อยอดดอยครับ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท