ขับเคลื่อน PLC เทศบาลเมืองมหาสารคาม _๑๘ : ถอดบทเรียนตนเอง ครู BP จาก PLC มหาสารคาม (๒) "มองงาน"


หลังจาก " มองตนเอง" แล้ว ขั้นตอนไปคือ "มองงาน" โดยให้วาดรูปตนเองนั่งกรรมฐาน ด้านล่าง แล้วเริ่มคิดอย่างใคร่ครวญใน ๔ ประเด็นตามลำดับ


รูปนี้สามารถเขียนได้โดยไม่ปากกาเลย นั่นหมายถึง ผู้วาดรูปนี้จะเริ่มจากตรงไหนก็ได้ตามแต่ใจปรารถนา ผมพยายามสื่อกับคุณครูว่า นี่เป็นวิธีการเตรียมตัว เตรียมพร้อม หรือผมใช้คำว่า "เตรียมภาชนะ" โดยการรวมสติและสมาธิจดจ่อกับสิ่งที่กำลังจะทำ เป็นเหมือน "ทางเข้า" หรือฝรั่งมักเรียกว่า "Check in"


ตัวอย่างที่ ๑

ลองดูตัวอย่างของ รองฯ อ้อย โรงเรียนเทศบาลสามัคคีครับ ท่านสติ และสมาธิดีเยี่ยม เข้าใจ และให้คำตอบแบบตรงเป้าหมาย "เป๊ะ" ครับ


  • แนวปฏิบัติที่ดี หรือ BP ของท่านคือ "การฝึกวอลเลย์บอลชายหาด"
  • สิ่งสำคัญ (ทุน) ที่ต้องมี ไม่มีไม่ได้คือ ความรู้เรื่องวอลเลย์บอลชายหาด ต้องแบ่งเวลาเป็น ต้องมีอุปกรณ์และสนามฝึก ต้องเคารพกฎกติกา และที่สำคัญ ต้องมีความสามารถเฉพาะบุคคล (ท่านคงหมายถึงพรสวรรค์)
  • ปัจจัยแห่งความสำเร็จ คือ ต้องใจรัก มีระเบียบวินัย เลือกเข้าร่วมการแข่งขันเป็น ต้องมีผู้สนับสนุนที่ดี และที่สำคัญต้องมีความอดทน
  • เคล็ดลับ ไม่มีอะไรมาก (แต่คงทำยากมาก) คือ ต้องวางแผนใช้แบบฝึกอย่างต่อเนื่องและปฏิบัติตามโดยเคร่งครัด

ชัดเจนมากๆ ครับ .... จากรูปท่านบอกความสำเร็จอย่างภูมิใจว่า นักเรียนได้รับรางวับชนะเลิศการแข่งขันกีฬา อปท. ทั้งระดับเขตและระดับภาค ตลอด ๙ ปีที่ผ่าน ....สุดยอด สุดยอด สุดยอดครับ

ตัวอย่างที่ ๒


สำหรับตัวอย่างของครูเต็ง หรืออาจารย์สุรียนต์ บูรพา BP ของท่านคือ "การสอนวรรณคดี"

  • มีหลักฐานเชิงประจักษ์ในรูป ชิ้นงาน/ผลงาน/หรือการนำเสนอของเด็กๆ นักเรียนรู้และเข้าใจในเรื่องที่ท่านสอน และสามารถวิเคราะห์เรื่องได้ ... นี่คือสิ่งที่ทำให้ท่านภูมิใจ จนอยากบอกต่อ
  • แต่ใครจะมาสอนแบบท่านได้ จะต้อง เป็นนักอ่าน รักภาษาไทย และมีทักษะการคิดวิเคราะห์
  • ปัจจัยที่ส่งผลว่า จะสำเร็จหรือไม่สำเร็จ อยู่ที่ตัวคน ในที่นี้หมายถึง ตัวครู ตัวนักเรียน และสื่อที่ใช้ ขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่งไป จะทำให้สำเร็จได้ยากขึ้น
  • เคล็ดลับคือ ต้องสนุกสนาน "เข้าถึง" (ซึ้ง) และใชรูปแบบการสอนที่หลากหลาย (ไม่ใช่อ่านให้ฟังอย่างเดียว)

ตัวอย่างที่ ๓


เป็น BP จากครูปุ๊ก โพธิศรี คือ การจัดการเรียนการสอนแบบ "เรียนปนเล่น" หรือ "เพลิน" หรือ Plearn มาจากคำว่า (Play+Learn) ผมมีโอกาสเข้าไปนั่งฟังครูปุ๊กเล่าเรื่องให้ฟังด้วยครับ เรื่องการสอนของครูปุ๊กนั้น ท่านใช้คำว่า "การสอนด้วยประสบการณ์ตรง" ท่านยกตัวอย่างเรื่อง การมอบหมายให้เด็กๆ ไปหาดักแด้ หรือลูกน้ำ แล้วนำมาเป็นสื่อในห้องเรียนอนุบาล ทุกๆ วัน เด็กๆจะช่วยกันสังเกตและอธิบายการเปลี่ยนแปลง จนกลายเป็นผีเสื้อ กลายเป็นยุง นักวิชาการเรียนการเรียนรู้แบบนี้ว่า การเรียนรู้แบบรู้จริง (Mastery Learning)... วิธีการของครูปุ๊กต้องถูกนำไปขยายผลให้กับครูอนุบาลทุกคนครับ... เทศบาลจะรุดหน้าแบบก้าวกระโดดทีเดียว

  • ท่านบอกว่า ครูต้องเป็นผู้ใฝ่เรียนรู้
  • ปัจจัยของความสำเร็จคือ "ใจ" ทำด้วยใจ ทำอย่างใส่ใจ และตั้งใจ มีความอดทนและกระตือรือล้น
  • เคล็ดลับคือ ให้ทำบ่อยๆ และทำจนเป็นกิจวัตรไปเลย....

ยังมีตัวอย่างอีกมากครับ ที่เขียนออกมาได้แบบนี้ .... สรุปคือ ครูทุกคนและผอ.ที่เข้าร่วม เรามีหัวเรื่อง BP แล้ว ๔๒ หัวเรื่องครับ ....

คำถามต่อไปคือ แต่ละ BP มีขั้นตอนการทำอย่างไร ... ไปต่อกันบันทึกหน้าครับ

นี่ไงครับท่านรองฯ วัลลภ (รองนายกเทศมนตรี เทศบาลเมืองมหาสารคาม) ท่านอาจารย์ไสว (ศึกษานิเทศก์) "เรื่องดีที่อยากเล่า" .....

หมายเลขบันทึก: 582819เขียนเมื่อ 20 ธันวาคม 2014 06:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 ธันวาคม 2014 19:32 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท