ukm 8 สะท้อนจากมุมมองนักฝึกอบรม


อาจใช้เวลาที่ใช้ทั้งหมดในโครงการเป็นตัวกำหนด พื้นที่ใช้ห้อง ซึ่งการจัดครั้งนี้ เราใช้เวลา รวม 10 โมง สำหรับแบ่งกลุ่ม 3 ชม. และสำหรับ ที่ต้องการรวมใจ ถึง 7 ชม. (คร่าวๆ) สัดส่วนการจัดห้องจึงต้องดูให้สอดคล้องกัน

ดิฉันตั้งใจจะเขียนบันทึกนี้เพื่อทดสอบวิชาการจัดโครงการ:บรรยากาศข้างเคียงต่อความสำเร็จของกระบวนการ มิมีเจตนาอื่นนอกจากตั้งใจสะท้อนวิชาชีพสู่คนที่ดิฉันรัก (ทีมงานมหาวิทยาลัยนเรศวร)
ความสำเร็จสำคัญของการจัดกระบวนการคือ
ความพร้อมของผู้จัดงาน งานนี้ดิฉันเห็นว่าเต็มร้อยพิธีกรสวยอีกต่างหาก
ความพร้อมของวิทยากร งานนี้วิทยากรล้วนใจสั่งมา
ความพร้อมของผู้เข้าร่วม งานนี้ทุกคนอยากเข้าร่วมเพราะจัดที่สุโขทัยคิดถึงทีม มอ.นะคะลำบ้าก ลำบากในการเดินทาง...จนหลายคนเปลี่ยนใจสลับสับตัวกันแทบไม่ทัน
ความพร้อมของสภาพแวดล้อมประกอบงานนี้ไม่ค่อยสมบูรณ์เนื่องจาก 2-3ประการนอกเหนือการควบคุม   
    1.ห้องที่ใช้ควบคุมบรรยากาศได้ยาก(ห้องกว้างมาก)  คนกระจัดกระจายกันทั่วไปอาจแก้โดย จำกัดพื้นที่ที่ไม่ใช้โดยใช้บอร์ดกั้น 
    2.เวทีสูงมาก....ไม่เสริมความรู้สึกเป็นกันเองระหว่างผู้บรรยายงานนี้มีถึง 2 ช่วง ทางแก้คือย้ายเวที ลงมาข้างล่างจะให้บรรยากาศที่อบอุ่นกว่าและเพราะห้องใหญ่มากจึงทำให้ presentation อาจารย์หมออภิชาติเล็กไปถนัดตา 
    3.การจัดผู้สังเกตการณ์นั่งขั้นเป็นโต๊ะยาวกลางห้อง..ทำให้การแบ่งกลุ่มถูกตัดขาดเหมือนคนละฝ่าย
    4.โต๊ะของ note taker ห่างออกไปมากทำให้คนเล่าเรื่องกังวลว่าจะฟังเรื่องของเราได้หรือเปล่าเสียสมาธิไปนิดหน่อย 

ดิฉันพยามสื่อว่าพื้นที่ห้อง ที่มีพื้นที่เหลือใช้เยอะ  มีการจัดผู้สังเกตการเข้าตรงกลางทำให้รวมจุดได้ลำบากประกอบกับ เวทีที่สูง มันดูแยกไปคนละทิศ หาจุดรวมลำบาก เพราะมัน span ไปทั่วห้อง 
      
       เป็นความจริงว่าหลายๆครั้ง เราไม่สามารถควบคุมอะไรได้เช่น โรงแรมไม่มีห้องให้เลือก ความสมบูรณ์ของระบบเสียงควบคุมไม่ได้ขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพของเจ้าหน้าที่โรงแรมทิศทางของไฟ LCD หรือกระทั่งเวทีที่สูงไปก็มันมีอย่างนั้นเราสามารถปิดจุดอ่อนนั้นได้อย่างไร  สำหรับห้องนั้นเราควรบริหารพื้นที่ในห้องประชุมตามเวลาของการใช้ในห้องทำเป็นสองพื้นที่ในห้องสำหรับใช้เป็นวงแลกเปลี่ยนของกลุ่มอยู่ตามมุมห้องและอีกพื้นที่จัดกลางห้องที่ใช้รวมศูนย์กลางใช้เฉพาะเก้าอี้สำหรับฟัง lecture และทำ AAR  โดยใช้เวลาที่ต้องการใช้พื้นที่ในโครงการเป็นตัวกำหนดการจัดห้อง ซึ่งการจัดครั้งนี้ใช้เวลารวม 10 ชม. สำหรับแบ่งกลุ่ม 3 ชม.  และสำหรับที่ต้องการรวมใจ ถึง 7 ชม.(คร่าวๆ) สัดส่วนการจัดห้องจึงต้องดูให้สอดคล้องกันคือแบ่งกลุ่มกระจายตามมุมห้อง 3 ชม.และจัดที่นั่งแบบรวมใจ 7 ชม. 

      อีกนิดค่ะช่วงทำAAR ด้วยอุปสรรคของห้องทำเลที่กระจัดกระจายคนละมุมปัญหาระบบเสียงขาดหายจึงขาดพลังของ AAR ไปเล็กน้อยมีอะไรขวางใจอยู่ เวลากลุ่มโน้นพูดกลุ่มนี้ก็ไม่ฟัง หากจัดเก้าอี้ตามแบบAARจะเสริมพลังใจยิ่งขึ้น (ดิฉันสังเกตว่าเมื่อเราทำงาน UKM มาได้ซักระยะ เราจะรู้สึกว่าช่วง AAR ไม่มีอะไรเราชักจะพิถีพิถันน้อยลง(อันนี้ดิฉันอาจมองผิดว่าพิถีพิถันน้อยลงดิฉันก็เป็น..)ที่จริงแล้วเราไม่ควรเบื่อการทำ AARที่ดูเหมือนจะพูดซ้ำๆ เพราะมันเป็นพลังอย่างดีในการขับเคลื่อนเครือข่ายฯเป็นทั้งแรงเสริมใจและแรงส่งในแง่ของการปรับปรุง) 
         
 

หมายเลขบันทึก: 58218เขียนเมื่อ 9 พฤศจิกายน 2006 17:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:17 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

ผมเห็นด้วยกับคุณเมตตาทั้งหมดเลยครับ และขอขอบคุณมากที่ช่วยชี้แนะให้เห็นกันชัด ๆ อีกที เราทีม มน. เองก็รู้สึกไม่คุ้นเคยและใหม่กับสถานที่นี้มากเช่นกัน เนื่องจากเป็นครั้งแรกที่เรามาใช้สถานที่นี้ ทุกอย่างจึงรู้สึกขาด ๆ เกิน ๆ ไปหมด วันแรกที่ผมต้องขึ้นไปพูดเกริ่นนำนั้นขลุกขลักมากเนื่องจากไม่ได้ไปทำความคุ้นเคยกับสถานที่กับระบบเสียงให้ดีเสียก่อน ตั้งใจว่าจะอัดเสียงทำเป็น narrated powerpoint ให้กับผู้เข้าร่วมประชุมด้วยจึงต้องนั่งติดไมค์เล็ก ๆ ที่คอมพิวเตอร์ พอเริ่มพูดก็เริ่มมีปัญหาเนื่องจากไม่ได้ยินเสียงตัวเองเลยว่าเป็นอย่างไรดังพอที่ทุกคนจะได้ยินไหม เป็นจุดที่ไม่ได้ยินอะไรจริง ๆ การวางตำแหน่งลำโพงไม่เหมาะสมมาก ๆ ผู้พูดไม่เกิดความมั่นใจในสิ่งที่ตัวเองพูดออกไปเลย เงยหน้ามองดูปฏิกิริยาจากผู้ฟังก็เจอไฟส่องเต็มตา มองไม่เห็นอีก จะลุกขึ้นยืนพูดก็จะห่างไมโครโฟนที่จะอัด narrated powerpoint ไปอีก เป็นอะไรที่แย่มาก ๆ ต่อมาตอนที่ต้องออกไปพูดสรุปในช่วงท้ายของการทำ workshop ผมยืนอยู่หลังลำโพงจึงได้ยินชัดดี แต่พอพูดจบท่านอาจารย์มาลินีบอกเสียงเบามากไม่ค่อยได้ยินเลย นี่แค่เฉพาะที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับผมนะครับ ในขั้นตอนอื่น ๆ ก็ขลุกขลักตลอดเช่นกันถ้าจำเป็นต้องมีการใช้ระบบเสียง ดังนั้น บทเรียนก็คือ ต้องซักซ้อมให้ดีก่อนถึงการใช้งานจริง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในที่ที่ไม่คุ้นเคย เป็นบทเรียนที่มีค่ามาก

  • ขอบคุณพี่เมตตา พี่สาวและกัลยาณมิตร ของดิฉันสำหรับบันทึกนี้ที่รอคอยค่ะ  ได้มุมมองจากนักฝึกอบรมมืออาชีพที่คุ้มค่ากับการรอคอยค่ะ
  • จริงๆ แล้วบางอย่างที่พี่เมตตาบอกในบันทึกว่าหลายๆ ครั้งเราไม่สามารถควบคุมบางอย่างได้  ตูนกลับคิดว่าถ้าเราใส่ใจเพิ่มขึ้นอีกนิดน่าจะได้ผลลัพธ์ที่ดีขึ้นกว่านี้ได้อีกค่ะ  แต่ไม่ได้หมายความว่าครั้งนี้เราใส่ใจน้อยนะคะ  แต่อาจเป็นสิ่งที่ตูนคาดไม่ถึงเพราะอ่อนด้อยประสบการณ์บวกกับเป็นครั้งแรกของการใช้สถานที่อย่างที่ท่านอาจารย์วิบูลย์บอกค่ะ
  • สำหรับช่วง AAR ที่ มน. โดยเฉพาะตูนคิดว่าเป็นช่วงเวลาสำคัญและมีค่าอีกช่วงเวลาหนึ่งเลยค่ะ  หลายๆ คนอาจชอบแต่ละคำถามใน AAR ต่างกัน  แต่ 3 คำถามแรกที่ตูนจะต้องกลับมาไล่อ่านจากแผ่นกระดาษที่ได้จากการ AAR เรียงตามนี้ค่ะ ข้อที่ 3 อะไรที่ท่านได้น้อยกว่าที่คาดหวัง และข้อที่ 5 หากท่านจะจัด WS ทำนองนี้ท่านจะปรับปรุงในด้านอะไร ข้อที่ 4 หลังจากที่เข้า WS แล้วท่านจะกลับไปทำอะไรในหน่วยงานของท่าน  
  • (กระซิบเบาๆ)... กำลังรอบันทึกทำนองนี้จากอุอีกบันทึกนึงค่ะ
  • อ่านแล้วอดใจไม่ได้เช่นกัน ที่จะขอแจม
  • เพราะดิฉันเป็นคนจำพวกชอบให้วิพากษ์มากกว่าชม โดยเฉพาะการวิพากษ์จากกัลยาณมิตรที่จิตหยั่งรู้ได้ว่าปรารถนาดี ไร้สิ่งเคลือบแคลง
  • นอกจากคุณเมตตาจะชี้จุดบกพร่องแล้ว  ยังเสนอแนะแนวทางแก้ไขให้ด้วย นี่ซิค่ะ ยืนยันว่าใส่ใจจริง
  • ผู้จัดเสมือนเป็นนักมวยขึ้นชกกลางสังเวียน  ไม่เห็นภาพรวมของการต่อสู้เหมือนอย่างคนที่นั่งชม ดังนั้นการที่มีผู้ชมที่เป็นนักวิเคราะห์ และนักจัดการมืออาชีพอย่างคุณเมตตาช่วยชี้แนะเช่นนี้  การขึ้นชกครั้งหน้า คงคว้าแชมป์ได้ไม่ยาก
  • ดิฉันนึกวาดภาพการจัดห้องประชุมอย่างที่คุณเมตตาเสนอ  แล้วนึกในใจว่า แหม! นี่เป็น Tacit Knowledge ที่หาไม่ได้ในตำราไหนๆ เลยนะเนี่ย
  • ท่านอาจารย์วิจารณ์เคยสอนไว้ว่า KM นี่เหมือนขนมชั้น มันให้สิ่งดีๆ แก่เราได้ทีเดียวหลายๆอย่างพร้อมๆกัน รสชาติหวานมัน ค่อยๆ ละเลียดดึงออกมาชิมทีละชั้น ช่างมีความสุขที่ได้เสพเสียเหลือเกิน
  • โชคดี....ที่ได้รู้จักคุณเมตตา   

 

 

 

 

 

 

  • แวะมาเก็บเกี่ยวสิ่งดี ๆ จากมืออาชีพครับ
  • ขอบคุณที่มอบสิ่งดี ๆ สำหรับ ชาว UKM
  • สำหรับมือใหม่อย่างผม ก็ได้แต่ทึ่งในความทุ่มเทของ ทีม มน. ว่าอาจารย์ วิบูลย์ อาจารย์ มาลินี ทำได้อย่างไร ? จึงทำให้ทีมทำงานทุ่มเทได้ขนาดนี้  คุณตูน ขนาดจะไม่ยอมไปสอบ วิทยานิพนธ์ ในวันที่ 4 เพราะห่วงงาน
ท่านอาจารย์วิบูลย์  ท่านอาจารย์มาลินี และคุณตูน คะ ดิฉันรู้สึกตกใจที่ท่านอาจารย์วิบูลย์เข้ามาเป็นท่านแรก เดิมคิดว่าบันทึกนี้น่าจะเป็นคุณตูน ที่จริงแล้วตอนเริ่มต้นและตอนก่อนเลิกวันแรก ดิฉันก็ไม่ได้อยู่ในห้องด้วยค่ะ จึงไม่เห็นบรรยากาศที่ท่าน อาจารย์วิบูลย์เล่าเท่าใดนัก...จุดใหญ่ที่ทำให้อยากถ่ายทอดความเห็นในครั้งนี้เกิดจาก space ของห้อง แล้วก็ไม่ได้คิดออกในวันนั้นนะคะ มาคิดออกตอนนั่งรถกลับกรุงเทพฯ สมองว่างค่ะ....คิดแล้วคิดอีกว่าจะเขียนให้มันได้อะไรขึ้นมา....ผ่านไปแล้วแต่ด้วยความผูกพันกับตูนและทีมงานจึงได้บันทึกนี้ออกมา   .....วันนั้นที่เห็นเพียงคิดว่าห้องกว้างจังพิธีกรต้องเก่งมากที่จะ control สถานการณ์ และบรรยากาศได้......แล้วดิฉันก็จากไปเที่ยวเมืองเก่ากับทีม มอ....
ท่านอาจารย์แพนด้าคะ เห็นหลังไวๆ แวะมาอ่านกันประจำ ขอบคุณค่ะ

เห็นด้วยกับพี่เมตตา ในเรื่องบางสถานการณ์ ที่อยู่เกินความสามารถที่ทีมผู้จัดจะควบคุมได้ ณ ขณะนั้น คือ เรื่องระบบเสียง เพราะแม้แต่ทางเจ้าหน้าที่โรงแรมก็ไม่ทราบสาเหตุและไม่สามารถแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้......

สำหรับคนที่กระซิบทวงถาม บันทึกต่อไปของ อุ นั้น รอแป๊บนึงนะคะ....ได้อ่านแน่คะ....

  • อุตส่าห์มาเล่าให้ฟัง
  • คนไม่ได้ไปเลยได้อ่านไปด้วย
  • ขอบคุณมากครับ
ขอบคุณค่ะ แวะมาเก็บเกี่ยวด้วยคนนะคะ เพราะชื่นชมการจัดของทีม มน. มาก กำลังจะนำมาเป็นตัวอย่างในการจัด DSS-KM อยู่อ่ะค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท