การจัดการเรียนการสอนแบบร่วมมือ


การสอนแบบร่วมมือ

              การจัดการเรียนการสอนในวิชาสังคมศึกษามีหลากหลายรูปแบบด้วยกัน  รูปแบบหนึ่งที่จะนำมาแก้ปัญหาในการจัดการเรียนการสอน  คือ  การจัดการเรียนการสอนแบบร่วมมือ  ซึ่งเป็นการเรียนที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนทำงานร่วมกัน  โดยในกลุ่มประกอบด้วยสมาชิกที่มีความสามารถแตกต่างกัน  มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น  มีการช่วยเหลือพึ่งพาซึ่งกันและกัน  และมีความรับผิดชอบร่วมกัน  ทั้งในส่วนตนและส่วนรวม  เพื่อให้ตนเองและสมาชิกทุกคนในกลุ่มประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนด                    หลักการของการเรียนแบบร่วมมือ 1.       การพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันในทางบวก  สมาชิกในกลุ่มทำงานอย่างมีเป้าหมายร่วมกัน  มีการทำงานร่วมกัน  ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน  สมาชิกในกลุ่มมีความรู้สึกว่าตนประสบความสำเร็จได้ก็ต่อเมื่อสมาชิกทุกคนในกลุ่มประสบความสำเร็จด้วย2.       การมีปฏิสัมพันธ์ที่ส่งเสริมซึ่งกันและกัน  เป็นการปรึกษาหารือกันอย่างใกล้ชิด มีการติดต่อสัมพันธ์กัน  แลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน3.       ความรับผิดชอบของสมาชิกแต่ละบุคคล  กลุ่มจะต้องช่วยกันเรียนรู้และช่วยกันทำงาน  โดยมีความรับผิดชอบต่องานของตนอย่างเต็มที่เพื่อผลสำเร็จของงานกลุ่ม4.       การใช้ทักษะระหว่างบุคคลและทักษะการทำงานกลุ่มย่อย  เป็นทักษะสำคัญที่จะช่วยให้การทำงานกลุ่มประสบผลสำเร็จ  นักเรียนควรจะได้รับการฝึกทักษะในการสื่อสาร  การเป็นผู้นำ  การไววางใจผู้อื่น  การตัดสินใจ การแก้ปัญหา มีการร่วมมือกันในกลุ่ม5.       กระบวนการกลุ่ม  เป็นวิธีการที่จะช่วยให้การดำเนินงานกลุ่มเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สมาชิกทุคนต้องทำความเข้าใจในเป้าหมายการทำงาน วางแผน  ปฏิบัติงานร่วมกัน  ดำเนินงานตามแผนที่วางไว้  ตลอดจนประเมินผลและปรับปรุงงาน                    ประโยชน์ของการเรียนแบบร่วมมือ1.       สร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างสมาชิก  เพราะทุก ๆ คนร่วมมือในการทำงานกลุ่มทุก ๆ คน มีส่วนร่วมเท่าเทียมกันทำให้เกิดเจตคติที่ดีต่อการเรียน2.       ส่งเสริมให้สมาชิกทุกคนมีโอกาสคิด  พูด  แสดงออก  แสดงความคิดเห็น  ลงมือกระทำอย่างเท่าเทียมกัน3.       ส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้จักช่วยเหลือซึ่งกันและกัน4.       ทำให้รู้จักรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น  การร่วมคิด นำข้อมูลมาพิจารณาร่วมกัน  เป็นการส่งเสริมให้ช่วยกันคิดหาข้อมูลให้มาคิดวิเคราะห์และเกิดการตัดสินใจ5.       ส่งเสริมทักษะทางสังคม  ทำให้ผู้เรียนรู้จักปรับตัวในการอยู่ร่วมกันด้วยมนุษยสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน  เข้าใจกันและกัน6.       ส่งเสริมทักษะการสื่อสาร ทักษะการทำงานเป็นกลุ่ม  สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ สิ่งเหล่านี้ล้วนส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนให้สูงขึ้น                    เทคนิคการเรียนแบบร่วมมือ                   1.  เทคนิคปริศนาความคิด  (Jigsaw)  เป็นการสอนที่อาศัยแนวคิดการต่อภาพ  วิธีการหลักของการสอนแบบนี้คือ  แบ่งผู้เรียนออกเป็นกลุ่มมีสมาชิก  3-4 คน  โดยสมาชิกในกลุ่มมีความสามารถคละกัน  ผู้เรียนแต่ละคนจะได้ศึกษาเพียงส่วนหนึ่งหรือหัวข้อย่อยของเนื้อหาทั้งหมด  โดยการศึกษาเรื่องนั้น ๆ  จากเอกสารหรือกิจกรรมที่ผู้สอนจัดให้  ในตอนที่ศึกษาหัวข้อย่อยนั้น   ผู้เรียนจะทำงานเป็นกลุ่มกับเพื่อนที่ได้รับมอบหมายให้ศึกษาหัวข้อย่อยเดียวกันและเตรียมพร้อมที่จะกลับไปอธิบายให้เพื่อนสมาชิกในกลุ่มพื้นฐานของตนเอง จบบทเรียนจะมีการทดสอบ  ผลของคะแนนกลุ่มที่พัฒนาขึ้นได้ตามคะแนนมาตรฐานที่กำหนดจะได้รับรางวัล                           2.  เทคนิคแบ่งปันความสำเร็จ   (Student  Teams-Achievement  Division  :  STAD)   เป็นการเรียนที่แบ่ง ผู้เรียนออกเป็นกลุ่ม ๆ ละ 4-5 คน  โดยสมาชิกมีความสามารถแตกต่างกัน         ทั้งเพศ  เชื้อชาติ   ผู้สอนกำหนดบทเรียนและงานของกลุ่มไว้แล้ว  ผู้สอนทำการสอน  แล้วให้ผู้เรียนทำงานกลุ่มที่กำหนด     ผู้เรียนในกลุ่มช่วยเหลือกัน  เด็กเก่งช่วยและตรวจงานของเพื่อนให้ถูกต้องก่อนนำส่งผู้สอน  ผู้เรียนต่างคนต่างทำข้อสอบแล้วเอาคะแนนมารวมกันเป็นคะแนนของกลุ่ม           ผู้สอนจัดลำดับของคะแนนกลุ่มปิดประกาศให้ทุกคนทราบ                           3.  เทคนิคการเรียนร่วมกัน  (Learning  Together  :  LT)  เป็นการสอนที่จัดกลุ่ม          ผู้เรียนออกเป็นกลุ่ม ๆ  ละไม่เกิน  6  คน  ซึ่งสมาชิกมีความสามารถแตกต่างกัน  จัดให้ผู้เรียนนั่ง หันหน้าเข้าหากันเป็นวง  เพื่อให้สามารถสื่อสารพูดคุยกันได้สะดวก  ผู้เรียนแต่ละกลุ่มทำงานตาม ที่ได้รับมอบหมาย  สมาชิกกลุ่มมีปฏิสัมพันธ์ต่อกัน  มีความรับผิดชอบในตัวเองต่องานที่ได้รับ            มอบหมาย  ผู้สอนสอนทักษะการทำงานกลุ่ม  และประเมินการทำงานกลุ่มของผู้เรียน                           4.  เทคนิคช่วยกันคิดช่วยกันเรียน  (Team  Assisted  Individualization  :  TAI)  เป็นวิธีการสอนที่ผสมผสานระหว่างการเรียนแบบร่วมมือ  (Co-operative  Learning)  และการสอนรายบุคคล  (Individualization  Instruction)  เข้าด้วยกัน  โดยให้ผู้เรียนได้ลงมือทำกิจกรรมในการเรียนได้ด้วยตนเองตามความสามารถของตน  และส่งเสริมความร่วมมือภายในกลุ่ม  มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์การเรียนรู้และปฏิสัมพันธ์ทางสังคม                            5.  เทคนิคการจัดทีมแข่งขัน  (Teams – Games – Tournaments  :  TGT)  เป็นการเรียนแบบร่วมมือกันแข่งขันกิจกรรม  โดยจัดกลุ่มผู้เรียนคละความสามารถ  กลุ่มละ  3-4 คน  แต่ละกลุ่มศึกษาหัวข้อที่เรียน  และปฏิบัติหน้าที่ของตนแล้วเริ่มทำการแข่งขันตอบปัญหา  คะแนนที่สมาชิกแต่ละคนในกลุ่มทำได้  จะนำมารวมกันเป็นคะแนนของกลุ่ม  เมื่อเสร็จการแข่งขัน  ผู้สอนให้รางวัลกลุ่มที่ทำคะแนนได้สูงสุด                           6.  เทคนิคกลุ่มสืบค้น  (Group  Investigation  : GI)  เป็นวิธีการสอนที่แบ่งผู้เรียนออกเป็นกลุ่ม ๆ ละ 2-5 คน  แต่ละกลุ่มทำงานตามที่ได้รับมอบหมาย  สมาชิกในกลุ่มแบ่งงานกันทำตามความถนัดและความสามารถ  กลุ่มเสนอผลงานหรือรายงานหน้าชั้น  การประเมินผลประเมินทั้ง รายบุคคลและเป็นกลุ่ม  การให้รางวัลให้เป็นกลุ่ม                           7. เทคนิคร่วมกันอ่านเขียน  (Cooperative  Intergrated  Reading  and  Composition  : CIRC)  เป็นเทคนิคสำหรับสอนการอ่าน  การเขียน  และทักษะทางภาษา  ใช้กับนักเรียนระดับประถมศึกษาตอนปลาย  โดยเน้นที่หลักสูตรและวิธีการสอน  ผู้สอนแบ่งกลุ่มผู้เรียนออกเป็นกลุ่มการอ่านแล้ว   ผู้สอนให้ผู้เรียนจับคู่กัน  แล้วแต่ละคู่จะถูกกำหนดให้เป็นกลุ่ม  ที่ประกอบด้วยสมาชิกอีกคู่หนึ่งที่มาจากกลุ่มการอ่านอื่น  ตัวอย่างเช่น  ในทีมหนึ่งประกอบด้วยผู้เรียนสองคนที่มาจากกลุ่มการอ่านที่เก่ง  และผู้เรียนอีกสองคนที่มาจากกลุ่มการอ่านที่อ่อนกว่า  ส่วนผู้เรียนที่จัดว่ามีปัญหาทางการอ่าน  ก็ให้กระจายกันอยู่ในทีมต่าง ๆ  มีกิจกรรมต่าง ๆ  จำนวนหลายกิจกรรม  ที่จะต้องทำงานร่วมกันแบบเป็นคู่ ๆ  อย่างไรก็ตาม  อีกคู่หนึ่งที่อยู่ในกลุ่มเดียวกันสามารถช่วยเหลือกันได้  ผู้เรียนในทีมจะใช้เวลาส่วนใหญ่ทำงานที่เป็นอิสระจากผู้สอน  ผู้เรียนจะประเมินเพื่อนสมาชิกในกลุ่มซึ่งกันและกัน  คะแนนจากการประเมินนักเรียนแต่ละคน  รวมเป็นคะแนนของกลุ่ม  กลุ่มใดได้คะแนนถึงเกณฑ์ที่กำหนดไว้  จะได้รับรางวัล                   ที่มา  :  ธนพร  ยมรัตน์.  ผลการจัดการเรียนการสอนแบบร่วมมือโดยใช้เทคนิคปริศนาความคิดที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติต่อวิชาสังคมศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  2.  วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต.  นครสวรรค์  :  สถาบันราชภัฏนครสวรรค์,  2546.

หมายเลขบันทึก: 58201เขียนเมื่อ 9 พฤศจิกายน 2006 16:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 02:16 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

ขอขอบคุณที่ให้ความรู้

ขออนุญาตใช้ความหมายของการสอนแบบร่วมมือของอาจารย์ธนพรไปทำรายงานนะค๊ะ

รัชฎาพร พงศ์พฤฒิชัย

ขอบคุณที่ได้นำความรู้มาเผยแผ่ให้เพื่อนร่วมอาฃีพได้นำไปใช้กับผู้เรียน

ขออนุญาตใช้ข้อมูลอ้าวอิงงานวิจัย

ขออนุญาตใช้ข้อมูลอ้างอิงรายงานการสอนแบบร่วมมือ

ข้อมูลมีประโยชน์สำหรับผู้สนใจการสอนแบบร่วมมือ ขอบคุณค่ะ

ณรงค์วิทย์ สำราญกุล

ขอถามจำนวนของสมาชิกในกลุ่ม แต่ละกลุ่ม จัดได้มากที่สุด กี่คนครับ 10-15คนได้หรือไม่

ขอคุณ ค่ะ

ว่าแต่ นามสกุล เหมือน หนูเลย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท