Mr.CHOBTRONG
ผศ. สมศักดิ์ สถาบันวิจัยและพัฒนา ชอบตรง

ผลการประชุมฐานเศรษฐกิจและทุนทางวัฒนธรรม


ฐานเศรษฐกิจและทุนทางวัฒนธรรม
ผลการประชุมนักวิจัยโครงการ ฐานเศรษฐกิจและทุนทางวัฒนธรรมวันพฤหัสบดีที่ 2 พฤศจิกายน 2549สถาบันวิจัยและพัฒนา             การประชุมครั้งนี้ เป็นการติดตามงานที่ได้ให้นักวิจัยลงศึกษาภาคสนามโดยให้สำรวจ วัฒนธรรมการผลิตและการบริโภค ซึ่งนักวิจัยทั้ง 19 อำเภอ ต้องไปสัมภาษณ์ ครัวเรือนที่มีลักษณะต่าง ๆ กันจำนวน 50 ครัวเรือน โดยประเด็นในการสัมภาษณ์ก็คือการขอข้อมูลรายรับ -รายจ่าย ในแต่ละวัน ว่าได้ใช้จ่ายซื้อสินค้าใดบ้าง และรวบรวมจนครบ 1 เดือน/2 เดือน ตามลำดับ            นักวิจัยส่วนใหญ่ก็นำผลการดำเนินงานมาส่งต่อศาสตราจารย์สุธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์ และได้เสนอข้อจำกัดและปัญหาในการดำเนินงานปัญหาแรก คือ ผู้ให้ข้อมูลรู้สึกเบื่อหน่ายและมีหน่วยงานที่ลงไปสำรวจข้อมูลลักษณะนี้เป็นจำนวนมาก ซึ่งปัญหานี้จะพบจากนักวิจัยชุมชนทั่วไป เพราะแนวโน้มเมื่อ 10 ปีที่ผ่านมา งานวิจัยชุมชนเป็นที่น่าสนใจของนักวิจัยทั่วไป เนื่องจากต้องการให้ผลงานนั้นไปใช้ได้จริง            ปัญหาข้อที่สองคือ ข้อมูลที่นักวิจัยได้มานั้นมีลักษณะที่เหมารวม ไม่ละเอียดรอบคอบเพียงพอที่จะนำมาวิเคราะห์ต่อได้ เช่น ไปสำรวจพบว่าเดือนตุลาคม ชาวบ้านขายปลาได้ 3,000 บาท แต่ไม่ได้บอกว่าขายปลาอะไร ที่ไหน ขายใคร ต้นทุนเท่าใด การที่ยิ่งมีรายละเอียดมากเท่าใด การวิเคราะห์ข้อมูลที่จะมีความแม่นยำ และน่าเชื่อถือได้ รวมทั้งเชื่อมโยงกับมิติอื่น ๆ นอกจากการขายปลาแต่เพียงอย่างเดียว เหตุเพราะว่าตัวแปรของการวิจัยทางสังคมนั้น มีลักษณะของตัวแปรแบบเป็นชุด และมีความสัมพันธ์สอดคล้องกันอย่างมีเหตุผล            นักวิจัยส่วนใหญ่ที่ประสบปัญหาร่วมกัน ทั้งด้านความเบื่อหน่ายของผู้ให้ข้อมูล และข้อมูลที่ได้มาหยาบเกินไปจนไม่สามารถวิเคราะห์ต่อได้ นักวิจัยจึงเสนอแก่ที่ประชุมว่าควรจะให้ผู้มีอำนาจในจังหวัด และในท้องถิ่น เรียกประชุมหัวหน้าหน่วยงานในพื้นที่ และให้ประสานกับชาวบ้าน
เพื่ออำนวยความสะดวกในการเก็บข้อมูล ซึ่งพิจารณาแล้วที่เป็นการปรารถนาดีที่จะให้ผลงานวิจัยนั้นมีคุณภาพดีที่สุด
            แต่การให้ข้อเสนอแนะของศาสตราจารย์สุธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์ ในข้อคำถามของนักวิจัยนั้น ผมเห็นว่าจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อนักวิจัยที่ต้องการวิจัยในทางสังคม และต้องการงานวิจัยที่มีคุณภาพดี สิ่งที่ต้องเข้าใจเบื้องต้นคือ เราไม่ควรปฏิเสธข้อมูลของราชการเสียทีเดียว แต่ให้
มันให้เหมาะสมกับหน้าที่ขอข้อมูล สรุปคำถามและปัญหาของนักวิจัย คือ ต้องการข้อมูลนี้ให้ผู้มีอำนาจสั่งการให้ชาวบ้านให้ความร่วมมือจะเป็นวิธีการเก็บข้อมูลที่ดีหรือไม่ ศาสตราจารย์สุธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์ ตอบคำถามนี้เป็น 3 ประเด็น
             1.   ควรชี้แจงให้ผู้ถูกสัมภาษณ์เข้าใจว่าจะไม่เปิดเผยรายชื่อผู้ให้ข้อมูล            2.   ไม่ควรใช้วิธีให้ผู้มีอำนาจไปขอความร่วมมือ เพราะจะได้ข้อมูลที่ไม่ตรงตามความเป็นจริง เพราะผู้ตอบต้องการตอบสนองผู้ที่ขอความร่วมมือในเชิงอำนาจ มากกว่าจะตอบข้อมูลตามความเป็นจริง และมีผลให้การวิเคราะห์ข้อมูลผิดพลาด            3.   นักวิจัยควรทำความคุ้นเคยกับผู้สัมภาษณ์ชนิดเป็นญาติสนิทที่ไว้วางใจกันได้ทุกเรื่อง โดยแสดงความจริงใจและให้เกียรติผู้ให้ข้อมูล เพราะต้องประสานงานกันตลอดโครงการวิจัย            ในรายงานฉบับนี้ ขออธิบายเพิ่มเติมในการตอบคำถามของนักวิจัยของศาสตราจารย์สุธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์ เฉพาะข้อที่ 2 เท่านั้น  เพราะเห็นว่าเป็นหัวใจสำคัญของการวิจัยทำนองนี้  สำหรับการตอบคำถามว่าไม่ควรให้ผู้มีอำนาจไปขอความร่วมมือจากชาวบ้าน ก็เพราะเหตุว่า  ข้อมูลสำหรับการวิจัยนั้น ควรจะเป็นข้อมูลที่ไม่ผ่านกระบวนการเชิงอำนาจแบบการปกครอง
แต่ควรทำให้นักวิจัยและผู้ถูกสัมภาษณ์ได้แสดงความจริงใจ และสัมพันธ์อันดีระหว่างสองฝ่าย ความสนิทสนมระหว่างผู้ให้ข้อมูลและนักวิจัยจึงเป็นความสำเร็จขั้นแรก หากผ่านขั้นนี้ไปไม่ได้ งานวิจัยก็จะล้มเหลวตั้งแต่ต้น  เพราะต่างฝ่ายก็ไม่ได้มีความสัมพันธ์เชิงลึกเป็นแต่เพียงถามมาก็ตอบไป  ตอบให้เสร็จเรื่องไปเป็นคราว ๆ นักวิจัยก็เก็บพอที่ให้ข้อมูลครบตามที่ต้องการเท่านั้น การให้ข้อมูลแบบแห้งแล้งเช่นนี้ทำให้งานวิจัย ไม่แหลมคมลึกซึ้งไม่มีแง่มุมพิเศษ ที่ซุกซ่อนอยู่หลังพฤติกรรมทางสังคม ประเด็นที่ผู้เชี่ยวชาญต้องการก็คือ ผู้วิจัยเข้าถึงข้อมูลชนิดที่สามารถพยากรณ์พฤติกรรมต่าง ๆ ได้อย่างลึกซึ้ง และรู้จริง นักวิจัยทำนองนี้จึงต้องเป็นผู้มีสัญชาตญาณที่ละเอียดรอบคอบ ซึ่งการใช้ความคุ้นเคยในเชิงสั่งการหรือเชิงอำนาจเข้ากับข้อมูลเหล่านี้ไม่ได้ ปัญหาของนักวิจัยคือ ต้องอาศัยความอดทน สร้างความคุ้นเคยอย่างจริงใจ และมีความอดทนอดกลั้นในการรอคอยข้อมูลจริง และวุฒิภาวะทางอารมณ์ที่มั่นคงขณะที่สัมภาษณ์ ผู้ให้ข้อมูล และต้องไม่ใช้ความรู้สึกในเชิงอำนาจหรือชนชั้นประกอบการรีดข้อมูลเป็นอันขาด ข้อเสนอแนะเช่นนี้เป็นประการสำคัญมากสำหรับนักวิจัย ทางสังคมในการดำเนินโครงการวิจัยเรื่องต่าง ๆ เพราะหัวใจหลักอยู่ที่ความสัมพันธ์อันดีแบบสมัครใจระหว่างผู้ให้ข้อมูลกับนักวิจัย ข้อมูลที่ได้จึงจะเป็นความจริง และเป็นข้อมูลจริงที่สามารถวิเคราะห์ต่อไปได้
            การประชุมครั้งนี้ต้องขอขอบคุณนักวิจัยทุกท่านที่ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี และขอบคุณเป็นการเฉพาะสำหรับผู้ที่เสนอปัญหาและเสนอแนวทางแก้ไข จนทำให้ผู้เชี่ยวชาญได้ชี้แนะแนวทางอันเป็นประโยชน์แก่ที่ประชุม ความผิดพลาดในการเก็บข้อมูลครั้งแรกจึงมีคุณค่ามากสำหรับการเก็บข้อมูลครั้งต่อไป ความผิดพลาดในครั้งแรกถือว่าเป็นของดีที่ประเมินค่ามิได้เช่นกัน            การนัดหมายครั้งต่อไปคือให้นักวิจัยทุกโครงการส่งเค้าโครงการวิจัยภายในวันที่ 28 พฤศจิกายน 2549 และให้เวลาอีก 3 เดือน ทำความคุ้นเคยและเก็บข้อมูล วัฒนธรรมการผลิตและการบริโภค (รายรับ - รายจ่ายประจำเดือน) นับตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนเป็นต้นไป โดยขอข้อมูลอย่างน้อย 2 เดือน เพื่อประกอบการประชุมในครั้งต่อไป           
หมายเลขบันทึก: 58165เขียนเมื่อ 9 พฤศจิกายน 2006 13:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มีนาคม 2012 22:11 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท