ขับเคลื่อน PLC ที่ สพป. กาฬสินธุ์ เขต 1_20 : ค่ายต้นกล้าแห่งความดี ๓ _ ตัวอย่างกระบวนการ "ฝึกคิด" (เล่าด้วยภาพ)


อ่านบันทึกที่ ๑ ที่นี่

อ่านบันทึกที่ ๒ ที่นี่

ตัวอย่าง กระบวนการ "ฝึกคิด" ที่นำมาเล่าให้ฟังในบันทึกนี้ ออกแบบกิจกรรมโดยนักเรียนกลุ่ม "ฮักนะเชียงยืน" ในความดูแลของคุณครูเพ็ญศรี ใจกล้า และคุณครูสุกัญญา มะลิวัลย์ โรงเรียนเชียงยืนพิทยาคม มีรายละเอียดดังนี้ครับ

๑) ละลายพฤติกรรม


เป็นการทำความรู้จักและสร้างความสนิทสนมคุ้นเคยระหว่างนักเรียนที่มาจากต่างโรงเรียน มีกาสร้างรหัสร่วมกัน เช่น การตบมือเป็นจังหวะและการเรียกรหัสค่าย เมื่อวิทยากรเรียกต้นกล้าPBL เด็กๆ ขานรับด้วยการตบมือเป็นจังหวะ 12-123-123-12-12-1 แล้วเปล่งเสียงพร้อมกันว่าต้อนกล้าPBL เย้! เป็นการเตรียมความพร้อมเข้าสู่กิจกรรม และใช้เรียกสมาธิของเด็กๆให้กลับมาสนใจจุดเดียวกัน นอกจากนี้ยังมีคำสั่งลมเพลมพัด เด็กๆจะขานรับว่าพัดอะไร วิทยากรจะตอบว่าพัดให้....(ตามด้วยคำสั่ง) เช่น พัดให้ทุกคนจัดแถวเป็นวงกลมใหญ่ๆ 1 วง เป็นต้น และเมื่อมีการอธิบายเกมหรือกติกาจะมีคำถามจากวิทยากรว่า "เอ๊ะ!" หรือ "อ๋อ!" ถ้าเข้าใจให้ขานตอบอ๋อ! แต่ถ้ายังมีข้อสงสัยให้ขานรับว่าเอ๊ะ! แล้วพี่เลี้ยงจะอธิบายเพิ่มเติมอีกครั้ง (จับความโดยคุณหมิม CADL)


กิจกรรมแตะอะไรดีหละ วิทยากรลมเพลมพัดให้ทุกคนจัดแถวเป็นวงกลมใหญ่ๆ 1 วง เป็นการเรียกให้เด็กๆตื่นตัวในการร่วมกิจกรรม เริ่มโดยการให้ทุกคนวิ่งเข้ามากลางวงที่วิทยากรยืนอยู่แล้วตะโกนชื่อตนเองดังๆแล้ววิ่งกลับไปเข้าที่ กิจกรรมนี้ทำให้ทุกคนกล้าแสดงออกและกระตุ้นให้ตื่นตัวแล้วจึงเริ่มกิจกรรมแตะอะไรดีล่ะ โดยวิยากรเป็นผู้สั่ง เช่น ให้ไปแตะคนที่ใส่นาฬิกา ให้ไปแตะคนที่ป้ายชื่อสีชมพู ให้ไปแตะมือกลอง เป็นต้น แล้วให้กลับเข้าที่ด้วยความรวดเร็ว ใครเข้าที่ช้าจะถูกลงโทษด้วยการได้รับเส้นวาสนา (ปากกาเมจิกเขียนไปบนแขนโดยพี่เลี้ยง) เป็นกิจกรรมที่สร้างความสนุกสนานและสร้างเงื่อนไขให้ทุกคนกล้าเข้าหาคนที่ยังไม่รู้จักมากขึ้น... (จับกระบวนการโดย หมิม CADL)


กิจกรรมควายแตกคอก วิทยากร สั่งลมเพลมพัดให้ทุกคนจัดกลุ่ม 3 คน คละโรงเรียน และเพศ ให้มีทั้งชาย-หญิงและโรงเรียนไม่ซ้ำกัน สองคนทำหน้าที่เป็นคอกโดยการจับมือกัน ส่วนอีก 1 คน เป็นควายที่อยู่ในคอก เมื่อพร้อมแล้ววิทยากรจะให้สัญญาณ "ควายแตกคอก" ควายจะต้องรีบเปลี่ยนไปอยู่คอกอื่นทันที ใครช้าหรือไม่ยอมย้ายคอกจะถูกทำโทษโดยการได้เส้นวาสนา และเมื่อทุกคนเริ่มคุ้นกับเกมคำสั่งจะเปลี่ยนเป็น "คอกแตกควาย" ให้ควายอยู่กับที่แต่คอกจะต้องยายไปหาควายใหม่ และเมื่อทุกคนเริ่มคุ้นกับคอกแตกควายคำสั่งจะเปลี่ยนเป็น "ระเบิดบูม!!" ทั้งคอกและควายต้องระเบิดออกเพื่อไปจับกลุ่มและเปลี่ยนหน้าที่ใหม่ คือ คนเคยเป็นควายต้องไปเป็นคอก คอกต้องไปเป็นควายหรือจับคู่กับคอกคนใหม่ จะทำให้ทุกคนได้มีส่วนร่วมกับทุกหน้าที่ สร้างความสนุกสนานและได้รู้จักเพื่อนใหม่... (จับความโดย หมิม CADL)

กิจกรรมดอกไม้ 5 กลีบ วิทยากรจะสั่งลมเพลมพัดให้ทุกคนจัดกลุ่ม 5 คน โดยห้ามมีโรงเรียนที่ซ้ำกันอยู่ในกลุ่ม เพื่อนำเข้าสู่กิจกรรมดอกไม้ 5 กลีบ แล้วให้ทุกคนไปใส่ชื่อของคนที่เราอยากรู้จักทั้ง 5 กลีบ แล้วกลับมานั่งที่ในกลุ่มเดิม เพื่อทำกิจกรรมต่อไป โดยแต่ละกลีบมีคำถามเพื่อให้เจ้าของดอกไม้ไปถามทั้ง 5 กลีบของตนเองคือ

กลีบที่ 1 มาจากโรงเรียนอะไร

กลีบที่ 2 อนาคตอยากเป็นอะไร

กลีบที่ 3 ยามว่างชอบทำอะไร

กลีบที่ 4 เราหน้าตาเหมือนดาราคนไหน

กลีบที่ 5 เมื่อเช้าทานอะไร

เมื่อครบทั้ง 5 กลีบ ทุกคนลมเพลมพัดเป็นวงกลมใหญ่ สุ่มถามถึงแต่ละกลีบของแต่ละคน เพื่อทำความรู้จักกันมากขึ้น กิจกรรมละลายพฤติกรรมจะช่วยสร้างบรรยากาศที่เป็นมิตร สร้างความรู้จักคุ้นเคย เกิดความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและส่งเสริมให้ผู้ร่วมกิจกรรมสามารถแสดงความเป็นตัวเองออกมาได้อย่างเปิดเผย... (จับกระบวนการโดย หมิม CADL)

เสียดาย ที่ผมไม่สามารถอยู่สังเกต "กระบวนการ" ของกลุ่ม "ฮักนะเชียงยืน" ได้ เพราะต้องแยกไปร่วมกับเวทีครู .... แต่เรื่องละลายพฤติกรรมของเด็ก คนที่เก่งที่สุดน่าจะเป็นครู ดังนั้นเรื่องนี้จึงไม่ใช่ปัญหาแน่นอน

หลัง จากละลายพฤติกรรม กิจกรรมที่ควรมีคือการ "สร้างกติกา" เพื่อหาข้อตกลงของกลุ่มร่วมกัน เช่น จะไม่ใช้โทรศัพท์ระหว่างกิจกรรม จะไม่เดินออกไปโดยไม่จำเป็น ฯลฯ

๒) ระดมสมอง มองชุมชนของตนเอง

วิทยากรกระบวน การ (กระบวนกร) ออกแบบให้ทุกกลุ่มใช้ ชุมชนสมมติ คือ ให้ใช้จิตนาการว่า เด็กๆ อาศัยอยู่ในดาวดวงหนึ่งในอวกาศ แล้วให้เด็กๆ ช่วยกันวาดแผนที่ชุมชนของคนบนดวงดาวนั้น พร้อมทั้งใช้ดินน้ำมันปั้นแสดง .... เทคนิคนี้นักวิชาการเรียกว่า thinking design หรือพูดอีกแบบคือ "คิดด้วยมือ" ... ผลงานวิจัยชี้ว่าได้ผลดีมาก

๓) กำหนดปัญหา วิเคราะห์สาเหตุและผลกระทบของปัญหา

เพื่อ ให้ได้ "ฝึกคิด" และเรียนรู้ในประเด็นเดียวกัน กระบวนกรจึงใช้ปัญหาสมมติเป็นปัญหาขยะ ให้ใช้ดินน้ำมันทำขยะชนิดต่างๆ วางลงในตำแหน่งที่เด็กๆ จินตนาการว่าเป็นปัญหา เช่น ตลาด ฯลฯ ใช้ปากกาเขียนสาเหตุและผลกระทบลงในกระดาษ post-it แล้วติดลงในบริเวณปัญหานั้น

๔) ออกแบบวิธีแก้ไขหรือกิจกรรมที่จะทำ ด้วยการวาด ๕ ภาพเรื่องราวของเรา

(อันนี้ทีมงาน ทีมงานต้องปรับปรุง ที่ไม่ได้เก็บ ๕ ภาพของเด็กๆ ไว้แยกต่างหากครับ ขออภัย)

๕) สะท้อน ป้อนกลับ นำเสนอผลงาน

จัด "ตลาดนัด" ให้นักเรียนทุกคนได้นำเสนอต่อเพื่อนและครู

หมายเลขบันทึก: 581626เขียนเมื่อ 3 ธันวาคม 2014 22:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 ธันวาคม 2014 23:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

อยากไปร่วมจังคะ ไม่ได้ไปร่วมงานนานมากแล้ว โดยเฉพาะเด็กประถมน่าทำกิจกรรม ส่งกำลังใจช่วยทีมนะคะ แสนและสมาชิกพร้อมทีมกระบวนกรเยี่ยมทุกคนคะ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท