เรื่องเล่า "ที่มาที่ไป..ความประทับใจของคนภาคการศึกษา" (ตอนจบ)


ขุมทรัพย์ในตน (The Treasure with in) ทุกคนมีขุมทรัพย์ในตน ทุกคนมีคุณค่า

ตอนที่ 3

          <p>          "ขอยกตัวอย่างอันหนึ่ง โรงเรียนเล็กๆ โรงเรียนบ้านควรสะเม็ด  ต.ปริก อ.สะเดา จ. สงขลา และโรงเรียนอีกแห่งที่ อ.ปาย จ.แม่ฮ่องสอน ที่ใช้เวลาในการเดินทางถึงโรงเรียนประมาณ 3 ชม.   ถึงแม้จะเดินทางลำบากแต่เมื่อไปพบและพูดคุยกับครูเหล่านั้น  ดิฉันมีความรู้สึกว่าเยี่ยมมาก หรือแม้แต่โรงเรียนบ้านเมืองแปง จ.แม่ฮ่องสอน   เพียงแค่เค้าดูแค่ VCD รพ.บ้านตาก  แล้วครูเหล่านั้นสะท้อนความคิดได้ดี     จากการที่ รศ. ดร. กุญชลี ค้าขาย (ทีมนักวิจัยโครงการฯ) ถามครูเหล่านั้นว่า  ดู VCD รพ.บ้านตากแล้วเป็นอย่างไร”  “100 % เข้าใจ concept พูดได้ชัดกว่าเราอีก  แค่ดู VCD เท่านั้นเอง  เพราะไม่ได้ลง workshop กับเรา เราworkshop ครู 1 คน ผอ. 1 คน แล้วเค้าไปขยายต่อเอง  ขอบอกไว้เลยว่า VCD รพ.บ้านตากมี impact มาก แล้วจากเหนือแม่ฮ่องสอน ลงมายะลา อ.สะเดา อ.สะบ้าย้อย ตะลอนๆ จนถึง อ.จะนะ จ. สงขลา พื้นที่สีเหลืองแก่ เหลืองอ่อน  เค้ากลับไปดู VCD เสียงกู่จากครูใหญ่ แล้วเค้าเรียนรู้เรื่อง KM     ครูน้อยทั้งหลายแล้วสรุปได้ดีมาก   ดีกว่าคนไป workshop เสียอีก   </p>

          ดิฉันไป check แล้ว  เค้าไม่มาฟังเราพูดมาก เค้าดู pure ” และที่เราไปพบแล้วไม่คิดว่าเค้าจะทำคือ โรงเรียนบ้านควรเสม็ด  เค้าเปิด VCD รพ.บ้านตากให้ครู 11 คน หลังจากดู VCD รพ.บ้านตาก  แล้วทุกคนก็มาเล่าว่า ในชีวิตการเป็นครู ประสบความสำเร็จอะไร ที่ครูภูมิใจ ให้เล่าอิสระ   มันก็บังคับการเป็นครูเรื่องการเรียนการสอน ทุกคนก็เล่า เขียนขุมความรู้ แต่เค้าสกัดรอบแรก เค้าเอามาเพื่อหาหัวปลาย่อย เอ้อ !!!พี่ไม่ได้คิดว่าเค้าทำอย่างนี้ ”  เค้าเอาเรื่องทั้งหมดมา  แล้วมาสกัดหัวปลาย่อยที่เค้าจะกลับไปเจาะลึก มาเน้น How to?   แล้วได้ 17 ประเด็น พี่ก็เป็นห่วง ผอ. 17 ประเด็น เค้าบอกให้ตนไม่ต้องห่วง  เพราะเขามีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันจนชินเริ่มต้นอันดับแรกคือ ฝึกสมาธิเด็ก  ทำอย่างไรให้เด็กมีสมาธิ เพราะตอนนี้เด็กเริ่มมีความกลัว แม้จะเป็นสงขลา เพราะเขตพื้นที่ชายแดน อ.จะนะ อ.สะบ้าย้อย  จ. สงขลา  แล้วประเด็นต่อไปคือ การคิดวิเคราะห์ เพราะนี่คือจุดอ่อน  เนี้ยะ เค้ามีประเด็นตรงนี้ แล้วไปนั่งถามว่า ถ้าจะสอนหรือจะเรียนให้เด็กคิดวิเคราะห์ทำอย่างไร ครูทำอะไรดีแล้วมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ กันได้ตั้ง 17 เรื่อง  หัวปลาย่อย    ตนได้ถาม ผอ. ไม่กลัวว่าเราติดตามแล้วทำไม่ได้   โอ้ไม่เป็นไร เพราะมันเป็นเรื่องที่ต้องทำอยู่  เออ...เราไม่ได้คิดเลยนะว่า....เค้าเอาเรื่องเล่าครั้งแรกของเค้ามาเนี้ยะ  เค้ายังไม่เอามาสกัดขุมความรู้หรือทำตารางแห่งอิสรภาพ แต่เค้ามา classify  ไอ้ 5 ดาว เนี้ยะ ว่า 2 ดาวขอเรื่องนี้ทำดีกับดีพอใช้แล้ว  ให้น้ำหนักเป็น last priority  แต่อันที่ยังแย่อยู่เนี้ยะ เป็นเรื่องเร่งด่วน เออ..อันนี้เราคิดไม่เป็น เอ้อ!!! เค้าคิดได้

          และที่ชอบมากๆ อีกโรงเรียนคือ โรงเรียนจะนะชนูปถัมภ์ จ. สงขลา  ได้รับทุนจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิต ทำเรื่องอนุรักษ์ คลองป่า     โรงเรียนทำงานร่วมกับชาวบ้าน แต่โรงเรียนก็จัดให้ทำเรื่องอนุรักษ์ คลอง ป่า โดยมีการเรียนการสอนแบบบูรณาการแก่เด็ก และได้ทำมา 2 ปีแล้ว  แต่ไม่ได้ทบทวนองค์ความรู้เลย ไม่ได้มาวิเคราะห์ สังเคราะห์ เลยว่า ครูคิดอย่างไร  ครูมีเคล็ดลับอะไรที่ทำงานกับชาวบ้านได้ดี ครูดึงเด็กมาทำกับชาวบ้านได้ ตรงนี้คือประเด็น เค้าไปคิดเอง เค้าบอกว่าจะเริ่มทำจากหางปลา เพราะเค้าทำไปแล้ว หัวกับพุงยังไม่ได้ทำ เค้ามาทำพุงปลาคือมา  share & learn แล้วหลังจากนั้นจะมาทำคลังความรู้  เนี้ยะวิธีคิด  2 ตัวอย่าง จะเห็นว่า เรา workshop 3 วัน แล้วเราโชคดีมากๆ คือมี  VCD รพ. บ้านตาก    VCD เสียงกู่กับครูใหญ่  ซึ่งออกมาในจังหวะที่ดี    ดิฉันว่าโครงการฯ มีความโชคดีมากๆ 1. ได้รับการสนับสนุนด้านกระบวนการจาก สคส.  2. สื่อที่เกิดขึ้นออกมาในช่วงจังหวะที่เหมาะสมมาก

            เราคิดว่าเราจะต้องทำ VCD ของโรงเรียนและ  VCD ของเขตพื้นที่การศึกษา ให้เหมือนกับ VCD รพ.บ้านตากของ สคส.  และพยายามชี้ให้เห็นว่าข้อเท็จจริง เพราะมี Risibility Study สรุปว่าจะได้ นโยบายแห่งชาติ แต่ว่าในระดับปฏิบัติจะได้เยอะแยะ

          แล้วพบว่าถูกกับจริตของคนในวงการศึกษา  ครูเนี้ยะอ่านน้อย  แต่ถ้าเห็นด้วยตา แล้วที่เค้าปิ้งวิธีการทำงานของพยาบาล ใน VCD รพ. บ้านตาก ด้วยการนำไปประยุกต์กับการทำงาน เช่นเดียวกัน เค้านำแนวความคิดเอาไปประยุกต์ในโรงเรียน    ตัวอย่างโรงเรียนจะนะชนูปถัมภ์ จ. สงขลา  ผอ. โรงเรียนจะนะชนูปถัมภ์ มีจินตนาการ   ท่านตั้งทีมแกนนำ โดยนำครูวัยรุ่น  ไม่เอาหัวหน้า ไม่เอาตามโครงสร้าง แล้วตั้งชื่อทีมว่า  คุณจินตนาการ มี 8 คน และคนเหล่านี้นี่เองที่คิดสร้างสรรค์ แล้วนำแนวคิดต่างๆ มาปรึกษาหารือกับผอ.    "อืม!!!เข้าท่าดี"

           ผอ. โรงเรียนจะนะชินูปถัมภ์ จ. สงขลา ได้ดู VCD รพ.บ้านตาก แล้วบอกกับทีมติดตามนิเทศว่า ในโรงเรียนผมมีปัญหาว่า ครูในโรงเรียนมีอายุเฉลี่ย  45 อยากจะช่วยครูจำชื่อเด็ก วิธีจำ ก็มีครูอยู่คนหนึ่งในโรงเรียน เก่งมาก มีเคล็ดลับในการจำชื่อเด็ก  เออ สอนหน่อย  จะเอาครูคนนี้มาสอน เค้าบอกว่า คุยสบายๆ ไม่รู้ตัว   และมาแชร์ ดังนั้นทุกคนก็จะมองหาจุดเด่นของครู  แล้วก็ดึงมา ซึ่งเดิมเค้าไม่มีเวลาทำแน่นอน  หัวฟู ไม่มีเวลาที่จะมาคิด และอย่าไปพูด Tacit Knowledge  มันไม่ประทับใจ   ต้องบอกว่า ขุมทรัพย์ทางปัญญา เอามาจากคำของยูเนสโก้  The Treasure with in  ขุมทรัพย์ในตน ตรงนี้มันก็สื่อ   ซึ่งทุกคน มีขุมทรัพย์ในตน  ทุกคนมีคุณค่า 

 ..............................................................................................

</span></font></span><p>ตอนที่ 1  ตอนที่ 2</p>

หมายเลขบันทึก: 58121เขียนเมื่อ 9 พฤศจิกายน 2006 11:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:37 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
  • ติดตามอ่านเรื่องนี้มาจนครบทุกตอนแล้วค่ะ
  • รู้สึกชื่นชมทุกโรงเรียนจริง ๆ ค่ะ
  • และลุ้นเรื่อง VCD ของโรงเรียน และ เขตพื้นที่ฯ เป็นสื่อที่โดนใจมากเลยค่ะ
  • ขอบคุณคุณจ๋ามากค่ะที่กรุณาถอดเทปมาบอกเล่ากัน ทำให้กระตุ้นความคิดของตัวเองในการพัฒนาโรงเรียนได้หลายประเด็นเลยค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท