beeman 吴联乐
นาย สมลักษณ์ (ลักษณวงศ์) วงศ์สมาโนดน์

​โครงการ "Teaching in the University Context : ครูเพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21 ครั้งที่ 1"


ท่านรองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร. รสริน ว่องวิไลรัตน์ มีดำริให้จัดโครงการ ดังนี้ (ข้อมูลจาก นางสาวชญาพันธุ์ สุธร-บาส-งานสนับสนุนวิชาการ กองบริการการศึกษา มหาวิทยาลัยนเรศวร-ขอขอบคุณ)

โครงการ "Teaching in the University Context : ครูเพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21 ครั้งที่ 1" <Link>

หลักการและเหตุผล

มหาวิทยาลัยนเรศวรเป็นมหาวิทยาลัยหลักที่รับผิดชอบในการผลิตบัณฑิตในสาขาวิชาต่างๆ โดยเฉพาะระดับปริญญาตรี โทและเอก ในเขตพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง ประกอบด้วย จังหวัดพิษณุโลก พิจิตร อุตรดิตถ์ เพชรบูรณ์ สุโขทัย ตาก กำแพงเพชร นครสวรรค์ และอุทัยธานี คุณภาพบัณฑิตของมหาวิทยาลัยนเรศวรที่ผลิตออกไปรับใช้สังคมในภาคส่วนต่างๆ ถูกกำหนดด้วยปัจจัยสำคัญหลายด้าน เช่น คุณลักษณะประจำตัวของนิสิต สภาพแวดล้อมด้านต่างๆ ที่เอื้ออำนวยต่อการเรียนการสอน และการพัฒนาตนเองของนิสิต รวมถึงคุณภาพของคณาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยที่ทำหน้าที่ในกระบวนการเรียนการสอนเพื่อผลิตบัณฑิตคุณภาพ

คณาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยที่รับผิดชอบในการดำเนินการเรียนการสอนในระดับต่างๆ มีบทบาทสำคัญในกระบวนการผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ เมื่อองค์ความรู้ของโลกขยายขอบเขตเพิ่มพูนขึ้นแบบเท่าทวีคูณ กอปรกับประสิทธิภาพของเทคโนโลยีที่ทำให้ผู้คนสามารถเข้าถึงความรู้เหล่านั้นด้วยระยะเวลาอันสั้น ทำให้หลายคนเชื่อว่า "ครู" กลายเป็นอาชีพที่อาจหมดความสำคัญลงในระยะเวลาอันใกล้ อย่างไรก็ตามผู้บริหารมหาวิทยาลัยนเรศวรเชื่อและมั่นใจว่า ยิ่งองค์ความรู้และประสิทธิภาพของเทคโนโลยีได้รับการพัฒนามากขึ้นเท่าใด ความจำเป็นในการมี "ครูที่ทำหน้าที่เพื่อศิษย์" ย่อมมีมากขึ้นเท่าทวีคูณหลายเท่าตัว ดังนั้นการปรับกระบวนทัศน์ของคณาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยนเรศวรที่มีบทบาทหรือภารกิจหลักในการเรียนการสอน จากครูผู้สอน (teacher) มาเป็นครูที่ทำหน้าที่เป็นผู้ฝึก (coach) และผู้อำนวยการเรียนรู้ (learning facilitator) จึงมีความสำคัญและจำเป็นยิ่งต่อการสร้างบัณฑิตของมหาวิทยาลัยนเรศวร โครงการ "Teaching in the University Context : ครูเพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21 ครั้งที่1" จึงถูกออกแบบเพื่อให้สอดรับวัตถุประสงค์ในการพัฒนากระบวนการเรียนการสอนของคณาจารย์มหาวิทยาลัยนเรศวร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง key word ที่สำคัญในการเรียนการสอนในบริบทของมหาวิทยาลัย คือ

  • 1.การเป็นครูเพื่อศิษย์ (Teacher for students)
  • 2.การคิดเชิงวิเคราะห์ (Analytical thinking)
  • 3.การสร้างสรรค์นวัตกรรม (Imagination and Innovation)
  • 4.การเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning)
  • 5.ความเป็นสากล (Internationalization)

จากหลักการที่สำคัญในการเรียนการสอนในบริบทของมหาวิทยาลัย 5 ด้าน นำสู่กลยุทธ์และแนววิธีการปฏิบัติในการจัดการเรียนการสอนที่มีการบูรณาการองค์ความรู้ด้านต่างๆ เพื่อปรับใช้ให้เหมาะกับศาสตร์หรือวิชาที่คณาจารย์แต่ละท่านรับผิดชอบในหลักสูตรต่างๆของมหาวิทยาลัย โดยมุ่งผลสัมฤทธิ์ให้เกิดแก่นิสิตของมหาวิทยาลัยนเรศวร มุ่งสร้างให้นิสิตมี อัตลักษณ์ที่ดี ตรงตามความต้องการในการผลิตบัณฑิตของมหาวิทยาลัยเพื่อรับใช้สังคม คือ เก่งงาน เก่งคน เก่งคิด เก่งครองชีวิต และเก่งพิชิตปัญหา อันเป็นผลมาจากการปรับกระบวนทัศน์ในการเรียนการสอนของคณาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยนเรศวร ที่มุ่งสร้างและพัฒนาให้นิสิตมีจินตนาการความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ (imagination) ร่วมกับการนำองค์ความรู้ที่ได้จากการเรียนการสอนในหลักสูตรต่างๆ ของมหาวิทยาลัยมาใช้ เพื่อสร้างนวัตกรรม (innovation) ด้านต่างๆ ทั้งนวัตกรรมการเรียนรู้ นวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ นวัตกรรมด้านการปฏิบัติงาน และนวัตกรรมด้านอื่นๆ เพื่อรับใช้และเป็นประโยชน์ต่อสังคมส่วนรวมของประเทศ

วัตถุประสงค์

เพื่อให้คณาจารย์มหาวิทยาลัยนเรศวรรู้ เข้าใจ การเรียนการสอนในบริบทของมหาวิทยาลัย 5 ด้าน คือ การเป็นครูเพื่อศิษย์ (Teacher for students) การคิดเชิงวิเคราะห์ (Analytical thinking) การสร้างสรรค์นวัตกรรม (Imagination and Innovation) การเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning) และความเป็นสากล (Internationalization) เพื่อสร้างนิสิตมหาวิทยาลัยนเรศวร ให้มี อัตลักษณ์ทั้ง 5 ก คือ เก่งงาน เก่งคน เก่งคิด เก่งครองชีวิตและเก่งพิชิตปัญหา กอปรกับมีจินตนาการและความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ เพื่อสร้างนวัตกรรมด้านต่างๆ นำสู่การพัฒนาให้มหาวิทยาลัยนเรศวรเป็นมหาวิทยาลัยแห่งนวัตกรรม

เป้าหมายของโครงการ

เป้าหมาย

จำนวน

หน่วยนับ

จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการจำนวนทั้งสิ้น

532

คน

กิจกรรมที่ 1

260

คน

- บุคลากรสายวิชาการ

250

คน

- บุคลากรสายสนับสนุน

10

คน

กิจกรรมที่ 2

146

คน

1. กลุ่มมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

43

คน

- บุคลากรสายวิชาการ

33

คน

- บุคลากรสายสนับสนุน

10

คน

2. กลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพ

59

คน

- บุคลากรสายวิชาการ

49

คน

- บุคลากรสายสนับสนุน

10

คน

3. กลุ่มวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

44

คน

- บุคลากรสายวิชาการ

34

คน

- บุคลากรสายสนับสนุน

10

คน

กิจกรรมที่ 3

126

คน

- บุคลากรสายวิชาการ

116

คน

- บุคลากรสายสนับสนุน

10

คน

กิจกรรม/เนื้อหาที่จะดำเนินการ

1) กิจกรรมที่ 1 : จัดการบรรยายและอภิปรายในหัวข้อ ดังนี้

- ครูเพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21

- การปรับกระบวนทัศน์ (Paradigm) ของครูเพื่อสร้างศิษย์ในศตวรรษที่ 21 ที่มี Analytical thinking, Imaginative – Innovative Characters, Lifelong Learning, Internationalization

- กระบวนการเรียนการสอนเพื่อสร้างครูเพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21

2) กิจกรรมที่ 2 : จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของผู้ที่ผ่านกิจกรรมที่ 1 โดยแยกเป็น 3 รุ่น ตามกลุ่มสาขาวิชา

3) กิจกรรมที่ 3 : จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และนำเสนอผลงานการจัดการเรียนการสอนของผู้ที่ผ่านกิจกรรมที่ 2


บีแมนนำโครงการมาลงไว้ เพื่อติดตามผลการดำเนินโครงการต่อไป....ผู้เข้าร่วมโครงการนี้จะผ่านการประกวด ๓ รอบ...

  • รอบ ๑ ฟังบรรยาย จำนวน ๒๖๐ คน....
  • รอบ ๒ จาก ๒๖๐ คน แยกไปตาม Cluster เป็นภาคปฏิบัติ ที่มีการแชร์ประสบการณ์และลปรร.ร่วมกัน
  • รอบ ๓ เป็นรอบ่ของการส่งผลงาน-การจัดการเรียนการสอน-เข้าร่วมประกวด..ผมคาดเดาว่า อาจจะได้ "ครูเพื่อศิษย์" รุ่นแรกของม.นเรศวร สัก ๑๐ % ของผู้ที่ไปฟังบรรยาย. จำนวน ๒๖ คน..ถ้าเป็นดังนี้ผมคิดว่าโครงการนี้ประสบความสำเร็จอย่างยิ่งใหญ่แล้วครับ...(ได้เทอมละ ๒๖ คน ถือว่าไม่ขี้เหร่นะครับ)

หมายเลขบันทึก: 580709เขียนเมื่อ 18 พฤศจิกายน 2014 19:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 ธันวาคม 2014 15:51 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท