ดูงานรายวิชาศึกษาทั่วไป _ ๐๑ : ม.ธรรมศาสตร์ "ธรรมศาสตร์เพื่อประชาชน" (๑)


วันที่ ๑๒-๑๓ พ.ย. ๒๕๕๗ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัด"มหกรรม" "ธรรมศาสตร์วิชาการเพื่อประชาชน" ที่ศูนย์ประชุมธรรมศาสตร์ รังสิต และเชิญตัวแทนจากมหาวิทยาลัยทั่วประเทศเข้าร่วมศึกษาดูงาน การจัดการเรียนรู้โดยการบริการสังคม (Service Learning) โดยระบุหนังสือเชิญว่า "...เพื่อแสดงผลงานทางวิชาการการเรียนการสอนและการวิจัย ของนักศึกษาและอาจารย์ ที่เป็นการใช้ความรู้แก้ปัญหาให้กับประชาชน..." โดยกลุ่มเป้าหมายหลายกลุ่ม ทั้งนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชา "พลเมืองกับความรับผิดชอบต่อสังคม" (หรือ TU100) กว่า ๔,๐๐๐ คน ประชาชนทั่วไป และนักเรียนชั้นมัธยมปลายในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัดที่รับเชิญ (เดินทาง) มาจากทั่วประเทศ


เหตุที่ผมใช้คำว่า "มหกรรม" ไม่ใช่เพราะงานที่จัดอย่างยิ่งใหญ่ แต่เป็นเพราะหลังจากมาดูงานแล้วพบว่า ม.ธรรมศาสตร์ขับเคลื่อนเรื่องนี้อย่างจริงจัง ต่อเนื่อง บูรณาการ เชื่อมโยง เป็นองค์รวมในการพัฒนานักศึกษา... ผมพบตัวอย่างของ "๓ เชื่อม" ของการบูรณการระหว่างรายวิชาศึกษาทั่วไป กิจกรรมพัฒนานิสิต และการดำเนินชีวิตจริงๆ ซึ่งผมเองเคยนำเสนอบนเวทีสัมมนาเครือข่ายศึกษาทั่วไปภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ดังภาพด้านล่าง

เมื่อพิจารณาเค้าโครงร่างการเรียนของรายวิชา TU100 (ดาวโหลด ที่นี่ หรือดูคำอธิบายรายวิชาที่นี่) จะเห็นชัดว่า เป็นรายวิชาที่เรียนแบบ Active Learning ร่วมกับกิจกรรมพัฒนาด้วยการพาลงพื้นที่สัมผัสปัญหาจริงในชีวิต และเน้น Learning by Doing โดยการแบ่งกลุ่มให้ช่วยกันแก้ปัญหาของสังคมและชุมชนทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย... จึงถือได้ว่าเป็นตัวอย่างของ "ความเชื่อมโยง" แบบ "๓ เชื่อม" ที่ผมกล่าวถึง


ศูนย์กลางของาน "ธรรมศาสตร์เพื่อประชาชน" อยู่ที่ศูนย์ประชุมธรรมศาสตร์และกระจายไปอีก ๓ Pavilion แยกออกไปจัดไว้ในแต่ละอาคาร ได้แก่ Health Science Paviliion จัดไว้ใกล้คณะแพทย์และโรงพยาบาล อาคารปาริชาติ Science and Technology Pavilion จัดไว้ในอาคาร บร.๔ ที่เป็นศูนย์รวมของคณะสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และ Social Science Pavilion จัดไว้ใต้อาคารคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ โดยมีรถเมล์ NGV ให้บริการฟรีตลอดวัน













(ดูรูปทั้งหมดได้ ที่นี่)


ผศ.ดร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล รองอธิการบดีฝ่ายการนักศึกษาและการเรียนรู้ ซึ่งเป็นผู้บุกเบิกและดำเนินการงานนี้ บอกว่า "...ไฮไลต์ของงานนี้คือ การแสดงผลงานโครงงานวิชาพลเมืองกับความรับผิดชอบต่อสังคม (TU100) จำนวน ๑๘๐ โครงงาน และการแสดงผลงานจากโครงงานการเรียนการสอนโดยบริการสังคม (Service Learning)... " หลังจากการศึกษาดูงานทั้งหมดที่จัดไว้อย่างยิ่งใหญ่ทั่วทั้งมหาวิทยาลัย ผมพบว่าสิ่งที่เป็นปัจจัยของความสำเร็จจริงๆ นอกจากวิสัยทัศน์ของผู้นำแล้ว น่าจะเป็นระบบและกลไกการขับเคลื่อนที่เป็นเอกภาพมาก คือ ทุกสาขาวิชาได้นำเอาผลงานทั้งของนักศึกษาและอาจารย์ที่ถือได้ว่าประชาชนได้ประโยชน์ ออกมาแสดงและนำเสนออย่างคึกคักตลอดวัน (ผมไปเยี่ยมแต่ละ Pavilion ในช่วงก่อนเที่ยงวันที่สอง)

จากการสังเกตและสอบถามกับหลากหลายแหล่งตอบ ผมตีความว่า สิ่งที่ทำให้สำเร็จยิ่งใหญ่ คือปัจจัยดังต่อไปนี้

  • วิสัยทัศน์ของผู้บริหารมหาวิทยาลัย และความเข้าใจกระบวนการเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑ ที่มุ่ง "ปรับวิธีเรียน เปลี่ยนวิธีสอน" เป็นแบบ Active Learning
  • ยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนนโยบายอย่างบูรณาการ ทั้งจากห้องเรียนโดยใช้รายวิชาศึกษาทั่วไป จากฝ่ายการนักศึกษาคือใช้งบประมาณในกิจการพัฒนานักศึกษา และใช้ปัญหาจริงของชุมชนและสังคม ทั้งที่ลงไปหนุนโดยตรงผ่านโครงการให้กับอาจารย์จากคณะต่างๆ มีการสนับสนุนทุนสำหรับการทำโครงงานของนิสิตรายวิชา TU100 (ภายในมหาวิทยาลัย ๒,๐๐๐ บาท ภายนอกมหาวิทยาลัย ๔,๐๐๐ บาท) และขอความร่วมมือจากแต่ละคณะวิชาสาขา
  • การขับเคลื่อนโดยใช้มิติจากภายใน (ให้ระเบิดจากภายใน) มีการกำหนดค่านิยมร่วม (Share valued) เช่น ปลูกฝังผ่านคำนิยม..."ฉันรักธรรมศาสตร์ เพราะธรรมศาสตร์สอนให้ฉันรักประชาชน"


๖๖๖๖๖๖๖๖๖๖๖๖๖๖๖๖๖๖๖๖๖๖๖๖๖๖๖๖๖๖๖๖๖๖๖๖๖๖๖๖๖๖๖๖๖๖๖๖๖๖๖๖๖๖๖๖๖๖๖๖๖๖๖๖

บันทึกต่อไป ค่อยมาว่าเรื่องผลงานอะไรที่ทำให้นักศึกษาได้เรียนรู้แบบสนุกและมีความสุขนะครับ




หมายเลขบันทึก: 580598เขียนเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2014 02:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2014 02:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท