พลังและบทเรียน...นักวิชาการมหาวิทยาลัยเพื่อชุมชน


จุดเริ่ม ...มหาวิทยาลัยเพื่อชุมชน (ตอนที่ ๑)


พันธกิจของมหาวิทยาลัยคือการเป็นมหาวิทยาลัยของชุมชนท้องถิ่น ทำหน้าที่บริการวิชาการ เอื้อกระบวนการเรียนรู้ให้กับสังคม และจุดมุ่งหมายของงานวิชาการที่เรียกว่า "งานวิจัย" ที่นักวิชาการใช้เป็นเครื่องมือสร้างความรู้ให้กับชุมชน ก็ต้องตอบโจทย์การพัฒนาท้องถิ่น หนุนเสริมต้นทุนเดิมของท้องถิ่นให้พัฒนายกระดับอย่างยั่งยืน

โครงการพัฒนาระบบและกลไกสนับสนุนวิชาการเพื่อพัฒนาจังหวัดต้นแบบเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น จังหวัดอุตรดิตถ์ ซึ่งเป็นโครงการวิจัยที่มุ่งเน้นการพัฒนาแบบมีส่วนร่วม ก็เป็นช่องทางที่นักวิชาการในระดับมหาวิทยาลัยได้ใช้ศักยภาพ ความเชี่ยวชาญลงไปตอบโจทย์พันธกิจของมหาวิทยาลัย ส่วนการเข้าไปในชุมชนอย่างไรนั้น ถือว่าเป็นความท้าทายอย่างยิ่งเพราะการพัฒนาชุมชนที่มุ่งเน้นความยั่งยืน ต้องการการมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง

ด้วยภารกิจของโครงการดังกล่าว ทีมนักวิชาการจึงต้องมานั่งขบคิด เปิดเวทีเล็กๆ เพื่อ "ขึ้นรูป" ถอดเนื้อหา ออกแบบกระบวนการ หาช่องทางกลไกที่เหมาะสมกับบทบาทการทำหน้าที่นักวิชาการเพื่อชุมชน ผ่านวัตถุประสงค์ของโครงการฯ ได้แก่ ประเมินสถานภาพองค์ความรู้สุขภาวะ และสถานการณ์ปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อมของเด็กและเยาวชนในพื้นที่การพัฒนาต้นแบบการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่น จังหวัดอุตรดิตถ์ เกิดการพัฒนากลไกและระบบสนับสนุนวิชาการของมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ และภาคีเครือข่าย ให้สามารถยกระดับนวัตกรรมองค์ความรู้ ด้านการพัฒนาสุขภาวะเด็กและเยาวชนให้เป็นแหล่งเรียนรู้ต้นแบบ การใช้การจัดการความรู้(Knowledge management) เป็นเครื่องมือในการสร้าง-ใช้-ถ่ายทอด และเก็บ ความรู้ การติดตามหนุนเสริมวิชาการให้กับชุมชนและโครงการย่อยที่ดำเนินการอยู่ในพื้นที่ใช้กระบวนการสังเคราะห์ข้อมูลเพื่อให้ได้ "ชุดความรู้" เพื่อส่งต่อชุดความรู้นั้นเป็นข้อมูลเพื่อการตัดสินใจ สร้างความเข้มแข็งเชิง บูรณาการงานวิชาการให้กับโครงการ ๕ โครงการที่ดำเนินการภายใต้ชุดโครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่น

จากเป้าหมาย สู่การออกแบบทีมงาน

โจทย์ต่อไปคือ จะออกแบบการบริหารจัดการทีมงานอย่างไร? เพื่อให้กระบวนการวิจัยและพัฒนาในพื้นที่ ๕ พื้นที่หลักที่เป็นพื้นที่ต้นแบบที่ถูกคัดเลือกจากโครงการท่าเหนือเมืองน่าอยู่ ให้เกิดกระบวนการเรียนต่อเนื่อง ได้แก่ พื้นที่เทศบาลตำบลท่าปลา,เทศบาลตำบลท่าเสด็จ,เทศบาลตำบลบ้านแก่ง,เทศบาลตำบลชัยจุมพล และ เทศบาลเมือง การออกแบบทีมงานโดยมีคณาจารย์ภาควิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพทั้งหมด ๒๐ คน มาเป็นผู้รับผิดชอบพื้นที่ โดยให้อาจารย์ในโปรแกรมสาธารณสุขศาสตร์ เป็นหลักในแต่ละพื้นที่เพราะถือว่ามีศักยภาพผ่านประสบการณ์การทำงานกับชุมชนมาระดับหนึ่ง ส่วนอาจารย์คนอื่นที่จะถูกเลือกเข้าไปในแต่ละพื้นที่ก็ดูว่าอาจารย์ท่านนั้นมีต้นทุนเดิมที่สอดคล้องกับพื้นที่อย่างไร เช่น เคยทำงานร่วมกับพื้นที่นั้นมาก่อน มีประเด็นที่พื้นที่กำลังขับเคลื่อนและสอดคล้องกับศักยภาพของอาจารย์ โดยใน ๕ พื้นที่เฉลี่ยมีอาจารย์ผู้รับผิดชอบพื้นที่ ๒-๓ คนต่อพื้นที่ และมีผู้จัดการโครงการ ๓ คนคือ อ.ดร.ศรัณยู เรือนจันทร์ รศ.จักรกฤษณ์ พิญญาพงษ์ และอ.ดรยุพิน เรือนศรี จากคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ เป็นผู้ดูแลโครงการในภาพรวม

ออกแบบทีมงาน...ปรับจูนความคิด

เวทีของทีมนักวิชาการที่เป็นอาจารย์กลุ่มใหญ่ นั่งพูดคุยทบทวนเกี่ยวกับ บทบาทและภารกิจที่จะต้องลงไปในพื้นที่ เป็นเวทีเล็กๆที่ต้องปรับจูนให้วิธีคิดตรงกัน โดยใช้ยุทธศาสตร์ในการดำเนินงาน ที่ต้องการให้เกิดความร่วมมือการทำงานของสถาบันการศึกษา หน่วยบริการสุขภาพ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคประชาสังคม และNGOsในพื้นที่ ในการป้องกันเด็กและเยาวชนที่เกิดความไม่พร้อมของการตั้งครรภ์ และมีระบบบริการที่เป็นมิตรให้บริการอย่างทั่วถึง กำหนดเป้าหมาย ตัวชี้วัด ใช้รูปแบบการบูรณาการการมีส่วนร่วมเป็นหัวใจสำคัญ แนวทางการทำงานที่ให้ความสำคัญต่อศักยภาพอันเกิดจากต้นทุนเดิมของท้องถิ่นเป็นตัวตั้งต้นนำไปสู่กิจกรรมเพื่อการพัฒนา โดยอาจารย์ผู้รับผิดชอบแต่ละพื้นที่เป็นผู้เอื้อกระบวนการเรียนรู้ (Facilitator) แต่ละภารกิจสอดคล้องกับวัตถุประสงค์หลักของโครงการฯ จากนั้นทีมอาจารย์ได้ลงไปในพื้นที่ที่รับผิดชอบ สร้างกระบวนการเรียนรู้ตามบริบทของพื้นที่ เปิดเวทีพูดคุยในกลุ่มอาจารย์ทั้งเป็นทางการและไม่เป็นทางการตลอดเวลา รูปแบบการทำงานแบบร่วมด้วยช่วยกัน คือ ทั้ง ๕ พื้นที่นอกจากอาจารย์ที่เป็นเจ้าภาพแต่ละพื้นที่จะเป็นผู้สร้างกระบวนการเรียนรู้หลักแล้ว ยังมีเพื่อนอาจารย์อีก ๔ พื้นที่มาช่วยกันในการเปิดเวทีสำคัญๆในแต่ละครั้ง ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนจนครบ ๕ พื้นที่ กระบวนการเรียนรู้ของทีมอาจารย์ในการรู้จักชุมชน เรียนรู้จากการทำงาน ยิ่งทำให้ผลลัพธ์ที่คาดหวังตามตัวชี้วัดมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลมากขึ้น

....


ถอดบทเรียน....โครงการพัฒนาระบบและกลไกสนับสนุนวิชาการเพื่อพัฒนาจังหวัดต้นแบบเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น จังหวัดอุตรดิตถ์


จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร

๑๑/๑๑/๕๗

หมายเลขบันทึก: 580199เขียนเมื่อ 11 พฤศจิกายน 2014 08:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 พฤศจิกายน 2014 08:26 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

เป็นเรื่องที่ดี มีคุณค่า ขอให้บรรลุสู่เป้าประสงค์ที่กำหนดไว้นะจ๊ะ

สวัสดีค่ะน้องเอก

ดีใจนะคะที่ได้อ่านบันทึกที่มีคุณค่าอีกครั้ง หนนี้ไปจับงานเพศศึกษาที่น่าสนใจ(แต่ทำยาก) ขอสนับสนุนการทำงานให้ประสบความสำเร็จ

ตอนนี้เป็นอย่างไรบ้าง งานคงเยอะเหมือนเดิม สอนหนังสือที่นี่หรือคะ

ไม่ได้สอนหนังสือที่นี่ครับ พอดีมารับเป็นคนสะท้อนบทเรียนให้กลุ่มอาจารย์ที่นี่ ในมุมคนนอกครับผม

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท