เอามะพร้าวมาขายสวน : การเลือกเรื่องและการกำหนดปัญหาการวิจัย


ผมไม่ค่อยอยากเขียนเพราะอะไรเหรอครับ! เพราะกลัวว่าจะเอามะพร้าวมาขายสวน แต่เมื่อได้เขียนบันทึกเรื่อง “ความกลัว” แล้ว ก็หายกลัวครับ

     การเลือกเรื่องและการกำหนดปัญหาในการทำวิจัย ถือว่าเป็นกิจกรรมที่มักจะทำพร้อมๆ กันไป การเลือกเรื่องเป็นการหาปัญหาในลักษณะกว้างๆ ที่ผู้วิจัยพิจารณาดูแล้วเห็นว่ามีความสำคัญ และน่าสนใจที่จะศึกษาค้นคว้าหาคำตอบ โดยใช้หลัก คือ 1) ตัวผู้วิจัยสนใจ (ไม่ใช่ตามคนอื่นสนใจ) 2) มีความสำคัญหากทำแล้วได้องค์ความรู้ใหม่ที่นำไปใช้ได้และเป็นประโยชน์ 3) สามารถทำได้สำเร็จ โดยพิจารณาทั้งจากกำลังความสามารถ ทรัพยากร เวลา และความยากง่ายในการเก็บรวบรวมข้อมูล และ 4) ไม่ซ้ำซ้อนกับงานวิจัยที่ทำมาแล้ว ซึ่งดูได้จากการทบทวนวรรณกรรมที่ผ่านมาถึงจะได้รู้ประเด็นนี้ และพิจารณาความซ้ำซ้อนในแง่ของปัญหา สถานที่ เวลา และวิธีการที่ใช้ ไม่ใช่ว่าซ้ำอย่างใด อย่างหนึ่งแล้วจะทำไม่ได้เช่นกัน งานวิจัยบางเรื่องก็ต้องการการยืนยัน (confermatory) เช่นกัน
          แต่ก่อนอื่นต้องแยกให้ออกระหว่างปัญหาเชิงบริหารจัดการ กับปัญหาวิจัยก่อน เช่นปัญหาบางปัญหาไม่จำเป็นต้องทำวิจัย แต่ใช้วิธีการทางการบริหารจัดการดี ๆ ก็แก้ได้แล้ว ตัวอย่าง เช่น ปัญหาการตกเตียงของคนไข้ เป็นต้น แต่ถ้าได้ทบทวนและวิเคราะห์ดี ๆ ปัญหาการตกเตียงของคนไข้ ก็จะเป็นส่วนหนึ่งของปัญหาวิจัยที่ใหญ่กว่า คือ ความเสี่ยงทั้งหมดจากกิจกรรมพยาบาลในแผนกผู้ป่วยใน อย่างนี้เป็นต้น

     การสืบค้นเพื่อกำหนดเรื่องหรือปัญหาวิจัย ก็เป็นอีกประเด็นหนึ่งที่จะช่วยให้นักวิจัยสามารถกำหนดเรื่องหรือปัญหาวิจัยได้เร็ว แต่จากประสบการณ์นะครับ จะพบว่ามาถึงขั้นตอนนี้แล้ว นักวิจัยจะพบข้อมูลมากมาย และจะเริ่มลังเล เรียกว่าอันนั้นก็น่าทำ อันนี้ก็ดี และจะมัวเสียเวลาอยู่ตรงนี้นาน จึงเสนอแนะให้ขอคำปรึกษาจากพี่เลี้ยง โดยนำประเด็นที่สนใจทั้งหมดไปพูดคุยเลย จากนั้นผมจะเรียกว่า “ปักธง” ให้ได้ แล้วจะเริ่มเดินได้ฉลุย ขอกลับมาที่แหล่งสืบค้นอีกครั้งว่ามีที่ไหนบ้างนะครับ 1) จากรายงานวิจัยที่มีผู้วิจัยได้นำเสนอไว้ โดยเฉพาะที่ประเด็นข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป จะพบได้เลย แต่ก็ต้องเลือกรายงานวิจัยที่มีคุณภาพด้วย (รายละเอียดรายงานวิจัยที่มีคุณภาพ จะอยู่ในเรื่องต่อไปคือ การทบทวนเอกสาร วรรณกรรม และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ครับ) ต่อแหล่งที่ 2 นะครับ 2) จากภูมิหลังของนักวิจัยเอง หรือจากประสบการณ์นั่นเอง อันนี้ถ้าเอาออกมาเองไม่ได้ แนะนำว่าการพูดคุยกับพี่เลี้ยงดี ๆ จะออกมาได้ครับ อย่างอื่นยังเขียนไม่ออกว่าจะเอาออกมาได้อย่างไร ในขณะนี้ และ 3) จากแหล่งทุน หรือผู้ตั้งโจทย์วิจัยไว้แล้ว อันนี้เมื่อสืบค้นไปที่แหล่งทุนต่าง ๆ จะพบเห็นได้อยู่แล้ว แต่ก็เหมือนที่ได้กล่าวไว้ที่ เอามะพร้าวมาขายสวน : ขั้นตอนการทำวิจัย คือเป็นความสนใจของคนอื่น ต้องระวังว่าเราสนใจจริงไหม ไม่งั้นไม่ควรกระโดษเข้าไปทำ เพราะเมื่อไม่สำเร็จ จะทำให้เราไม่มีจรรยาบรรณนักวิจัยอีกตามที่ได้เขียนไว้ที่ เอามะพร้าวมาขายสวน: จรรยาบรรณนักวิจัย 
          ฉะนั้นการกำหนดประเด็นเรื่องที่จะวิจัย หรือการกำหนดปัญหาวิจัย จึงเป็นการตีกรอบ และเจาะลงไปในแนวลึกของปัญหาให้ชัดเจน อาจจะต้องใช้เวลาในช่วงนี้บ้าง แต่วิธีการระดมสมอง (เพื่อนช่วยเพื่อน สลับกัน) ระดมสติปัญญาในการสร้างแนวคิด และสร้างเป็นคำถามของปัญหาให้ลึกซึ้งเหมาะสม จะช่วยในขั้นตอนต่อไปได้มากครับ (ไม่ได้ตั้งใจหยาบนะครับ... ถ้าคำถามวิจัยตื้น ๆ ก็จะได้ผลการวิจัยแบบตื้น ๆ พูดจริง ๆ)

     มาถึงตอนนี้สมมติว่าเราได้ประเด็นปัญหาวิจัยมาแล้ว และจะต้องตั้งชื่อเรื่องวิจัยนะครับ (รวดเร็วดีไหมครับ) มีหลักเกณฑ์ง่าย ๆ แต่ทำยาก ๆ ดังนี้ครับ ใช้ภาษเรียบง่ายกะทัดรัด ชัดเจน อ่านแล้วเข้าใจได้เลย พยายามอย่าให้ยาว (ของผู้เขียนมีเรื่องหนึ่งยาวมาก จนต้องปรับ) และในชื่อเรื่องต้องมีสาระที่บอกเรื่องเหล่านี้ได้ว่า ศึกษาอะไร กับใคร ที่ไหน (ไปเกี่ยวข้องกับสถานที) เมื่อไหร่ (ไปเกี่ยวข้องกับช่วงเวลา) และมีความครอบคลุมกับปัญหาวิจัยทั้งหมดที่จะทำการศึกษา
          มีคำแนะนำเรื่องการตั้งชื่อเรื่อง กรณีใช้ภาษาไทย เช่น อย่าใช้ภาษาอื่นปน ถ้าไม่จำเป็นจริง ๆ (มีคำในภาษาไทยใช้) หรือการใช้คำย่อที่ยังไม่เป็นที่นิยม ไม่เป็นสากล หรือการใช้ประโยคที่ถูกต้องตามหลักภาษาไทย อย่างต้องขึ้นต้นด้วยประธานของประโยค เป็นต้น

     สรุปแล้วในขั้นตอนนี้ ผู้วิจัยจะต้องใช้เวลาส่วนใหญ่ค้นคว้ารวบรวมเอกสารข้อมูลสำคัญ ๆ  ไว้ให้มากที่สุด เพื่อสร้างและพัฒนาแนวคิดในการที่จะกำหนดวางกรอบของปัญหาให้ชัดเจน พยายามตั้งคำถาม เพื่อตอบด้วยตนเองให้ได้ว่า ปัญหาคืออะไร สำคัญมากน้อยแค่ไหน จะศึกษาปัญหานี้อย่างไร หรือด้วยวิธีใด ภายในขอบเขตลึกซึ้งมากน้อยเพียงแค่ไหนถึงจะเหมาะสมดีครับ (เฮ่อปั่นเสียเหนือย...เลย)

     เรื่องทั้งหมดที่เขียนเป็นตอน ๆ คือ [บทนำ ขั้นตอนการทำวิจัย] [การเลือกเรื่อง เลือกปัญหา และการกำหนดปัญหาการวิจัย] [การทบทวนเอกสาร วรรณกรรม และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง] [การกำหนดกรอบแนวคิดหรือทฤษฎี] [การตั้งสมมติฐาน] [การกำหนดตัวแปรและการวัด] [การกำหนดหรือวางรูปแบบการวิจัย] [การเตรียมและพัฒนาเครื่องมือในการวิจัย] [การกำหนดกลุ่มประชากร และการเลือกกลุ่มตัวอย่าง] [การเก็บรวบรวมข้อมูล] [การเตรียมข้อมูลเพื่อการวิเคราะห์] [การวิเคราะห์ข้อมูล] [การแปลผลจากการวิเคราะห์ข้อมูล] [การเขียนรายงานวิจัย] [ความคลาดเคลื่อนหรือผิดพลาดที่เกิดขึ้นได้จากการวิจัย] [จรรยาบรรณนักวิจัย] [คุณสมบัติของนักวิจัยที่ดี]
     หมายเหตุ: หากยังไม่ link หมายถึงยังไม่ตีพิมพ์ไว้ครับ

     ผมเอาประสบการณ์ส่วนหนึ่งที่ได้จากการเรียน และลงมือทำมาเขียน ถ้าหากเอามาจากที่อื่น ๆ มาผสมผสานลงไป ก็อ้างอิงไว้ และหากผิดถูกประการใด ก็ขอน้อมรับเพื่อการปรับปรุงในทันทีนะครับ (เขียนเหมือนรายงานนักศึกษาเลย) สิ่งนี้ยังต้องการคำชี้แนะอีกมาก ขอเชิญเติมเต็มให้ด้วยครับ

หมายเลขบันทึก: 5801เขียนเมื่อ 23 ตุลาคม 2005 23:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มีนาคม 2015 08:31 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

ครับผม

ผมชื่อลี อยู่ที่เชียงรายครับ และผมก็กำลังทำวิจัยเรื่องยาสมุนไพรอยู่ผมอยากขอความคิดเห็นจากคุณว่า การทำวิจัยจะต้องออกมาเป็นหนังสือเล่มใหญ่ๆ หรือไม่ และผมก็อยากให้คุณช่วยส่งขั้นตอนในการทำวิจัยพร้อมทั้งตัวอย่างด้วยก็ดีครับ

        ผมจะขอขอบพระคุณมากครับและผมจะเข้ามาหาคุณในเว็บใหม่นะครับ

            ps.โปรดส่งมาที่เมลล์ขั้นต้นของผมด้วยนะครับ

                      ขอบคุณครับ

                         ลี

การวิจัย...เปรียบเสมือนเป็นปัญญา..ที่นำมาใช้ในกระบวนการแก้ปัญหา..โดย..ถ้าหากคนเรามีจิตใจเป็นนักวิจัย..ทุกห้วงอณูแห่งการดำเนินชีวิต..เราได้ใช้ปัญญาในการแสวงหาความจริงหรือการแก้ปัญหา..โดยอาศัยความเชื่อในการหลักการแห่งความเป็นเหตุเป็นผล..และต้องพร้อมด้วยมูลเหตุแห่งความจูงใจแล้ว..สามารถนำเราไปสู่ข้อค้นพบที่เป็นความจริง..และสิ่งที่พึงประสงค์...

ขอ ลปรร. ร่วมกับคุณลีนะคะ...ความสำคัญของข้อพบในงานวิจัยนั้น..ไม่ได้ขึ้นอยู่กับความหนาหรือบางในงานนั้น..แต่หากขึ้นอยู่...กับสิ่งที่ได้..จากการเรียนรู้ที่ผ่านกระบวนการที่เป็นระบบระเบียบทางการวิจัย...มีค่ายิ่งที่สามารถตอบคำถามปัญหาของการวิจัย..และนำไปสู่การพัฒนา...ข้อค้นพบนั้นๆ..ต่อไป

     ตกไปเลยครับ ผมไม่ทันเห็นว่ามีคนแสดงความคิดเห็นไว้ ขอโทษคุณ lee ด้วยจริง ๆ

     คุณ Dr.Ka-poom พูดถึงวิญญาณนักวิจัย ไม่จำเป็นว่าต้องทำวิจัยในทุกเรื่อง แต่ทุกเรื่องควรใช้วิญญาณนักวิจัยพิจารณา (ถ้าเข้าใจไม่ผิด) ก็จะเยี่ยมยอดไปเลยสนันสนุนมาก ๆ ครับกับคำกล่าวนี้

     รายงานวิจัย หรือสรุปผลการวิจัย(ความคิดผมนะ) หากสั้น ๆ บาง ๆ แต่มีสาระเท่ากับหนา ๆ ใหญ่ ๆ ก็เรื่องอะไรที่จะทำให้หนา ๆ ใหญ่ ๆ ไม่จำเป็นครับ ทีนี้ที่มันจำเป็นก็มีเหตุผลในตัวว่าจำเป็น แต่ต้องหมายถึงบางและเล็กที่สุดเท่าที่ทำได้โดยไม่เสียอรรถรส และสาระสำคัญไป
     รายงานวิจัย หรือสรุปผลการวิจัย(ความคิดผมนะ) หากสั้น ๆ บาง ๆ แต่มีสาระเท่ากับหนา ๆ ใหญ่ ๆ ก็เรื่องอะไรที่จะทำให้หนา ๆ ใหญ่ ๆ ไม่จำเป็นครับ ทีนี้ที่มันจำเป็นก็มีเหตุผลในตัวว่าจำเป็น แต่ต้องหมายถึงบางและเล็กที่สุดเท่าที่ทำได้โดยไม่เสียอรรถรส และสาระสำคัญไป
     link ที่เชื่อมโยงต่อเนื่องกันครับ เริ่มต้นวิจัยด้วยสถิติที่อยากใช้
      เป็นนักศึกษาค่ะ  เรียนเกี่ยวกับการท่องเที่ยวและการโรงแรม  ต้องทำระเบียบการวิจัยเป็นงานส่งในรายวิชา  ไม่ค่อยเข้าใจเท่าไร  ยังงงอยู่  อยากได้ตัวอย่างงานวิจัยมาศึกษาดู  แต่หายากจัง  อาจเป็นเพราะหาไม่เป็นด้วย  ขอความกรุณาช่วยแนะนำให้ด้วย  ขอบพระคุณล่วงหน้า  จะส่งเมลล์มาให้ก็ได้หรือจะ post ไว้ที่นี้ก็ได้ค่ะ   
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท