R2R : การใช้คอมพิวเตอร์กับอาการ "ปวดข้อศอก"


"เมื่อใดที่แป้นพิมพ์ดีดหรือที่วาง Mouse อยู่เหนือกว่าข้อศอก เวลานั่งทำงานปกติ จะทำให้เกิดอาการปวดข้อศอกเกิดขึ้นมา"

นับตั้งแต่วันที่ 2 พฤศจิกายนที่ผ่านมา เป็นวันที่บ้านผมเริ่ม "พัฒนา" แล้ว ติดตั้งอินเทอร์เนทความเร็วสูง (ADSL) เสร็จเรียบร้อย

นับตั้งแต่วันนั้นความอัดอั้นจากการที่ไม่ได้ใช้ Internet แบบเต็มที่ก็ถูกปลดปล่อยออกมา

หลังจากนั้นไม่นานอาการเก่าก็เริ่มกำเริบขึ้นอีกกับการอาการ "ปวดข้อศอก"


หลาย ๆ ครั้งที่ผมต้องใช้คอมพิวเตอร์ติดต่อกันเป็นเวลานาน ๆ จะมีอาการปวดข้อศอกเกิดขึ้น

ผมจึงลองสังเกตตัวเองดูว่าอาการนั้นเกิดขึ้นจากสาเหตุใดได้บ้าง

และเมื่อผ่านไประยะหนึ่งก็ได้คำตอบที่เป็นสาเหตุสำหรับตัวผมเองประการหนึ่งก็คือ

"เมื่อใดที่แป้นพิมพ์ดีดหรือที่วาง Mouse อยู่สูงกว่าข้อศอกในเวลานั่งทำงานปกติ จะทำให้เกิดอาการปวดข้อศอกเกิดขึ้นมา"

ผมลองสังเกตเปรียบเทียบกันหลายครั้ง ระหว่างการนั่งทำงานโดยการใช้โต๊ะคอมพิวเตอร์แบบมาตรฐานที่มีลิ้นชักดึงเข้าดึงออกสำหรับคีย์บอร์ดได้ วันนึงใช้นานขนาดไหนหรือบางครั้งใช้วันละ 6-8 ชั่วโมงติดต่อกันระยะเวลานาน ๆ (ตั้งแต่ 1 เดือนขึ้นไป) ก็จะไม่มีอาการปวดข้อศอกเข้ามารบกวน

แต่เมื่อเปรียบเทียบกับการที่ต้องทำงานบนโต๊ะทั่ว ๆ ไป โดยเฉพาะการวางโน๊ตบุ๊คบนโต๊ะทำงานแบบปกติ ถ้าใช้งานเกินกว่าวันละ 3-4 ชั่วโมง ติดต่อกันเป็นเวลาไม่เกิน 1 สัปดาห์ ก็จะเกิดอาการปวดข้อศอกตามมาทันที

ทำให้ผมนึกย้อนไปเมื่อสมัยหนุ่ม ๆ ครั้งที่เรียนพิมพ์ดีดครั้งแรกที่โรงเรียนพณิชยการวิริยาลัยนครสวรรค์ ก่อนที่จะเรียนพิมพ์ดีดนั้น เราจะต้องมาเรียนท่านั่งในการพิมพ์ดีดที่ถูกต้องก่อน

ท่านั่งพิมพ์ดีดอย่างถูกต้องที่ผมจำได้มีอยู่ 5 ประการครับ

  1. นั่งหลังตรงอิงกับพนัก แต่ไม่พิงกับพนัก (ไม่ถ่ายน้ำหนักลงไปที่พนัก) ให้หลังแตะพนักไว้โดยไม่ต้องถ่ายน้ำหนักลงไป
  2. วางเครื่องพิมพ์ดีดให้ได้ระดับ "ขนาน" กับข้อศอก ให้ปล่อยแขนลงไปข้างลำตัวและพับข้อศอกขึ้นมาให้ทำมุม 90 องศากับหัวไหล่และเป็นเส้นขนานกับพื้น จากนั้นลากเส้นตรงจากข้อศอกผ่านข้อมือจนถึงปลายนิ้ว จุดนั้นจะต้องจุดที่วางพิมพ์ดีที่เหมาะสมที่สุด
  3. หาเก้าอี้ที่นั่งแล้วผ่าเท้าสัมผัสผืนได้พอดี ความพอดีนั้นก็คือ ให้หัวเข่าทำมุม 90 องศากับหน้าขา โดยตั้งแต่หัวเข่าถึงน่องตั้งตรงกับพื้นได้พอดี และสามารถงอขาได้เล็กน้อย
  4. ให้ปลายเท้าข้างใดข้างหนึ่งเยื้องออกไปข้างหน้าเล็กน้อย (ประมาณครึ่งฟุต)
  5. เวลาพิมพ์ดีดให้ยกข้อมือให้สูงขึ้นเล็กน้อย ไม่ควรนำอุ้งมือหรือข้อมือไปวางบนโต๊ะ เพราะจะทำให้ข้อมืออยู่ต่ำกว่านิ้วมือ ซึ่งจะทำให้เกิดอาการพับของเส้นที่อยู่ระหว่างข้อมือและนิ้ว ทำให้เกิดอาการเมื่อยล้าได้ง่ายในขณะพิมพ์งาน (เทคนิคนี้เหมือนกับเทคนิคที่ใช้กับการเล่นเปียโนครับ เพราะอาจารย์สอนเปียโนก็บอกว่าต้องยกข้อมือให้สูง สูงกว่าลิ่มเปียโน)

ท่านั่งในการพิมพ์ดีดที่ดีที่สุดที่ผมจำได้เป็นประมาณนี้ครับ (ถ้าท่านใดมีเพิ่มเติมเชิญแลกเปลี่ยนและเติมเต็มได้เลยนะครับ)

แต่ช่วงหลัง ๆ มานี้ข้อปฏิบัติทั้ง 4 ข้อ บางครั้ง "ผมทำไม่ได้สักข้อเลยครับ" ดังนั้นก็ไม่ต้องโทษใครครับ ต้องโทษตัวเองที่ทำงานและทำร้ายตัวเองไปพร้อม ๆ กันครับ

ตอนนี้ผมก็จะพยายามปรับปรุงท่านั่งในการใช้คอมพิวเตอร์ให้มากที่สุดครับ เพราะรักษ์ตัวเองให้อยู่และทำประโยชน์ได้อย่างยาวนานที่สุด เพราะการป้องกันดีกว่าการแก้ไขครับ

ป้องกันและดูแลสุขภาพตัวเองในวันนี้ ดีกว่าแก้ไขสุขภาพ (รักษา) ในอนาคตครับ

R2R ฉบับเล็ก ๆ หรือ Baby R2R ฉบับนี้ก็เป็น Tacit Knowledge เล็ก ๆ น้อยที่ผมสัมผัสได้จากการใช้พิมพ์งานใน Gotoknow แห่งนี้ครับ

 

หมายเลขบันทึก: 57943เขียนเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2006 13:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มิถุนายน 2012 10:15 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ร่างกายย่อมมีการเสื่อสภาพไปตามวัย จะเร็วหรือช้าเท่านั้นเอง มีช่วงหนึ่งที่ผมปวดคอมากจากการที่ต้องพิมพ์งานบ่อยๆ มานั่งสังเกตดูพบว่าหน้าจอคอมพิวเตอร์ที่วางไว้นั้นค่อนข้างจะแหงนเล็กน้อย ทำให้กล้ามเนื้อบริเวณคอต้องเกร็งตลอดเวลา จึงเกิดอาการปวดที่กล้ามเนื้อ ต้องไปทำกายภาพบำบัดเป็นอาทิตย์ (รวมทั้งปรับโต๊ะคอมฯ ใหม่ ด้วย) จึงดีขึ้น แต่เนื่องจากการเรียนการสอนยังต้องอาศัยคอมฯ อาการปวดจึงยังคงเป็นๆ หายๆ เนื่องจากไม่ได้แก้ไขที่ต้นเหตุนั่นเอง

การพิมพ์งานนานๆ อาจทำให้ปวดหลังและปวดที่ข้อมือได้อีกด้วย

หากพูดถึงสุขภาพกับการใช้งานคอมฯ คงจะมีอีกเยอะ จริงไม๊ครับ ฝากทุกท่านรักษาสุขภาพตนเองด้วย

  • กราบขอบพระคุณท่าน ศ.นพ. สมบูรณ์ เทียนทอง เป็นอย่างสูงครับ
  • ขอขอบพระคุณท่านอาจารย์หมอที่เข้ามาเติมเต็มและต่อยอดให้กับบันทึกนี้ได้อย่างสมบูรณ์มากยิ่งขึ้นครับ
  • ผมก็เป็นดั่งเช่นอาจารย์หมอบ่อย ๆ ครับ เพราะชีวิตผูกพันธ์กับคอมพิวเตอร์ค่อนข้างมาก ๆ โดยเฉพาะเวลาที่ต้องนั่งจอนาน ๆ คอ หัวไหล่ ขา สายตา เริ่มมีปัญหาต่าง ๆ ตามมามากเลยครับ
  • ตอนนี้ก็พยายามศึกษาตนเอง สังเกตและปรับพฤติกรรมในการทำงาน เพื่อป้องกันและรักษาสุขภาพตนเองดั่งเช่นที่อาจารย์หมอบอกครับ
  • ขอขอบพระคุณอาจารย์หมออย่างสูงอีกครั้งครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท