"ก่อนจะคิดการใหญ่ต้องเริ่มใส่ใจเรื่องเล็ก ๆ" ประสบการณ์การเรียนรู้สู่ความร่วมมือนักการเมืองท้องถิ่น


การประเมินบุคคลิกลักษณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยการระดมประสบการณ์จากผู้ร่วมชะตากรรม ซึ่งพบว่า เราต้องหาตัวอย่าง กิจกรรมการเรียนรู้ของเยาวชน และยิ่งถ้าเป็นกิจกรรมที่อบจ.หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสนับสนุนและมีส่วนร่วมในการเรียนรู้จะเป็นทุนอันล้ำค่ามหาศาล เพราะว่าการอธิบายกระบวนการเรียนรู้ของเรากับคนที่เขาไม่คุ้นเคยจะไม่เกิดการเทียบเคียงและเชื่อมโยง หากมีตัวอย่างแบบตรง ๆ ก็จะทำให้ช่วยอธิบายขยายความ ทำความเข้าใจได้ง่าย ในเวลาที่จำกัด

 

จะเชิญเป็นที่ปรึกษา  อบจ. ผมฟังอะไรผิดไปหรือเปล่า พี่อาคม  จันทรกูล สมาชิกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรสงครามและที่ปรึกษาศูนย์ประสานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นจังหวัดสมุทรสงคราม ชักชวนแบบขอร้องในวงกาแฟระหว่างการประชุมเครือข่ายนักวิจัยเพื่อท้องถิ่นแม่กลอง ด้วยความตกใจ พร้อมกับ งงเล็กน้อย (ก็จะไม่ให้งงได้อย่างไรก็ที่ผ่านมาเราพยายามที่จะผลักดันกระบวนการเรียนรู้และงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นผ่านองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแทบตาย แต่ก็ไม่มีสัญญาณตอบรับสักแม้สักครั้งเดียว)  ไม่รอช้าผมรีบซักถามความเป็นมา ไล่เรียงไปมาพบว่าพี่อาคมเองเป็นกรรมาธิการด้านสตรี เยาวชนและผู้สูงอายุ แต่ด้วยฐานการทำงานภาคประชาชนมาสักระยะหนึ่งจึงเสนอแนะให้ นายก อบจ. สรรหาที่ปรึกษาที่มีความรู้ความเข้าใจเฉพาะด้านในการเรียนรู้ จึงได้ประสานมายังศูนย์ประสานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นจังหวัดสมุทรสงคราม ในการหารือถึงแนวทางการพัฒนาเยาวชนจังหวัดสมุทรสงคราม ร่วมกับนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรสงคราม โดยในเบื้องต้น วันที่ ๕ ตุลาคม ๔๙ จะเป็นการประชุมเพื่อ ทำความรู้จักกัน สร้างความคุ้นเคย ระหว่างองค์กร ตลอดจนเรียนรู้ประสบการณ์การดำเนินงานเด็กและเยาวชนในจังหวัดสมุทรสงครามทั้งในส่วนของ อบจ. และในส่วนของ สกว.และกลุ่มเยาวชนรักแม่กลอง   พูดง่าย ๆ ก็คือไปพูดคุยเพื่อดูท่าที หารือแนวทางในการพัฒนาเยาวชนสมุทรสงครามร่วมกัน เบื้องหลังการถ่ายทำ    ก่อนจะถึงวันที่ ๕ ตุลาคม ๔๙ ผมเองก็ใจเต้นตุ้ม ๆ ต่อม ๆ ก็บอกตามตรงเลยว่าปกติแล้วการทำงานร่วมกับนักการเมืองท้องถิ่นที่เราเคยมีประสบการณ์มาส่วนใหญ่การเจรจามักไม่ประสบผลสำเร็จ เนื่องจากอาจเป็นเพราะว่าส่วนหนึ่งเกิดจากการที่เราคงรู้สึกไม่ดีเท่าไรกับ อปท.แต่เนื่องจากคราวนี้เป็นการขอร้อง แกมบังคับ(ด้วยสำนึกรักท้องถิ่นสมุทรสงคราม) และเป็นโอกาสใหม่ของการเปิดพื้นที่การเรียนรู้เพิ่มขึ้น โดยมีตัวต่อคือพี่อาคม ซึ่งไปปูทางเล่าประสบการณ์สรรพคุณและงานการพัฒนาเยาวชนที่ผ่านมาให้กับนายก อบจ.ไปบ้างแล้ว (ข้อนี้เป็นดาบสองคมคือเป็นทั้งการสร้างศรัทธาล่วงหน้าเล็ก ๆ หรือเป็นแรงกดดันน้อย ๆ ในการเตรียมตัว) จะอะไรก็ช่างเถอะกระบวนการเตรียมตัวจึงเป็นเรื่องที่สำคัญมาก แล้วสุภาษิตจีนก็ผุดบังเกิดในหัว รู้เขารู้เรา รบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง เริ่มด้วยการทำใจทำสมาธิในการปล่อยวางความคิดอคติเดิมที่มีอยู่กับ อบจ. ลงเสียก่อนเนื่องจากเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการสร้างสรรค์กระบวนการ  จากนั้นเริ่มค้นหาตัวช่วยที่จะมาร่วมชะตากรรมร่วมกัน อันดับแรกก็หนีไม่พ้นพี่อภิชาติ หัวหน้าโครงการวิจัยเยาวชน และน้องเอื้อย ผู้ประสานงานกลุ่มเยาวชนรักแม่กลอง ชวนกันมานั่งพูดคุย ทบทวนดูว่า เรามีข้อมูลอะไรอยู่ในมือบ้าง เช่นประสบการณ์ของกลุ่มเยาวชนรักแม่กลอง และโครงการศึกษากระบวนการเรียนรู้เพื่อพัฒนาและฟื้นฟูกลุ่มเยาวชนรกแม่กลอง ที่เคยมีบทเรียนกับเด็ก ๆ เมืองแม่กลองมาสักระยะหนึ่ง ประกอบกับข้อมูลการทำงานกับเทศบาลในดครงการอาสาสมัครรักษ์แม่กลอง ซึ่งก็อย่างที่บอกแหละมีทั้งประสบผลและเกือบประสบผลสำเร็จ  ไม่รอช้าต่อไป ก็ต้องประเมินบุคคลิกลักษณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยการระดมประสบการณ์จากผู้ร่วมชะตากรรม ซึ่งพบว่า เราต้องหาตัวอย่าง กิจกรรมการเรียนรู้ของเยาวชน และยิ่งถ้าเป็นกิจกรรมที่อบจ.หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสนับสนุนและมีส่วนร่วมในการเรียนรู้จะเป็นทุนอันล้ำค่ามหาศาล เพราะว่าการอธิบายกระบวนการเรียนรู้ของเรากับคนที่เขาไม่คุ้นเคยจะไม่เกิดการเทียบเคียงและเชื่อมโยง หากมีตัวอย่างแบบตรง ๆ ก็จะทำให้ช่วยอธิบายขยายความ ทำความเข้าใจได้ง่าย ในเวลาที่จำกัด ประมาณว่าบอกกันตรง ๆ ชี้กันชัด ๆ ขนาดนี้ถ้าไม่รู้เรื่องเราก็ต้องทบทวนละครับ ฉะนั้นอย่าช้าอยู่ใย รีบโทรศัพท์ไปหาเพื่อนพ้องที่สุราษฎร์ธานี ที่มีประสบการณ์การเชื่อมโยงงานเยาวชนกับอบจ. และเข้าไปค้นหาข้อมูลโครงการรุ่งอรุณ และงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นของ สกว.ที่เกี่ยวข้องกับเยาวชนและอปท. อีกประเด็นที่สำคัญคือระบบงบประมาณของส่วนราชการนั้นมีขอบเขตเวลาและข้อจำกัดดังนั้นกระบวนการพัฒนาจึงเน้นกิจกรรมที่ให้ผลสำเร็จได้ในช่วงเวลาที่กำหนด   ดังนั้นเมื่อไปทบทวนดูตัวอย่างโครงการและแผนงานของ อบจ. ซึ่งก็พบว่าโครงการส่วนใหญ่เป็นการให้ทุนสนับสนุนกับหน่วยงาน โรงเรียน และจัออบรมเยาวชนด้านยาเสพติดและสิ่งแวดล้อม ประกอบกับขาดกระบวนการเรียนรู้ที่มาจากความต้องการเยาวชนและการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง  และเมื่อคุยกันชัดแล้วแผนการพูดคุยกับนายก อบจ. จึงผุดขึ้นบนยุทธศาสตร์เน้นเรียนรู้จากฐานกิจกรรมเดิม แต่เพิ่มความต่อเนื่องและกระบวนการ  พกความมั่นใจไป อบจ.ด้วยความที่ไม่ค่อยได้เคยจะไปพูดคุยกับ เอาว่ะ ไม่ทำก็ไม่รู้ ผู้บริหารการเตรียมตัวจึงต้องพิเศษเช่นตั้งแต่การแต่งกาย (เสื้อผ้า-หน้า-ผม) และการเตรียมเอกสารข้อมูลตัวอย่าง หนังสือ VCD รีบไป อบจ.หวังว่าจะได้มีการเริ่มกระบวนการเรียนรู้และพูดคุยกันอย่างเต็มที่ พวกเรา (อาร์ท พี่ชาติ น้องเอื้อย น้องต้น พี่ธเนศ) เดินไปห้องนายก ฯ ชั้น ๒ ซับซ้อนและลึกลับ ซึ่งมีพี่อาคม รอรับอยู่แล้ว (สงสัยจะกลัวเราหลง)เมื่อไปถึงข่าวดีก็ลอยมาว่า นายกมีเวลา ครึ่งชั่วโมง เนื่องจากต้องรีบไปประชุมพิธีเปิดกีฬาเยาวชนแห่งชาติ เอาล่ะซิครับ!!!!! ต้องปรับแผนเป็นการด่วน ไอ้ที่ร่ายยาวมาทั้งหมดตั้งแต่ต้นเป็นอันว่า ครึ่งชั่วโมง จบ....... เมื่อคุณอำนวย (ไม่ใช่คุณอำนวยในKM แต่ชื่อของนายก อบจ.เค้า)เข้ามาและมองหน้าอันละอ่อนและจำนวนที่มากมายด้วยสายตางง ๆ เริ่มด้วยพี่อาคมแนะนำพวกเราว่าเป็นใครมาจากไหนและกำลังทำอะไรกันอยู่ และเริ่มถามว่าความคาดหวังของ อบจ.ต่อการพัฒนาเด็กและเยาวชนจังหวัดสมุทรสงคราม พบว่าเป็นไปดังที่คาดการณ์ไว้ก็คือเป็นการให้ทุนสนับสนุนกิจกรรมกับโรงเรียนและองค์กรต่าง ๆ ในการจัดกิจกรรมการศึกษา กีฬา ยาเสพติดและสิ่งแวดล้อม ซึ่งแต่เดิมแล้ว อบจ.ไม่ได้มีเป้าหมายที่ชัดเจนเนื่องจากงานด้านการพัฒนาเยาวชนมีกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ พัฒนาชุมชน ฯลฯ เป็นหน่วยงานรับผิดชอบหลักในการดำเนินงานอยู่แล้ว และ อบจ.ไม่มีเจ้าหน้าที่และบุคคลากรในด้านนี้ แถมยังบอกว่าประมาณว่า น้อง ๆมีประสบการณ์มีข้อเสนอแนะอะไรดี ๆ ก็บอกมาเลย (ประมาณว่าบอกมาตรง ๆ) เอาล่ะซิเราว่าจะคุยแบบตรง ๆ แต่ไม่นึกว่าจะตรงอะไรประมาณนี้  นี่เป็นการพูดคุยครั้งแรกที่ไม่คุ้นชินแถมยังเจอแบบนี้ ฉกฉวยโอกาสรีบเปลี่ยนประเด็นในการนำเสนอข้อมูลจากการวิจัยของเยาวชนพบว่า เยาวชนจังหวัดสมุทรสงครามขาดการกล้าคิดกล้าแสดงออก และขาดเวทีในการแสดงออกความสามารถอย่างเต็มที่สำหรับคนทุกระดับ เช่นกีฬา ดนตรี ศิลปะ ประกอบกับกระบวนการพัฒนาเยาวชนที่ผ่านมาเน้นการคิดและสร้างสรรค์จากคนภายนอก ส่วนหนึ่งไม่ได้มาจากความต้องการของเด็กและเป็นการพัฒนาที่ไม่ตรงตามศักยภาพของเยาวชนและขาดความต่อเนื่องในกระบวนการเรียนรู้ มาถึงตรงนี้นายก อบจ. ก็ถามเราตรง ๆ (อีกแล้ว) ว่าแล้วตกลงจะให้ อบจ.ทำอะไร เอ่อ.....เอาว่ะถึงขั้นนี้แล้ว ก็เลยเสนอแนะกระบวนการทำงานว่าเราเน้นการเชื่อมโยงการเรียนรู้ที่ต่อเนื่องบนฐานศักยภาพและความต้องการเรียนรู้ของเด็กและเยาวชน พร้อมกับยกตัวอย่างความร่วมมือระหว่างยุวชนสร้างสรรค์ จ.สุราษฎร์ธานี กับ อบจ. สุราษฎร์ธานี ในการจัดเวทีสัมมนาเยาวชนจังหวัดสุราษฎร์ธานี ความสุขความทุกข์ในการศึกษา เพื่อเรียนรู้บรรยากาศ และอุปสรรคการเรียนรู้ และความต้องการในการพัฒนาเยาวชน นำไปสู่การพัฒนากิจกรรมต่อเนื่อง ตรงนี้เองที่เป็นจุดคลิ๊กของกระบวนการสร้างความเข้าใจ และคุณอำนวย (นายก อบจ.) ตกปากรับคำกับทีมงานว่าจะจัดให้มีกิจกรรม อบจ.พบเยาวชน การเรียนรู้ร่วมกันระหว่าง เยาวชน อบจ. ครู และผู้ปกครองในการค้นหาแนวทางการพัฒนาเยาวชน และต่อยอดกิจกรรมการเรียนรู้เดิมของ อบจ. เช่น สาระในสวนที่ดำเนินงานโดย ทพ.มานะชัย และเทศบาลเมืองสมุทรสงคราม และกองทุนสนับสนุนกิจกรรมการพัฒนาเยาวชนโดยหนุนเสริมกระบวนการในการคัดสรรโครงการกิจกรรมและกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยอาจจะใช้การสนับสนุนบนฐานยุทธศาสตร์จังหวัดและยุทธศาสตร์ของ อบจ. โดยจะพัฒนากระบวนการเยาวชนไปพร้อมกับการพัฒนาการเรียนรู้ร่วมกับเจ้าหน้าที่ อบจ. เพื่อร่วมกันพัฒนาเจ้าหน้าที่ของ อบจ.ในการเรียนรู้กระบวนการพัฒนาเยาวชนจังหวัดสมุทรสงคราม            เสวนาหน้าห้องน้ำ            ยังไม่ทันจะพ้น อบจ. กระบวนการนินทาก็เริ่มที่หน้าห้องน้ำ อบจ. เราทบทวนว่าวันนี้สิ่งที่เราทำได้ดีคือการสร้างความเชื่อมั่นต่อ อบจ. ถึงศักยภาพในการพัฒนาเยาวชนของทีมงาน ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากตัวต่อที่สำคัญคือพี่อาคม ประกอบกับข้อมูลและตัวอย่างที่เราสรรหาช่วยอำนวยการเรียนรู้ให้ราบรื่น อีกทั้งวันนี้เราลดความคาดหวังและวิธีการ(ของเรา) วางมันลงเพื่อมือจะได้ว่างที่จะหยิบเอาลักษณะและวัฒนธรรมองค์กร ของ อบจ. และเสนอกระบวนงานกิจกรรมที่สอดคล้องกับจริต ของ อบจ.และลดทอนอุปสรรคที่อาจเกิดขึ้นจากกระบวนการบริหารงาน ซึ่งก็ทำให้การพูดคุยชัดเจนขึ้น ซึ่งส่วนหนึ่งก็มาจากบรรยากาศที่ไม่เป็นทางการ เหมือนกับมาช่วยมาเอาแรงกัน เติมในสิ่งที่ขาดซึ่งกันและกัน   เริ่มต้นคิดการใหญ่ (ซะที)            แผนการความร่วมมือที่มาจากวงสนทนา ร่วมกับ นายก อบจ. พี่อาคมและทีมงาน คือการเตรียมการพูดคุยในระดับของเจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนจังหวัดเพื่อขยายวงการรับรู้โดยมีเป้าหมายดังนี้ * การมาทำความรู้จักกันในภาพที่ใหญ่ขึ้น(คนมากขึ้น) รู้จัก รู้ท่าที รู้งาน * เพื่อการมาร่วมกันสร้างเป้าหมายร่วมกันว่าเราฝันเห็นเด็กและเยาวชนสมุทรสงครามอย่างไร* เพื่อเรียนรู้วิธีการทำงานในอนาคตร่วมกันชัดขึ้นในกระบวนการและวิธีการในการสร้างการเรียนรู้ให้เด็กและเยาวชน* เริ่มผลักดันกิจกรรมเล็ก ๆ แต่ยั่งยืน เช่นมัคคุเทศก์น้อย ที่ทาง อบจ.ซื้อละสนใจจะรับช่วงต่อในการหนุนเสริมระดับเครือข่าย แต่ทั้งหมดทั้งมวลนี้จะเริ่มต้นหลังจาก งบประมาณปีนี้ผ่านสภา นะจ๊ะ (จะบอกให้)
หมายเลขบันทึก: 57917เขียนเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2006 11:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มิถุนายน 2012 21:43 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท