แผนยุทธศาสตร์กลุ่มงานประกันสุขภาพ สสจ.พัทลุง ปี 2548 - 2550


ผู้ให้และผู้รับบริการพึงพอใจและมีความสุข

     ค่านิยมร่วม (Share Value) : ผู้ให้และผู้รับบริการพึงพอใจและมีความสุข

     วิสัยทัศน์ (Vision) : ประชาชนสามารถเข้าถึง มั่นใจ และมีส่วนร่วมในระบบหลักประกันสุขภาพ  ผู้ให้บริการมีความสุขและสถานบริการสาธารณสุขทุกแห่งต้องได้รับการรับรองคุณภาพ ภายในปี 2550

     พันธกิจ (Mission) :
     1. ส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงบริการสุขภาพอย่างมั่นใจ รับรู้ และเข้าใจในสิทธิ หน้าที่ตามระบบหลักประกันสุขภาพ
     2. ส่งเสริมให้สถานบริการสาธารณสุขในสังกัดมีการพัฒนาคุณภาพบริการอย่างต่อเนื่อง
     3. สนับสนุนให้สถานบริการสาธารณสุข และเครือข่ายในสังกัดมีความมั่นคงทางการเงิน การคลัง และจัดบริการแก่ประชาชนอย่างมีความสุข
     4. ส่งเสริมให้ภาคประชาชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการจัดบริการสุขภาพในทุกขั้นตอน

     เป้าประสงค์ (Goals) :
     1. ประชาชนในจังหวัดพัทลุงมีหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า
     2. ประชาชนในจังหวัดพัทลุงสามารถเข้าถึงบริการสุขภาพได้ตามความจำเป็น
     3. ประชาชนในจังหวัดพัทลุงได้รับการคุ้มครองสิทธิตามระบบหลักประกันสุขภาพ
     4. สถานบริการสาธารณสุขในจังหวัดพัทลุงได้รับการรับรองคุณภาพตามมาตรฐานที่กำหนดและประชาชนมีความพึงพอใจ
     5. เครือข่ายบริการสาธารณสุขในจังหวัดพัทลุง มีความมั่นคงทางการเงิน - การคลัง
     6. ภาคประชาชนและองค์กรส่วนท้องถิ่นในจังหวัดพัทลุง มีส่วนร่วมในการจัดบริการสุขภาพในทุกขั้นตอน

     วัตถุประสงค์ (Objectives)
     1. เพื่อให้ประชาชนในจังหวัดพัทลุงทุกคนมีหลักประกันสุขภาพอย่างใดอย่างหนึ่งตามสิทธิและสถานภาพที่แท้จริง
     2. เพื่อให้ประชาชนในจังหวัดพัทลุงทุกคนสามารถเข้าถึงบริการสุขภาพได้ตามความจำเป็น โดยไม่มีอุปสรรคใด ๆ ไม่ว่าจะเป็นทางด้านการเงินหรือด้านอื่น ๆ
     3. เพื่อให้ประชาชนมีความเข้าใจสิทธิและหน้าที่ตามระบบหลักประกันสุขภาพ
     4. เพื่อให้หน่วยงานในสังกัดมีการพัฒนาตามกระบวนการ 5 ส. อย่างต่อเนื่อง
     5. เพื่อให้สถานีอนามัยและศูนย์สุขภาพชุมชนในสังกัดทุกแห่งได้รับการรับรองคุณภาพตามมาตรฐานศูนย์สุขภาพชุมชน (PCU Standard)
     6. เพื่อให้โรงพยาบาลในสังกัดทุกแห่งได้รับการรับรองคุณภาพตามาตรฐานโรงพยาบาลคุณภาพ (H.A.)
     7. เพื่อให้หน่วยงานสนับสนุนการจัดบริการสุขภาพ (สสจ./สสอ.) ทุกแห่ง ได้รับการรับรองคุณภาพตามมาตรฐานสากล
     8. เพื่อให้สถานบริการสาธารณสุขในสังกัดทุกระดับ ทุกแห่ง (สถานีอนามัย/ศูนย์สุขภาพชุมชนและโรงพยายาล) มีความมั่นคงทางการเงิน - การคลัง
     9. เพื่อให้ภาคประชาชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคส่วนอื่น ๆ มีส่วนร่วมในการจัดบริการสุขภาพทุกขั้นตอน

     ยุทธศาสตร์ระดับกลุ่มงาน (HIG Strategies) :
     1. ส่งเสริมและพัฒนาให้เกิดระบบบริการสาธารณสุขที่ดี ที่ประชาชนมั่นใจ และผู้ให้บริการมีความสุข
     2. คุ้มครองสิทธิและส่งเสริมให้ประชาชนรับรู้ เข้าใจ และมั่นใจในสิทธิและหน้าที่ในระบบหลักประกันสุขภาพ
     3. ส่งเสริมและสนับสนุนให้สถานบริการและเครือข่ายบริการมีการจัดบริการอย่างมีประสิทธิภาพ และมีความมั่นคงทางการเงิน การคลัง
     4. ส่งเสริมและสนับสนุนให้ภาคประชาชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการพัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพ

     กลยุทธ์ปฏิบัติการ (Action Strategies)
     1. สร้างหลักประกันสุขภาพแก่ประชาชนทุกคน
     2. สร้างความมั่นใจแก่ประชาชนในระบบหลักประกันสุขภาพ
     3. สนับสนุนให้สถานบริการสาธารณสุขในสังกัดมีการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง
     4. สนับสนุนให้สถานบริการสาธารณสุขในสังกัดจัดบริการอย่างมีประสิทธิภาพ
     5. ดำเนินการให้ประชาชนได้รับการคุ้มครองสิทธิตามระบบหลักประกันสุขภาพ
     6. สนับสนุนและเปิดโอกาสให้ประชาชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดบริการสุขภาพ

     เป้าหมาย (Targets)
     1. ประชาชนทุกคนมีหลักประกันสุขภาพอย่างใดอย่างหนึ่งใน 3 สิทธิหลัก
     2. เด็กเกิดใหม่ทุกคนมีหลักประกันสุขภาพภายใน 2 เดือนแรกหลังคลอด
     3. ความซ้ำซ้อนของสิทธิตามโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า กับระบบหลักประกันอื่นๆ ของภาครัฐ ไม่เกินร้อยละ 1.00
     4. ความผิดพลาดในการส่งข้อมูลเพื่อขอขึ้นทะเบียนต่อ สปสช. (เฉพาะส่วนที่ผิดพลาดจากการจัดส่ง) ไม่เกินร้อยละ 5.00
     5. ประชาชนเลือกใช้สิทธิตามโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (กรณีมีสิทธิ) เพื่อรับบริการผู้ป่วยนอก (OP Compliance) ไม่น้อยกว่าร้อยละ 85.00
     6. ประชาชนทุกคนเลือกใช้สิทธิตามโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (กรณีมีสิทธิ) เพื่อรับบริการผู้ป่วยใน (IP Compliance)
     7. มูลค่าของการให้บริการในแต่ละสิทธิ (3 สิทธิหลัก) ในโรคเดียวกัน กลุ่มอายุเดียวกัน แตกต่างกันไม่เกินร้อยละ 5.00
     8. โรงพยาบาลในสังกัดทุกแห่งผ่านการรับรองตามมาตรฐานโรงพยาบาลคุณภาพ (HA)
     9. สถานีอนามัย/ศูนย์สุขภาพชุมชนทุกแห่ง ผ่านการรับรองตามมาตรฐานศูนย์สุขภาพชุมชน (PCU Standard)
     10. หน่วยสนับสนุนบริการสุขภาพ (สสจ. และ สสอ.) ทุกแห่ง ผ่านการรับรองตามมาตรฐานสากลของประเทศไทย
     11. หน่วยงานในสังกัดทุกหน่วยมีการพัฒนาตามกระบวนการ 5 ส. อย่างต่อเนื่อง
     12. ประชาชนมีความพึงพอใจคุณภาพบริการไม่น้อยกว่าร้อยละ 90.00
     13. การร้องเรียนในด้านต่างๆ ของการจัดบริการสุขภาพไม่เกิน 5 ต่อการใช้บริการ 100,000 ครั้ง
     14. ผู้ให้บริการมีความพึงพอใจต่อระบบหลักประกันสุขภาพ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80.00
     15. หน่วยบริการในเครือข่ายบริการสุขภาพทุกแห่งมีความมั่นคงทางการเงิน การคลัง (ดัชนีระดับความรุนแรงของสถานะทางการเงินเป็น +, +)
     16. การโอนงบประมาณให้เครือข่ายทุกครั้ง ต้องมีระยะเวลาในการโอนไม่เกิน 15 วัน นับจากวันที่ได้รับแจ้งการโอนมาถึงกองทุนฯจังหวัด
     17. เครือข่ายบริการสุขภาพทุกเครือข่าย มีทีมและดำเนินการเฝ้าระวังสถานการณ์ทางการเงิน การคลัง ภายในเครือข่ายเองอย่างต่อเนื่อง (รายเดือน, ไตรมาส, ครึ่งปี, และสิ้นปี)
     18. ประชาชนมีความรู้ และเข้าใจในสิทธิ หน้าที่ตามระบบหลักประกันสุขภาพไม่น้อยกว่าร้อยละ 70.00
     19. การร้องเรียนผ่านสื่อมวลชนลดลงร้อยละ 50.00 ของปีที่ผ่านมา
     20. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดบริการสุขภาพในทุกขั้นตอนให้สถานบริการทุกแห่ง อย่างเป็นรูปธรรม
     21. กลุ่ม หรือองค์กรประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดบริการสุขภาพในทุกขั้นตอนให้สถานบริการทุกแห่งอย่างเป็นรูปธรรม

     สืบเนื่องจากเมื่อวานซืน (21 ต.ค. 2548) ผมได้ไปเป็นวิทยากรนำฯ ในการเตรียมทีมเพื่อยกร่างและทบทวนแผนยุทธศาสตร์พัฒนาสุขภาพ ระดับอำเภอเขาชัยสน ซึ่งได้เขียนไว้แล้วที่ ผู้ก่อการดี "ยุทธศาสตร์พัฒนาสุขภาพอำเภอเขาชัยสน" และมีประเด็นที่ผมค้างทีมนำฯ ไว้คือการส่งเอกสารที่ review เรื่องแผนยุทธศาสตร์ระดับต่าง ๆ ไว้ ซึ่งจะได้นำเสนอไว้และให้ทีมนำฯ ได้เข้ามาใช้ประโยชน์ และจะเป็นช่องทางหนึ่งที่กึ่งทำให้เขาคุ้นเคยกับ Blog ด้วย

หมายเหตุ : เรื่องทั้งหมดที่บันทึกไว้เป็นตอน ๆ คือ

[แผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 9]      [แผนยุทธศาสตร์ของกระทรวงสาธารณสุข]
[วาระแห่งชาติ "เมืองไทยแข็งแรง]      [แผนยุทธศาสตร์ “การสนับสนุนและพัฒนาการกระจายอำนาจด้านสุขภาพ”]
[แผนยุทธศาสตร์จังหวัดพัทลุง]    
 [แผนยุทธศาสตร์จังหวัดพัทลุง ด้านสาธารณสุข]      [ปัญหาสาธารณสุข จังหวัดพัทลุง ปี 2547-2549]      [แผนยุทธศาสตร์กลุ่มงานประกันสุขภาพ สสจ.พัทลุง ปี 2548 - 2550]

หมายเลขบันทึก: 5758เขียนเมื่อ 23 ตุลาคม 2005 00:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มีนาคม 2015 08:31 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท