มองเท้าผู้ป่วยเบาหวาน


สนุกกับการทำงาน

ตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมาที่ โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชธาตุพนม มีกิจกรรมที่เรีกว่าสร้างความคึกคักให้กับคลินิกเบาหวานอย่างมาก เพราะพวกเรามองหาเท้าผู้ป่วยเบาหวานกันใหญ่ ทั้งที่ ER PCU และ OPD โดยเริ่มจากกลุ่มที่มีปัญหาที่เท้าก่อน ทั้งที่มีแผล เล็ก แผลใหญ่ ถูกสั่งนอนโรงพยาบาลหมด รวมได้ 7 case  ส่วนคนที่ประเมินพบ high risk ก็ถูกลงทะเบียนไว้ก่อน เพื่อดำเนินกิจกรรมแก้ปัญหาในกิจกรรมต่อไป

ผู้ป่วยใน ตอนนี้เรามี Vaccuum dressing รายแรกของโรงพยาบาลแล้วครับ ดูผู้คนในโรงพยาบาลให้ความสนใจมาก แวะเวียนไปสอบถาม เยี่ยมดูผู้ป่วยกันใหญ่ คุณป้าที่ป่วยก็สนุกเชียวครับ เพราะรู้สึกตัวเองได้รับความสนใจจากหมอทั้งหลายมากกว่าคนอื่น

 

ส่วนงานของแผนกกายภาพ ที่คุณพเยาว์ดูแลอยู่ก็เช่นกัน เพราะตอนนี้ที่โรงพยาบาลเรามีรองเท้าสำหรับผู้ป่วยเบาหวานแล้ว โดยให้วิทยาลัยการอาชีพในอำเภอลองตัดมาให้ดู เค้าประเมินราคาไว้ที่ 200 บาทครับ   ขออนุญาติ copy รองเท้าสวยๆจากเทพธารินทร์นะครับ(ซ้ายมือ) 

 

 

ส่วนเครื่อง PODOSCOP ที่พวกเราไปให้ร้านกระจกลองทำมาให้ดู  หน้าตาจะเป็นอย่างไร อีกประมาณ 1 อาทิตย์คงได้เห็นครับ แล้วผมจะมาเล่านะครับว่า พวกเราประยุกต์สิ่งที่เราได้ กับงานที่ธาตุพนมอย่างไรบ้าง

คำสำคัญ (Tags): #thatpanom#dm#foot#care
หมายเลขบันทึก: 5753เขียนเมื่อ 22 ตุลาคม 2005 23:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 23:50 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (14)
ทีมธาตุพนมนี่ไฟแรงจริงๆ ทำงานรุกหน้าอย่างรวดเร็วและน่าชื่นชม ขอบอกว่าเยี่ยมมากค่ะ 
นิโรบล กนกสุนทรรัตน์

ด้วยความใจกว้างใจดีของ ดร วัลลา และเจ้าหน้าที่ รพเทพธารินทร์ วันที่ 7-8 พย ได้มีโอกาสไปสังเกตการณ์จัดทำ Peer Assist ซึ่งทางรพ จัดให้กับ รพ พุทธชินราช ดร.วัลลาพูดชม ทีมธาตุเทพมาก และแจ้งให้ทราบว่า ทางทีมธาตุพนมเริ่มใช้ Vac dressing แล้ว จากในรูปเห็นว่า ใช้เครื่องดูดเสมหะ ไม่ทราบว่ามีปัญหาเครื่องทำงานเสียงดังและเครื่องร้อนง่ายหรือเปล่า ดิฉันอยากแนะนำให้ใช้เครื่อง Gomco suction (ที่ใช้เพื่อดูดGastric content) นะคะ เพราะเงียบ เครื่องไม่ร้อนและทำงานได้ดีไม่แพ้ Wall suction คะ

นิโรบล

 

ขอบคุณ อ.นิโรบล ครับ สำหรับข้อเสนอแนะ ที่เป็นจริงมากๆ เพราะพวกเราเจอปัญหานี้จริงๆครับ  เพราะ case นี้(case แรก) ตลอด 3 วันที่ทำ vac dressing  ต้องแยกเตียงผู้ป่วยออกมาครับ เพราะเสียงดัง แต่เนื่องจาก ward หญิงที่ดูแลผู้ป่วยไม่มีตัว Comco suction  ครับ คุณหมอประกาศิตแพทย์เจ้าของไข้ยังพูดแซวๆเลยครับว่าถ้าใครเห็นคงตลกน่าดู เลยแก้ปัญหาด้วยการ พักเครื่องครั้งละชั่งโมงทุก3-4 ชั่วโมง และตอนผู้ป่วยทำธุระส่วนตัวครับ

ใน case ต่อไป คงต้องใช้ Comco suction ตามที่อาจารย์แนะนำครับ(ใช้วิธีการบริหารอุปกรณ์ที่ทั้ง ร.พ.มี 1 เครื่อง)

ขอบคุณ อาจารย์นิรุบล อีกครั้งครับที่แนะนำวิธีการดูแลผู้ป่วยที่ดีๆแบบนี้ให้ได้ใช้กับผู้ป่วย (อ.วัลลาแจ้งว่า อาจารย์เป็นคนแรกที่เริ่มใช้เทคนิคนี้)

นิโรบล กนกสุนทรรัตน์

ยินดีที่มีส่วนแลกเปลี่ยนประสบการณ์คะ ไม่เคยใช้วิธีพัฒนาต่อยอดเช่นนี้มาก่อนเลย ไม่ทราบว่าผลลัพธ์ (แผล) เป็นอย่างไร ช่วยบอกกล่าวให้ทราบกันบ้างนะคะ  ที่ทำอยู่ปัจจุบันจะพยายามไม่หยุดการดูดคะ โดยเฉพาะหลังจากทีปิดด้วยชุดปิดแผลเดิมแล้วหลายวัน เกรงว่าจะเกิดการติดเชื้อ เพราะอาจมี bacteria เพิ่มจำนวนมากขึ้นระหว่างพักเครื่อง แม้ว่าจะถูกดูดออกทันทีเมื่อต่อเครื่องดูดใหม่ แต่ก็มีโอกาสสูงที่จะตกค้างอยู่ในรูพรุนของฟองน้ำ ยิ่งถ้าแผลนั้นมี slough ด้วยแล้วจะเสี่ยงสูงขึ้น ขณะนี้ดิฉันแก้ปัญหาโดยการใช้ขวด drianที่เป็น portable surgical vacuum bottle เช่น ขวด  radivac แทน เครื่อง suction ซึ่งมีข้อดี คือ ผู้ป่วยไม่ต้องอยู่โรงพยาบาล แต่มีข้อแม้ว่า ต้องปิด dressing ให้เป็น สุญญากาศได้จริง ๆ ถ้าปิดไม่สนิทก็จะไม่สามารถรักษาความเป็นสุญญากาศได้เลยหรือนานพอ ช่วยแนะนำวิธีส่งรูปหน่อยนะคะ เพราะอยากส่งรูปมาให้ดูคะ แต่ทำไม่สำเร็จ

ข้อแนะนำของอาจารย์นิโรบลมีประโยชน์มาก ต้องขอขอบคุณแทนสมาชิกเครือข่ายด้วย

อาจารย์นิโรบลส่งรูปมาให้พี่ทาง e-mail ก็ได้ แล้วจะนำขึ้นบล็อกต่อไป

ผมตามไปบันทึกภาพอีกหลายครั้งครับ จะแสดงภาพในบันทึกตัวใหม่ มองเท้าผู้ป่วยเบาหวาน(เพิ่มเติม) นะครับ เพราะด้วยความเป็เภสัชกรไม่ถนัดในเรื่องแผล เลยขออธิบายด้วยภาพก่อน แล้วผมจะเรียนถามคุณหมอประกาศิตที่ดู case นี้อยู่มาเสนอความก้าวหน้าให้ทราบครับ 

ได้มีโอกาสเห็นรองเท้าของจริง (คุณอเนกนำมาให้ดูที่งานตลาดนัดความรู้) ได้ย้ำไปว่ารองเท้าในรูปนั้นเป็นรองเท้าที่เราใช้ประยุกต์ในผู้ป่วยหลังจากใส่เฝือก อาจจะยังไม่เหมาะที่จะนำมาเป็นรองเท้าสำหรับผู้ป่วยเบาหวานทั่วไป แล้วจะส่งรูปรองเท้าที่ประยุกต์ใช้ที่ร.พ.เทพธารินทร์ไปให้ดูนะคะ และนอกจากนั้นยังรอรูปpodoscope จากคุณอเนกนะคะ อยากดูมากๆ ดีใจค่ะที่เห็นการพัฒนาอย่างรวดเร็วของธาตุพนม

ขอชื่นชมว่าเป็นทีมที่ work มากๆ แล้วรองเท้าก็ใช้ได้เลย หงา รบกวนถ่ายรูปด้านข้างของรองเท้าใหดูหน่อยนะจ๊ะ เอ่อแล้วรองเท้านี้ใช้กับใครยังไงเหรอ
บอกน้องหงานให้มาตอบให้แล้วครับ

รองเท้าที่ตัดเป็นตัวอย่างในช่วงแรกนี้ เป็นรองเท้าที่ประยุกต์  จากรพ.เทพธารินทร์ ใช้ในผู้ป่วยที่มีแผลที่เท้าก่อน เพราะเป็นรองเท้าที่ใส่และถอดง่าย  กระชับ แต่ไม่กดแผล 

หลังจากแผลหายจะทำการตัดรองเท้าคู่ใหม่ หรือดัดแปลงรองเท้าให้เข้ากับผู้ป่วยแต่ละรายค่ะ

ส่วนรูป ขอติดแนนไว้ก่อนนะ เดี๋ยวถ่ายได้เมื่อไหร่จะเอามาลงให้ดูนะจ๊ะ

ขอ ช่วยถ่ายภาพการเปลี่ยนแปลง ของ heel ulcer หลัง ใส่ Total contact cast ซักอาทิตย์ละรูปให้หน่อยนะครับ
เรียน อ.เชิดพงศ์  caseTotal contact cast รายแรกของเราไม่ประสบผลสำเร็จค่ะ  ผู้ป่วยรายนี้ค่อนข้างดื้ออยู่แล้ว  นอกจากไม่ยอมใช้ไม้ค้ำยันแล้วยังเดินลงน้ำหนักเต็มที่จนกลัวเฝือกแตก  สุดท้ายจึงต้องพิจารณาถอดเฝือกหลักจากใส่ได้เพียง 3 วันค่ะ
เรียน อ.เชิดพงศ์  caseTotal contact cast รายแรกของเราไม่ประสบผลสำเร็จค่ะ  ผู้ป่วยรายนี้ค่อนข้างดื้ออยู่แล้ว  นอกจากไม่ยอมใช้ไม้ค้ำยันแล้วยังเดินลงน้ำหนักเต็มที่จนกลัวเฝือกแตก  สุดท้ายจึงต้องพิจารณาถอดเฝือกหลักจากใส่ได้เพียง 3 วันค่ะ

น่าเสียดายทีเดียว  แต่เราสามารถมองสิ่งนี้ในเชิงสร้างสรร

สิ่งที่ถือว่า เป็นสิ่งที่ท้าทายที่สุด ในการดูแลคนไข้เรื้อรังอย่างเช่นเบาหวาน คือ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ของคนไข้ ซึ่งผมเชื่อว่า จะผ่านจากการEmpowering คนไข้ให้เป็นคนหนึ่งในทีมรักษานั่นเอง ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท