BARการเข้าร่วมประชุมSEARCH Research Forum on Neuro AIDS


จากการที่เคยเสียใจเพราะสงสารเจ้าตัวน้อยที่จากไปมาสู่การมองด้วยความรู้สึกเข้าใจต่อปัญหาและความต้องการทั้งต่อตัวเองและผู้เกี่ยวข้องมากขึ้น.ทำให้การกลับมาทำงานกับเคสเด็กอีกครั้งจึงดึงดูดใจและปลุกความกระตือรือล้นที่อยากจะเข้าใจและเรียนรู้จักระบบและกระบวนการดูแลรักษาเด็กติดเชื้อเอชไอวีให้มากยิ่งขึ้น

สืบเนื่องคุณหมอจุไร วงศ์สวัสดิ์ซึ่งเป็นผู้วิจัยหลักของสถาบันฯในโครงการวิจัยCIPRA(PREDICT STUDY)ได้กรุณาชักชวนให้มาเข้าร่วมเป็นทีมงานส่วนหนึ่งในการเก็บข้อมูลหรือตัวชี้วัดด้านจิตวิทยาและพฤติกรรมของเด็กในโครงการ. .จึงทำให้ตนเองจะได้มีโอกาสไปเข้าร่วมรับฟังความรู้และข้อมูลทางด้านNeuro assessmentในผู้ติดเชื้อ เอช ไอ วี จากผู้เชี่ยวชาญทั้งในและต่างประเทศ..ในวันที่8พย.ที่จะถึงนี้ตั้งแต่เวลา 8.30-17.00น.ณ.ห้องประชุม ชั้น 3 อาคาร1ศูนย์วิจัยโรคเอดส์ สภากาชาดไทย.

.หลายปีมาแล้วที่เคยได้เข้ารับฟังและอบรมความรู้ด้านNeuro AIDS จากนักจิตวิทยาของAlbion Street Centerออสเตรเลียตอนนั้นอาจารย์ได้แนะนำbatteries testและฝึกสอนวิธีการทดสอบและแปลผลซึ่งในตอนนั้นส่วนใหญ่จะเป็นการทดสอบในผู้ป่วยที่เป็นวัยผู้ใหญ่แต่ในครั้งนี้จะเป็นการวิจัยในกลุ่มเด็ก

ชึ่งอย่างในปัจจุบันจากที่พี่หน่อย(ผู้ให้การปรึกษาประจำกลุ่มกุมารเวช)ได้กรุณาคอยแลกเปลี่ยนและบอกเล่าทำให้พบว่าจากการที่เด็กได้เข้าถึงการรักษาด้วยยาต้านไวรัสทำให้เราสามารถพบเด็กติดเชื้อเอชไอวีที่มีอายุขัยยืนยาวมากขึ้นกว่าในสมัยการระบาดยุคแรกๆแต่สิ่งที่กำลังเผชิญอยู่นอกเหนือไปจากการสร้างระบบเปิดเผยผลเลือดและสร้างเสริมทักษะชีวิตเพิ่มเติมให้แก่เด็กๆที่กำลังโตเป็นวัยรุ่นหนุ่มสาวแล้ว   ..เราก็เลยเริ่มได้เห็นเด็กๆหลายคนปรากฎสภาพความพิการทางกายและการรับรู้เพิ่มมากขึ้นเช่นกัน

..ฉันเคยมีเคสเด็กคนโปรดอยู่คนหนึ่งแต่เขาเสียชีวิตไปนานเกือบสิบปีแล้วฉันชอบเรียกเขาว่าเจ้าหมูน้อยเป็นเด็กผู้ชายที่มีตาโตกลมสวยทั้งๆที่ป่วยและหน้าตาแขนขาผอมลีบลงแต่กลับพุงป่องเวลาเดินเขาจะเดินดูคล้ายนกเพนกวิน ..เป็นเด็กที่มีความน่ารักและน่าสงสารพอๆกัน..แม่เด็กเป็นเหมือนหญิงขายบริการเอาเจ้าหมูน้อยนี้มาฝากป้าคนงานรับจ้างล้างชามร้านข้าวต้มเป็ดให้ช่วยเลี้ยงแล้วก็ทิ้งไปไม่ติดต่อกลับ..ป้าก็ใจดีรักษาและดูแลเจ้าหมูน้อยมาจนเริ่มโตสี่ห้าขวบเด็กเริ่มมีอาการป่วยเป็นผิวหนังเรื้อรังและผอมลงเรื่อยๆ..ป้ายากจนไม่ค่อยมีสตางค์และมีคนรู้จักแนะนำจึงพาเจ้าหมูมาหาหมอที่โรงพยาบาลนี้..สมัยนั้นยังไม่มีสามสิบบาทและรพ.เราเองก็ยังพอมีเงินสงเคราะห์ค่ารักษาอยู่บ้าง..เจ้าหมูน้อยไม่ร้องไห้เลยเมื่อตอนต้องถูกเจาะเลือดเมื่อได้ผลรู้ว่าหมูน้อยติดเชื้อในตอนแรกฉันห่วงว่าป้าคนเลี้ยงจะยังยินดีรับหมูน้อยไว้ดูแลต่อไปหรือไม่แต่ป้าก็ยังรักและช่วยดูแลหมูน้อยต่อไปได้อีกสองปีก่อนที่จะพาหมูน้อยมาให้ทางรพ.ช่วยหาที่พักให้เพราะว่าหมูน้อยป่วยมากขึ้นและป้าเองก็มีอาการป่วยเหมือนกัน..เจ้าของร้านและชาวบ้านแถวนั้นทุกคนก็รู้ว่าหมูน้อยติดเชื้อแต่ก็ไม่มีใครรังเกียจกลับสงสารคอยให้ขนมและอาหารแก่สองคนป้าหลานนี้..สมัยก่อนยาต้านไวรัสยังมีไม่มากยิ่งในเด็กแทบจะนับชนิดได้หมูน้อยยังไม่ทันย้ายไปอยู่ที่ใหม่แต่ก็มาตายก่อนด้วยอาการท้องร่วงและปอดอักเสบ..ฉันพบป้าคนเลี้ยงอีกสองสามครั้งก่อนที่จะรู้จากเพื่อนบ้านว่าป้าย้ายไปอยู่บ้านบางแคแล้วจุดเด่นที่ฉันสนใจหมูน้อยก็เพราะเขามีปัญหาการพูด.เขาพูดเป็นคำๆและพูดออกเสียงเบามาก..หูไม่หนวกไม่ได้เป็นใบ้เข้าใจคำศัพท์ต่างๆได้ค่อนข้างดี การเคลื่อนไหวดูเหมือนปกติแต่ไม่ปกตินัก..ตาของหมูน้อยนั้นต่างหากที่สื่อให้รู้ว่าเขามีความรู้สึกดีใจเฉยชาเศร้าซึมอย่างไร.

.หลังจากหมูน้อยจากไปฉันก็ไม่ค่อยอยากที่จะเกี่ยวข้องกับเคสเด็กติดเชื้อเอชไอวีเท่าไหร่นักเพราะรู้สึกSympathyมากเกินไปแต่ตอนนี้ฉันรู้สึกมั่นคงมากขึ้นแล้วและคิดอยากจะเป็นส่วนหนึ่งในการที่จะช่วยเหลือให้เด็กได้รับการช่วยเหลือที่ดีและครอบคลุมมากขึ้น.

.หลายครั้งฉันนึกชื่นชมพี่หน่อยว่าพี่เขาปฏิบัติธรรมก้าวหน้าแล้วแน่นอนเพราะเคสเด็กแต่ละรายที่พี่เขานำมาเล่าและแลกเปลี่ยนเรียนรู้จะมีปัญหาซับซ้อนที่ต้องอาศัยความตั้งใจ การให้เวลา กำลังเงินและกำลังใจเข้ามาช่วย.

.ฉันเริ่มเข้าใจต่อความต้องการของตนเองหลังจากการได้ทำงานคลุกคลีกับผู้ใหญ่ที่ติดเชื้อเอชไอวีซึ่งพวกเขาหลายคนหลายชีวิตก็ได้ช่วยสอนให้ฉันเข้าใจถึงการดำรงอยู่และมีชีวิตที่มีความหมาย..มีหลายคนที่ฉากชีวิตของเขาสามารถจบลงได้อย่างสวยงามสมศักดิ์ศรี(เช่น ป้าสมปอง ,หมวย )แต่บางคนก็ล้มลุกคลุกคลานน่าอเน็จอนาจ..นี่คือที่เราได้พบบทเรียนจากผู้ใหญ่.

..ส่วนที่ฉันจะได้เรียนรู้จักจากเด็กนั้นเท่าที่เคยเห็นเคยฟังจากพี่หน่อยฉันรู้จักอยู่เรื่องหนึ่งก็คือเด็กๆมีพรสวรรค์ตามธรรมชาติในการเป็นผู้เยียวยาต่อตนเอง

โลกของเด็กแม้จะมีสีขุ่นมัวซึมเซาไปบ้างแต่ในภาพรวมแล้วก็ยังมีสีสันและความสดชื่นตอบแทนให้แก่ผู้เข้าไปสัมผัสเกี่ยวข้องกับตัวเขาอยู่เสมอ..

หมายเลขบันทึก: 57522เขียนเมื่อ 7 พฤศจิกายน 2006 00:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:15 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

อ่านเรื่องเล่าของ seangja ทำให้ได้คิดว่าการลปรร.เกี่ยวกับเคสเด็กๆเหล่านี้ ช่วยให้พวกเราเติบโตทางความคิด พวกเขาเป็นครูที่สอนบทเรียนชีวิตแก่เราทางอ้อม โดยที่เราไม่รู้ตัว(เด็กวอนสอนผู้ใหญ่)

เขาทั้งหลายช่วยให้เราได้คิดว่าปัญหาที่เราเจอทุกวันจากการทำงานเมื่อเทียบกันแล้ว ปัญหาเราเล็กน้อย เรื่องเล่าจากเด็กๆ เป็นแรงบันดาลใจทางอ้อมให้เราในการทำงาน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท