กิจกรรมบำบัดภาวะการนอนได้อย่างไร?


ขอขอบพระคุณกรณีศึกษา ก. ที่ให้โอกาสดร.ป๊อปได้ศึกษาจริงจังโดยนัดหมายให้สังเกต ประเมิน และให้กิจกรรมบำบัดที่บ้านน้อง ก. ตั้งแต่ 17.30 น. ของเมื่อวาน ค้างคืน และออกจากบ้านน้องก. 11.00 น.

หลังจากดร.ป๊อปได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับกรณีศึกษาน้อง ก. (วัย 20 ปี) ให้เข้าใจถึงภาวะความล้าทางความคิดสู่จิต กาย จนถึงวิตกกังวล (ย้ำคิดย้ำทำ) สู่ซึมเศร้ามานานมากกว่า 2 ปี น้องก.ก็ได้ไลน์มาบอกผมว่า "พี่ป๊อปครับ คืนนี้นอนไม่หลับ รู้สึกเศร้ามากๆ หงุดหงิดโมโหข้างใน อ่อนแรง ทรมาณจนอยากตายมากกว่าอยู่ ร้องไห้กับตัวเอง ผมไม่รู้จะทำยังงัย ไม่อยากให้พ่อแม่และหมอเครียด ผมรู้ว่าต้องแก่จากอารมณ์จริงๆ ครับ ทำอย่างไรดีครับผม"

ผมเลยตั้งใจทำการบ้านและอยากศึกษาจริงจังจึงขออนุญาตผู้ปกครองน้อง ก. เข้าไปสังเกต ประเมิน และทดลองกระบวนการพัฒนาทักษะการจัดการอารมณ์ในฐานะนักกิจกรรมบำบัดเชี่ยวชาญทางจิตสังคมหรือสุขภาพจิตคนแรกและคนเดียวของไทย โดยขอค้างคืนเพื่อศึกษาว่า เหตุทางจิตสังคมอะไรที่ทำให้น้องก.ไม่สามารถนอนหลับได้อย่างเป็นสุข?

และผมก็พบว่า มีสองเหตุทางจิตสังคม ได้แก่ ภาวะการปรับพฤติกรรมจากโรคไบโพล่าร์หรืออารมณ์แปรปรวนสองขั้ว (ขั้วซึมเศร้าเป็นภาวะส่วนใหญ่) กับภาวะกลัวสังคม ที่ได้รับการวินิจฉัยจากจิตแพทย์และได้รับยาอย่างเดียวมา 2 ปี โดยไม่ได้รับการพัฒนาทักษะชีวิตจากนักกิจกรรมบำบัด ... หลังจากมีปมความภาคภูมิใจต่ำหลังจากที่ไม่สามารถประสบความสำเร็จทางการเรียนตามที่คาดหวังไว้และต้องไปรักษาตัว 1 ปี แล้วกลับมาเรียนกับรุ่นน้อง แต่เพื่อนๆในรุ่นสอบเข้าปี 1 มหาวิทยาลัยหมดแล้ว ซึ่งน้องก.เป็นเด็กเรียนเก่ง 1 ใน 3 ของรร.แต่ก่อนจะมีปม ได้เกรด 4 ทุกตัวแต่คะแนนไม่ติด 1 ใน 10 ของรุ่น ทำให้เริ่มมีอาการนอนไม่หลับ ไม่อยากตื่นไปรร. เพราะรู้สึก "ใจหาย" ไม่มีเพื่อนและกลัวการไม่ยอมรับจากครูและเพื่อนๆเหมือนเดิม 

อีกเหตุทางจิตสังคม ได้แก่ บุคลิกภาพแบบย้ำคิดย้ำทำและสมบูรณ์แบบเนื่องจากเป็นคนชอบวางแผนและคิดนอนกรอบตั้งแต่เด็ก และมีภาวะโรคสมาธิสั้นไม่อยู่นิ่งตอน 7 ปี ได้รับยาจากจิตแพทย์และทดลองกินยาเพิ่มเองตอนสอบ โดยไม่ได้รับการพัฒนาทักษะใดๆจากนักกิจกรรมบำบัด

เมื่อคืนหลังจากดร.ป๊อปพยายามสร้างความไว้ใจและแสดงบทบาทเป็น "พี่ชาย" น้องก.ก็ยอมที่จะออกจากบ้านเป็นครั้งแรกไปทานอาหารเย็นกับครอบครัว (ตรงกับรูปแบบอารมณ์เศร้าที่เวลา 17.00-20.00 น.) และจากทานอาหารไม่ลงบ่อยครั้ง ก็ต้องกระตุ้นไม่เกิน 5 ครั้งพร้อมตั้งคำถามและพูดให้กำลังใจและสัมผัสตัวให้ผ่อนคลาย ก็ทำให้น้องก.ทานอาหารได้หมด แต่ก็ยังคิดมากมากกว่าแสดงความรู้สึกถึงรสชาดอาหาร เมื่อกลับมาถึงบ้าน ดร.ป๊อปก็พยายามกระตุ้นความคิดให้รับรู้ตนเองด้วยการวัดชีพจรให้คงค่าปกติ 60-90 ครั้งต่อนาที มีการหายใจเข้า นับในใจ 1-5 และหายใจออก นับในใจ 1-10 ถ้ารู้สึกเหนื่อยใจ (ค่าสูงกว่า 90 ครั้งต่อนาที ก็ให้หายใจออกทางปากในท่าขณะทำกิจกรรมนั้นๆ มิให้ล้มลงในท่านอน) หรือถ้ารู้สึกหน้ามืด เบื่อ นำ้ตาไหล หาวนอน (ค่าต่ำกว่า 90 ครั้งต่อนาที ก็ให้หายใจสบายๆ ไม่กำหนดจำนวนครั้ง อยู่ในท่านอน ยกขาสูงกว่าหัวใจเล็กน้อย แล้วใช้มือวางให้รับความรู้สึกของการหายใจด้วยตนเองที่หน้าท้อง วัดชีพจรทุกๆ 3-5 นาที จำนวน 3 ครั้งจนค่าอยู่ที่ปกติ) แล้วก็ตั้งใจให้วางแผนทำกิจกรรมต่อไปอย่างค่อยเป็นค่อยไป เช่น อาบน้ำอุ่นให้ผ่อนคลายตามด้วยน้ำเย็นหลังถูสบู่ให้สดชื่น แต่งตัวสบายๆ แล้วก็เปิดห้องเย็นๆ มาพูดคุยกันถึงเทคนิคการจัดการอารมณ์ [Acknowledgement: www.en.wikipedia.org] และการสงวนพลังงานให้เหลือพอตื่นมาด้วยอารมณ์ไม่เศร้าและพร้อมๆที่จะไปโรงเรียนได้ (ตรงกับรูปแบบอารมณ์ตื่นตัวมีพลังงานที่เวลา 20.00-03.30 น.) ซึ่งครอบคลุมการฟื้นความทรงจำเชิงบวก การปรับโหมดฟังเพลงเศร้าสลับกับเพลงสุข การออกกำลังกายที่ใช้ออกซิเจนสลับกันหลายๆชนิดพร้อมฝึกหายใจลึกนานเท่าอายุ รวมกัน 20 นาที (แต่ถ้าไม่มีสุขภาวะทางเพศด้วยการช่วยตนเองและฝันเปียกน้อยหรือมากกว่า 1-2 ครั้งต่อสัปดาห์ ครั้งละมากกว่า 5 นาที ก็บ่งชี้ว่าต้องออกกำลังกายเพิ่มเป็น 20 นาที) การสร้างอารมณ์ขันและไม่ย้ำว่า น้องก.ยังคงป่วยและมีปัญหาที่ต้องแก้ไข" กับครอบครัว รวมทั้งการประชุมทางการกับโรงเรียนเพื่อเพิ่มทางเลือกว่าจะจบม.6 แบบ Project-based learning ให้งานมาทำตอนที่มีพลังงานกลางคืนหรือบ่าย เข้าโรงเรียนได้เท่าที่น้องทำได้ หรือเรียนการศึกษานอกโรงเรียน หรืออื่นๆ โดยขอความช่วยเหลือจากสมาคมบ้านเรียนไทย 

ถ้าปรับตารางให้นอนเร็ว 22.00 น. ก็จะหลับได้จริงตอน 03.30 น. เพราะสมองปรับเวลาเป็นตื่นตัวในตอนกลางคืนแล้วมานาน ทำให้น้องก.ไม่สามารถตื่นนอนเพื่อไปโรงเรียนได้จริงในตอน 6.30 น. ตื่นมาด้วยอารมณ์เศร้าและไม่อยากไปรร. แม้พยายามจะตื่นเองบ้างแต่ก็จะมีอาการอ่อนแรง เบื่อ เพลีย ใจหาย และขอล้มตัวลงนอนที่โซฟารับแขกจนตื่นอีกทีแบบมีพลังงานที่น้อยกว่ากลางคืนครึ่งหนึ่งที่เวลา 13.00-17.00 น. ก็จะเข้าวงจรเดิมข้างต้น 

แต่เมื่อคืนผมสอนเทคนิคการผ่อนคลายโดยให้สัมผัสที่หัวใจและหน้าท้องแล้วหายใจเข้าออกที่หน้าท้องช้าๆ พร้อมให้ฟังเสียงตัวเองสัก 3 ครั้งว่า "หลับตา ผ่อนคลาย สบาย นอนหลับ แล้วตื่นขึ้นมาด้วยความสุข" แล้วก็สะท้อนข้อมูลให้น้องก.ทราบว่า ชีพจรผ่อนคลายอยู่ในค่าปกติ หลับให้สบายๆๆ แล้วดร.ป๊อปก็พยายามตื่นขึ้นมาด้วย "ใจของพี่ชาย" มาทำแบบนี้ซ้ำๆ ทุก 2 ชม. หลังจากส่งน้องนอนและผมนอนเตียงข้างๆ เวลา 01.00 น. ก็พบว่า น้องพยายามนอนอย่างผ่อนคลายแต่ก็หลับไม่สนิท แล้วหลับได้สนิทตอน 03.30 น. จึงได้แนะนำให้ฝึก Dark Therapy ติดต่อกันศุกร์ เสาร์ อาทิตย์  [Acknowledgement: www.psychoeducation.org] และที่สำคัญน้องมีภาวะย้ำคิดย้ำทำในกิจกรรมการจัดยา กิจกรรมการจัดกระเป๋าเรียน กิจกรรมการวางแผนฝึกต่างๆ ที่เขียนบนกระดาษซ้ำๆ ซึ่งดูแล้วก็พอรับได้คือไม่เกิน 3 รอบต่อหนึ่งกิจกรรม แต่ที่มากกว่า 5 รอบในทุกๆ 5 นาทีหลังจากนอนคือ ลุกไปปัสสาวะและรู้สึกว่า ออกเพียง 1-2 หยดก็ยังต้องลุกไปเป็นประจำมา 6 เดือนแล้ว ดร.ป๊อปจึงแก้ไขโดยนอนเฝ้าข้างเตียง เมื่อใดที่น้องจะลุกไป ก็จะแตะที่หน้าท้องน้อยแล้วให้น้องพูดเสียงที่ได้ยินชัดคือ "ฉี่ไปแล้ว ตอนนี้ไม่ปวด นอนต่อได้ๆๆ" แล้วพยายามคุมไม่ให้น้องลุกไปเข้าห้องน้ำ ก็ทำให้น้องลุกไปลดลงเหลือ 2 ครั้งเท่านั้น ทำให้น้องนอนเพิ่มขึ้น นอกจากนั้นก็แนะนำให้มีแก้วน้ำแล้วทาน 1 แก้ว ก็ให้มองแก้วว่า ไม่มีน้ำแล้ว จะถ่ายรูปไว้เป็นหลักฐานก็ได้ จะได้ลดย้ำคิดย้ำทำ ผมสำเร็จสุดท้ายคือ น้องตื่นได้แบบมีพลังงานเหลือ 9/10 คะแนน รู้สึกสดชื่น ฝืนเศร้าเล็กน้อย และใช้เวลาเตรียมตัว 6.30-7.00 น. แล้วให้ดร.ป๊อปกระตุ้นไม่เกิน 4 ครั้งในการเปลี่ยนชุดนอนเป็นชุดนักกีฬาแล้วก็ขึ้นรถไปเดินออกกำลังกายในสวนสาธารณะและทานอาหารเช้าได้เยอะอ่ย่างอร่อย เมื่อกอดน้องและย้ำความรู้สึกที่ได้รับแทนการคิดวางแผนก็พบว่า "น้องก.บอกว่ารู้สึกดีมากๆ และขอบคุณมากครับพี่ป๊อป"

ทั้งหมดนี้ ดร.ป๊อป ก็ทำเต็มความสามารถแล้ว และเพียงหวังว่า เมื่อไรประเทศไทยจะมีระบบการช่วยเหลือน้องๆ แบบนี้อย่างจริงจังและช่วยสร้างบุคลากรทางสุขภาพจิตเพื่อการบำบัดภาวะการนอนที่มืออาชีพมากขึ้น มิใช่ให้แต่ยาแล้วก็ทำลายอนาคตของเด็กดีๆแบบนี้

หมายเลขบันทึก: 575066เขียนเมื่อ 24 สิงหาคม 2014 15:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 สิงหาคม 2014 15:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

สวัสดค่ะ คุณหมอ   Dr. Pop ครูทิพย์  หายไปเสีย นานค่ะ เนื่องจาก สุขภาพ   วันนี้ดีขึ้นจึงมีกำลังใจ  ออกท่องเที่ยว  เพราะเป็นกิจกรรมที่ชอบ   ได้อ่านกิจกรรมบำบัดของคุณหมอแล้วมีประโยชน์ดีค่ะ   หวังว่าคุณหมอคงจะสบายดีนะคะ  และอย่าลืมไปเยี่ยมครูทิพย์นะคะ

สวัสดีครับ ดร.ป็อป

เข้าใจว่าตัวผมคนหนึ่งครับที่มีอาการย้ำคิด แต่ไม่ย้ำทำมากเท่าไหร่ ในบางเรื่องที่มีปัญหาหากยังไม่ได้แก้ไข แก้ปัญหา หรือจัดการกับเรื่องนั้น ก็จะนำมาคิดวนเวียนอยู่ไม่จบสิ้น 

อย่างเรื่องงานที่ค้างคาอยู่เมื่อวันศุกร์ ก็จะคิดอยู่ถึง2วัน กว่าจะถึงวันจันทร์ ที่พอไปถึงหน้างานก็ไม่ต้องอาศัยการจัดการอะไรมากหรอก เพียงแค่ได้พูดคุยกับทีมงาน กับหัวหน้า ก็จะผ่านไปด้วยดี

ปัญหาคือ 2 วันที่เป็นวันหยุดนี้สิ ได้หยุดโดยไม่สุขเท่าไหร่ พยายามจะหากิจกรรมอื่นๆทำ พยายามจะใช้ธรรมะช่วย แต่พอเผลอ ก็จะคิดเรื่องนั้นขึ้นมาอีก 

เคยเป็นเมื่อตอนป่วยและรักษาไวรัส-ซี เมื่อ 2 ปี ถึงขั้นใช้ยานอนหลับ

โชคดีที่ปัจจุบันนอนหลับได้ง่ายกว่าเมื่อก่อน ไม่ต้องใช้ยานอนหลับ

แต่ก็ยังเก็บไปฝันอยู่

อยากถาม ดร.ป๊อป ว่า

ผมเป็นโรคย้ำคิดย้ำทำหรือไม่ครับ

ขอบพระคุณมากครับคุณครูทิพย์ ผมสบายดีครับ ขอให้คุณครูทิพย์มีสุขภาพแข็งแรงและมีความสุขกายสบายใจในทุกๆวันนะครับผม 

ขอบพระคุณมากครับคุณพ.แจ่มจำรัส อาจจะไม่มีโรคค้างแต่ยังคงมีภาวะย้ำคิดย้ำทำตามบุคลิกภาพ แต่ก็มีความสุขได้แน่นอนด้วยการปฏิบัติธรรมด้วยการเจริญสติ 

Dr.Pop ... ได้ทำงานช่วยคนเยอะเลยนะคะ   ดูแลสุขภาพด้วยนะคะ

ขอบพระคุณมากครับพี่ดร.เปิ้น ผมก็พยายามดูแลสุขภาพเต็มที่ก่อนดูแลผู้รับบริการทางกิจกรรมบำบัดครับผม

แทบทุกบันทึกที่อาจารย์ตั้งคำถามถึงระบบดูแลเด็กๆ ที่มีปัญหานะคะ พี่เองก็อยากเห็นค่ะ

เจอคนไข้มีปัญหาการนอนทุกวัน  ส่งไปแผนกจิตเวชก็จะได้ยา  จริงๆ แล้วมีวิธีบำบัดที่ไม่ต้องใช้ยาใช่มั๊ยคะ แต่ต้องใช้เวลา

ถูกต้องเลยครับพี่ Nui การใช้ยามีผลทางลบมากและหลายเคสที่เลิกยาไปเอง จึงทำให้เกิดช่องว่างว่าทำไมไม่มีระบบการใช้ยาร่วมกับระบบการฟื้นฟูสุขภาวะการนอนหลับ ใช้เวลามากๆเลยครับและต้องฟื้นฟูแบบตัวต่อตัว ขอบพระคุณมากครับผม

ขอบพระคุณมากครับพี่โอ๋ คุณเพชรน้ำหนึ่ง และคุณมะเดื่อ 

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท