ความเหลื่อมล้ำ (Gap) : ช่องโหว่ทางสังคม


 ครั้งเมื่อผมมีโอกาสไปร่วมสัมนา   ประมาณในปี 2000   ตอนที่ไปเรียนหนังสือช่วงปีแรก   ในหัวข้อ  "Education for All"   ครั้งหนึ่ง  ร่วมกับนักศึกษาจากหลายประเทศ  โดยเฉพาะกลุ่มเพื่อนจากแอฟริกา   อินเดีย  และเอเชีย           ครั้งนั้น  ที่ประชุมได้ยกเรื่องผลการจากการประชุมที่หาดจอมเทียน  พัทยา  ชลบุรี     เมื่อปี 1990     ซึ่งมักเรียกกันติดปากกันว่า    Jomtian  Declaration 90   ซึ่งเป็นเจตนารมณ์ร่วม   ที่ได้จากการประชุมครั้งนั้นมาถกกันในเวทีครั้งนี้มาก     จนหลังการประชุมมีอาจารย์ท่านหนึ่งที่เป็น   key speaker  เดินมาถามผมว่า  "จอมเทียน  นี่เป็นจังหวัดใช่มั๊ย?"   
ในการสัมมนามีหัวข้อหนึ่งที่พูดกันมากในเรื่อง   ICT     โดยยก  case  ประเทศอินเดีย   ซึ่งทราบกันดีว่าเขามี  นัก ICT  ดีๆ เยอะทีเดียว   จนแม้แต่ในประเทศเยอรมันในขณะนั้น   ก็เปิดโอกาสให้  green card  แก่นัก ICT  จากประเทศอินเดียไปหลายคน       แต่สิ่งหนึ่งที่เป็นข้อสังเกตในใจผมในตอนนั้นมาก   ก็คือ   ทำไมตัวเลขของผู้คนที่อ่านหนังสือไม่ออก  ซึ่งหมายถึงคนที่ไม่ได้เข้าโรงเรียน   หรือเข้าเพียงสั้นๆไม่กี่ปี  ในอินเดียจึงมีเป็นจำนวนมาก    หากเปรียบเทียบกับหลายๆประเทศในกลุ่มใกล้เคียง   แม้เราลองมาดูข้อมูลหลังจากนั้นอีก   ทิศทางก็เปลี่ยนไปไม่มากนัก

Facts about illiteracy

According to UNESCO, in the world today there are about 1 billion non-literate adults.
     This 1 billion is approximately 26 percent of the world's adult population.
     Women make up two-thirds of all non-literates.
    98 percent of all non-literates live in developing countries.
     In the least developed countries, the overall illiteracy rate is      49 percent.
     52 percent of all non-literates live in India and China.
     Africa as a continent has a literacy rate of less than 60 percent.   
     In Sub-Saharan Africa since 1980, primary school enrollment has declined, going from 58 percent to 50 percent.
     In all developing countries, the percentage of children aged 6-11 not attending school is 15 percent.  

    In the least developed countries, it is 45 percent.(UNESCO 1998)

ข้อมูลจาก  International Literacy Day   September 7, 2001     Washington, DC

สิ่งหนึ่งที่ค้างคาในใจผมก็คือ    "ทำไมช่องว่างในสังคมหนึ่งๆ  มันถึงสูงขนาดนี้"   ถึงแม้จะเป็นข้อมูลไม่ทั้งหมดก็ตาม     ถึงแม้ว่าข้อมูลดังกล่าวจะไม่ใช่ของบ้านเมืองเราเสียทีเดียวก็ตาม   แต่เรื่องอื่นเราก็มีปรากฏการณ์ทำนองนี้เหมือนกัน       เราคงจะไม่ไปคิดแทนใครเขาว่าต้องทำอย่างไร?    แต่สิ่งหนึ่งที่ย้อนถามตัวเอง   ในขณะนั้นก็คือ...

   "สิ่งที่กลุ่มประเทศซึ่งถูกตีตราว่าเป็นประเทศกำลังพัฒนานั้น   ทำไมจึงมีช่องว่างเยอะเหลือเกิน?"
   "ช่องว่างเหล่านั้น  เกิดมาจากอะไร?"
   "ยิ่งพัฒนาเยอะ  ทำไมช่องว่างจึงยิ่งปรากฏเยอะขึ้น?" 
   "เรายังจะวิ่งตามกลุ่มประเทศที่เขาเรียกตัวเองว่าพัฒนาแล้วอย่างนั้นหรือ?"

   "พัฒนาอะไร   พัฒนาอย่างไร  เพื่ออะไร  เพื่อใคร  ใครเป็นผู้ที่ควรตอบคำถามนี้มากที่สุด?"

    "และใครควรเป็นผู้กำหนดเส้นทางเดินของประเทศเรา   ไม่ใช่เราอย่างนั้นหรือ?"

    "เราควรภูมิใจกับตัวเลข GDP  ที่โตขึ้นอย่างนั้นหรือ   ในขณะที่พี่น้องเราอีกมากมายก่ายกองได้รับค่าแรงขั้นต่ำอย่างถูกแสนถูก  และได้รับการจัดสรรสวัสดิการสังคมที่แสนจะด้อยคุณภาพ  แต่มักเป็นเครื่องมืออย่างดีสำหรับนักการเมืองเสมอมา  ผู้ซึ่งมีเงินเดือนเพียง 1 เดือนก็มากกว่าผู้ใช้แรงงานที่ต้องทำงานกันเป็นปี?"

   "แล้วทำไมต้องมีคนขายแรงงานมากขึ้น    มีคนอพยพเข้ามาหางานทำในเมืองมากขึ้น?"

   "ทำไมเราต้องตามกระแสโลก  ทั้งๆที่เราไม่ได้มีส่วนในการกำหนดใดๆเลยๆ"

  "และเรากำลังเรียนวิธีการพัฒนา  จากใคร  เพื่อไปพัฒนาใคร?"

       

  

หมายเลขบันทึก: 57501เขียนเมื่อ 6 พฤศจิกายน 2006 21:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 พฤษภาคม 2012 10:22 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท