​"๑๐ ปีเต็ม แล้วสินะ สำหรับการเป็นครู" ... (วาระครบรอบ ๑๐ ปี)


...

"๑๐ ปีเต็ม แล้วสินะ สำหรับการเป็นครู"

...

คำรำพึงเบา ๆ สำหรับผม
ที่ไม่ได้ตะโกนออกบอกใคร
เก็บความภาคภูมิใจเอาไว้คนเดียว

...

ภาพที่ ๑ ... นักศึกษาเอกปฐมวัย รหัส ๔๖ จบแล้วก็บรรจุเป็นครูเด็กเล็กกันหมด

...

เป็นโชคชะตาหรือพรหมลิขิตยังไงไม่ทราบ
จับพลัดจับผลู En't ติดคณะผลิตครูที่พิษณุโลก

แต่ "ครู" ก็ไม่เคยเป็นความใฝ่ฝันว่าตัวเองจะเป็น
เพียงแต่ตั้งเป้าหมายเอาไว้ในใจว่า

อยากเรียนให้สูงที่สุดอย่างน้อยปริญญาโทขึ้นไป
ถึงแม้ในใจจะรู้ตัวเองจะเรียนหนังสือไม่เก่ง

ใช้ชีวิตเป็น "เด็กหลังห้อง" มาตลอด
การเรียนก็ไม่แตกฉาน หลายอย่างก็ไม่เข้าใจ

นอกเหนือจะการประมาณตนไว้เท่านี้
ว่าอย่างน้อยก็ En't ติดกับเขา

แต่ก็จะเรียนให้สูงที่สุด เพื่อทดแทนการเรียนไม่เก่ง
และมันยังเป็นการพิสูจน์ความมุ่งมั่นของตัวเองว่า

"จะทำได้ไหม"

...

ภาพที่ ๒ ... ห้องพักอาจารย์ห้องแรก ชั้น ๘ กับนักศึกษาเอกเทคโนโลยีการศึกษา รหัส ๔๖ รุ่นแรกที่สอน

...

เมื่อเรียนจบ ก็บอกตัวเองเสมอว่า

"จะไม่สอบบรรจุเด็ดขาด"

เหตุผลใหญ่ ๆ ก็คือ

๑. ไม่อยากเป็นครู แต่อยากเป็นแค่นักวิชาการ
ตัวเล็ก ๆ ในมหาวิทยาลัยก็พอ

๒. ไม่สามารถควบคุมและสอนเด็กเล็ก ๆ
ระดับประถมและมัธยมได้แน่ ๆ (ไม่รักเด็ก 555)

๓. จะไปสอนใครได้ ในเมื่อเรียนหนังสือ
ยังเรียนไม่เก่งเลย แถมตอนเรียนก็เป็น
"การฝึกงาน" ไม่ใช่ "การฝึกสอน"
เพราะเรียนสายเทคนิคการสอน
(รู้สึกละอายใจมากกว่า)

...

ก็เลือกจะไปสอบเรียนต่อ ป.โท ให้ได้แทน
และก็ได้เรียนสมใจ ถึงแม้จะหวุดหวิด
ทั้งตอนสอบเข้าและสอบจบก็ตาม

แล้วก็เลือกที่จะทำงานในมหาวิทยาลัยจริง ๆ
ใช้เวลา ๕ ปีแรกอยู่หลายมหาวิทยาลัยมาตลอด

เพื่อน ๆ ร่วมรุ่น ป.ตรี ได้บรรจุเป็นครูเกือบทั้งรุ่น
จากเพื่อน ๙๑ คน

...

ภาพที่ ๓ ... เป็นหนึ่งในทีมงานการจัดนิทรรศการประมวลความรู้ของนักศึกษา ป.บัณฑิตวิชาชีพครู
๘ ห้องเชียงใหม่ ๔ ห้องแม่ฮ่องสอน ซึ่งเห็นงานใหญ่ขนาดนี้ แต่มีคนทำงานจริง ๆ เพียง ๕ คนเท่านั้น
ที่หลายท่านรู้จักในโครงการ "โรงเรียนแห่งความสุข" นั่นแหละ

...

ถึงแม้ว่าไม่อยากเป็นครูประถมหรือมัธยมก็จริง
แต่ความฝันลึก ๆ คือ การมีโอกาสเป็น

"อาจารย์มหาวิทยาลัย"

เพราะมีภาวะติดการทำงานอยู่ในมหาวิทยาลัย
ชอบความกว้างขวาง
ชอบอ่านหนังสือจากห้องสมุดที่มีเยอะแยะ
ชอบกิจกรรมในมหาวิทยาลัย (ชอบอ่านหนังสือศุภักษร)
ชอบงานวิชาการ ด้านความรู้ต่าง ๆ

เหตุผลสุดท้าย คือ การลบคำสบประมาท
จากเพืื่อนที่เรียนด้วยกันหลายคน
ตั้งแต่ ป.ตรี ในวิชาเอกแล้ว

การไม่แสดงออก ไม่ได้หมายความว่า ทำไม่เป็น
แต่หมายความว่า ทำเป็นก็ไม่จำเป็นต้องอวดอ้าง
การไม่แสดงออกนี้ กลายเป็นคำดูถูกในวิชาเอก

หรือแม้เรียน ป.โท จบคนสุดท้ายของรุ่น
ใช้เวลานานกว่าคนอื่น

แต่ที่ภาคภูมิใจ คือ เราแน่นในงานวิจัยของตัวเอง
เราไม่ได้คัดลอกงานของใครมาส่งมั่ว ๆ
และเราก็เข้าใจกระบวนการทั้งหมด

ไม่ฉาบฉวย รีบจบ แต่ไร้ศักยภาพเหมือนหลายคนทำ

ดังนั้น การเป็น "อาจารย์มหาวิทยาลัย"
จึงเป็นความมุ่งมั่นข้อต่อไปที่จะทำให้ได้

...

ภาพที่ ๔ ... นักศึกษา ป.บัณฑิต ทุน สควค. รุ่นแรกที่มีโอกาสได้สอน เป็นนักศึกษาที่เรียนจบสายวิทยาศาสตร์มา
แล้วมาเรียนต่อสายครู ทำให้คนเป็นครูไม่เก่งอย่างผม ต้องใช้พลังลมปราณค่อนข้างมาก เพื่อปราบปรามเด็กเก่ง IQ ดี
ให้เขาไปเป็นครูที่ดีให้ได้

...

แล้วในที่สุด หลังการทำงานเป็นนักวิชาการมา ๕ ปี
ก็มีมหาวิทยาลัยหนึ่งเปิดรับอาจารย์สาขาเทคโนโลยีการศึกษาพอดี
เมื่อโอกาสเปิด เราก็ใช้โอกาสนั้นให้เต็มที่
ถึงแม้จะไม่ดี หรือ ไม่เก่งเท่าไหร่ก็ตาม

สอบได้อันดับ ๒ คะแนนปฏิบัติได้ที่ ๑ แต่คะแนนทฤษฎีสู้ครูประจำการ
ที่มาสอบไม่ได้ คะแนนรวมจึงได้แค่ที่ ๒

แต่คนมันจะต้องเป็นครู ยังไงมันก็ได้เป็น
อันดับ ๑ สละสิทธิ์ เพราะเป็นข้าราชการครูอยู่แล้ว
ไม่สามารถโอนมาได้ เสียดายความเป็นข้าราชการ
จึงไม่มา ผมจึงถูกเรียกแทนด้วยเหตุฉะนี้

...

เป้าหมายการเป็น "อาจารย์มหาวิทยาลัย" บรรลุผลแล้ว
หลังจากใช้เวลามาถึง ๕ ปี

...

อย่าถามว่า ผมรู้จักความเป็นครูไหม
เพราะผมก็ไม่รู้เหมือนกันว่า มันเป็นยังไง

ฝึกสอนก็ไม่เคยฝึก เขียนแนวการสอน
ยืนสอนหน้าห้องก็ไม่เคย

ลบกระดาน เขียนกระดาน ยังไม่เป็นเลย

เรียกได้ว่า ผมยังห่างไกลกับคำว่า "ครู" นัก

...

ภาพที่ ๕ ... แล้วก็ต้องมาคุมนักศึกษาในโครงการผลิตและพัฒนาครูสู่ความเป็นเลิศ ด้วยเหตุใดก็ไม่ทราบ
คงเป็นความรับผิดชอบกระมัง อีกอย่างผมชอบเรื่อง "นอกกรอบคิดของการผลิตครูมาก" จึงยินดีย่ิ่งที่จะเข้ามาดูแล

...

๑ มิถุนายน ๒๕๔๗ วันเริ่มต้นของการเป็นครู

...

เทอมแรกเข้าไปสอน ก็ดูเก้ ๆ กัง ๆ
ต้องอาศัยเรียนรู้จากอาจารย์อาวุโส
วิธีไหนดี เราเอามาใช้
วิธ๊ไหนที่เราคิดว่า ไม่เหมาะสม เราก็ไม่เอามา

เรียกว่า "ครูพักลักจำ" ไว้ก่อน

สอนไปเรื่อย ๆ เริ่มทำความรู้จักความเป็นเด็กมหาวิทยาลัย
ของที่นี่ได้ดีขึ้น เริ่มเข้าใจว่า มันช่างต่างจาก
มหาวิทยาลัยใหญ่ ๆ ที่เราเคยอยู่มาก

เด็กเป็นเด็กที่ขาดโอกาส ยากจนค่อนข้างมาก

การจะไปเอามาตรฐานจากมหาวิทยาลัยใหญ่
ดูจะไม่เหมาะสมอย่างยิ่ง

ยิ่งจะหาเด็กที่เรียนเก่ง ๆ จริง ๆ
ก็ถือว่า ค่อนข้างน้อยมาก

ดังนั้น ก็ต้องหาวิธีสอนแบบ "ยาก" ไป "ง่าย"
จาก "ไม่รู้" ให้ "รู้"
จากคะแนนสอบ "มาก" เปลี่ยนเป็นคะแนนชิ้นงาน "มากกว่า"

เป็นโชคดีอย่างหนึ่ง คือ "การเรียนไม่เก่ง" นี่แหละ
ที่ให้ผมเข้าใจเข้าไปถึงก้นบึ้งของลูกศิษย์หลายคน
ว่าเขารู้สึกอย่างไร เขาคิดอย่างไร
เพราะตัวผมก็เคยเป็นมาก่อน

คนเรียนไม่เก่ง ไม่รู้เรื่อง ไม่เข้าใจ
ก็ต้องมานั่งดูเพื่อนที่เก่งเรียน
อาจารย์ก็จะชื่นชมพวกนี้มาก
เด็กหลังห้องอย่างเรา ไร้คนเหลียวแล
อธิบายแค่ไหน ก็ไม่เข้าใจ

ไม่ใช่เราไม่อยากเก่ง ไม่อยากเข้าใจ
แต่อาจารย์ที่เราพบมา ล้วนไม่อยากสอนเรา
แต่สอนให้ตัวเองเข้ามากว่าตัวเรา

แล้วจะให้เรียนก่งได้ยังไง

...

นั่นคือ การหาเรื่องสอนให้เด็กรู้
ไม่ต้องเรียนเก่งก็ได้ ;)...

...

ภาพที่ ๖ ...ตอกมัดกล้า และเพื่อน ๆ ครูเป็นเลิศ ไหว้ขันอินทขิลที่วัดเจดีย์หลวง

...

สำหรับเรื่อง "จิตวิญญาณแห่งความเป็นครู" นั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร

ตอบว่า "ไม่รู้ตัว" มันคงเกิดขึ้นพร้อมกับคำถามในใจหลายเรื่อง

เช่น ทำไมเด็กบางคนที่พ่อแม่อาบเหงื่อนต่างน้ำส่งเงินมาให้เรียน
ถึงไม่ได้ตั้งใจเรียนเลย ขี้เกียจ กินเหล้า เที่ยวกลางคืน
ติดแฟน เวลาเรียนก็ไม่ค่อยเข้าเรียน สอบก็ตก

พอเกรดออกมาก็ตกต่ำย่ำแย่

การเห็นเรื่องชีวิตเหลวแหลกของเด็กพวกนี้
บอกผมว่า ผมควรจะต้องทำอะไรสักอย่างให้เขาตื่นขึ้นมา
ให้เขาได้ตระหนักรู้ว่า เขากำลังมาทำอะไรที่นี่

...

และมีเรื่องราวอีกหลายเรื่องมาตอกย้ำเรื่องนี้อีก เช่น

อาจารย์ไม่สอนคน สอนแต่หนังสือ

อาจารย์ไม่ตรวจงาน ปล่อยเกรดตามอำเภอใจ

อาจารย์บางคนก็ไม่สอนหนังสือ เอาแต่พูดแต่เรื่องตัวเองในห้องเรียน

อาจารย์บางคนประพฤติตนไม่สมควรเป็นครูอาจารย์
และเป็นต้นแบบให้กับเด็กเลย

ฯลฯ

...

มันช่างเป็นแรงกระตุ้นอย่างรุนแรง จนทำให้ผมบอกตัวเองว่า

เราจะต้องเป็นต้นแบบ เป็นครูที่ดี ให้เขาเห็น
ประพฤติปฏิบัติทุกอย่าง ไม่ทำอะไรตามอำเภอใจ

ดังนั้น กระบวนการหล่อหลอมความเป็นครูให้กับเขาจึงเริ่มขึ้น
แบบค่อย ๆ เป็น ค่อย ๆ ไป แบบสอดแทรกอยู่ทุกอณูของการสอน

...

เช็คชื่อ ตั้งใจสอน ฝึกเรื่องแต่งกาย
การใช้ชีวิตในสังคม มารยาททางสังคม
วิธีคิด การทบทวนตนเอง
การนับถือตนเองในการทำงานด้วยมือตนเอง
แต่เน้นที่สุด คือ "ความกตัญญูต่อพ่อแม่"

ผมเชื่อมั่นว่า "หากเด็กมีข้อนี้ ทุก ๆ ข้อก็จะตามมาเอง"

มันเป็นเรื่องจริง

ดังนั้น ผมเลิก "สอนหนังสือ" ไปนานแล้ว แต่ผมกำลัง "สอนคน" แทน
มาจนถึงปัจจุบัน ๑๐ ปีแล้วสินะ

...

ภาพที่ ๗ ... นักศึกษารุ่นปัจจุบันที่ยังเรียนอยู่ ตอนนี้น่าจะขึ้นปี ๓ แล้ว

...

อาจารย์หลายคน บอกว่า ผมโหดร้ายเกินไป
อาจารย์หลายคน บอกว่า จะได้ผลหรือ
อาจารย์หลายคน บอกว่า น่าจะปล่อย ๆ ไปบ้าง
อาจารย์หลายคน บอกว่า สอนแบบนี้เราเหนื่อยนะ
อาจารย์หลายคน บอกว่า อย่ามาเรียนกับอาจารย์คนนี้
(คือมาเรียนกับตัวเอง แล้วเกรดจะดี แต่ไม่ได้สอน)

ส่วนข่าวอื่นที่นักศึกษาบอกต่อกันไป คือ 

"งานเยอะ"

"เกรดยาก"

"ตรวจเครื่องแต่งกาย"

"ละเอียด"

แต่

"เรียนรู้เรื่อง"

และ ณ ปัจจุบัน 

ผมจะให้เด็กที่เข้าเรียนคาบแรก
ไปถามรุ่นพี่ รุ่นน้อง เพื่อนที่เคยเรียนกับผมว่าเป็นยังไง
แล้วให้ตัดสินใจเองว่า จะเรียนต่อไหม
จะ DROP ก็ตามใจ

แต่ผมจะไม่เฉลยว่า ตัวตนผมเป็นยังไง
จนกว่าจะได้ "สู้" และเรียนกับผม

ดังนั้น หากมีคนเลือกเรียนก็ผมน้อยก็ไม่ต้องแปลกใจ
ในเมื่อกระแสสังคมส่วนใหญ่ บอกว่า

"ไม่ต้องทำอะไรก็รวยได้"
"ไม่ต้องทำอะไรก็ได้เกรดดี ๆ"

ทุกคนรักสบายมากกว่าจะต้องการฝึกฝนตนเอง

...

ผมไม่สนใจ

แต่ผมเชื่อว่า "หากเขาแค่ใจสู้ เขาจะได้มากกว่าที่เขาคิด"

หากอยากจะเกลียดแค่ไหนก็ตามสบาย
ผมคิดว่า ตัวเองทำสิ่งที่ถูกต้องแล้ว
ทำสิ่งที่อาจารย์คนอื่นไม่ยอมทำ

ดังนั้น การเป็นต้นแบบไม่ใช่เรื่องง่าย
มันต้องมาจากใจ และออกมาที่การกระทำ

...

เหมือนจะเป็นหน้าที่และความรับผิดชอบ
แต่การเป็นครูมันมากกว่านั้น

...

มันคือ "จิตวิญญาณ"

...

๑๐ ปีเต็มแห่งการเป็นครู
๓๐ ภาคเรียนแห่งการสอนติดต่อกัน

ไม่รู้เหมือนกันว่า เป็นไปได้ยังไง
แต่มีความสุขมากครับ

...

ทั้ง ๆ ที่ไม่เคยคิดว่า "อยากจะเป็นครู" ตรงไหนเลย

...

เขียนบันทึก ระลึกถึง ครบรอบ ๑๐ ปี สักนิด
บันทึกจากใจ ดูยืดยาว
ขออภัย ผู้ผ่านทางเข้ามาอ่านด้วยครับ

...

บุญรักษา ครูดีทุกท่านครับ

...

หมายเลขบันทึก: 574922เขียนเมื่อ 21 สิงหาคม 2014 23:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 สิงหาคม 2014 20:51 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (24)

การเป็นครู มันคือ "จิตวิญญาณ

๑๐ ปีเต็มแห่งการเป็นครู    ===>  เยี่ยมจริงๆๆ ค่ะ  "เป็นคุณครู"   ที่ดีจริงๆ ค่ะ  


เดียวพี่เปิ้นต้องไปเขียน  33ปี  ของการทำงานด้านสาธารณสุข บ้างหละค่ะ


ขอบคุณค่ะ

ขอชื่นชมและให้กําลังใจอาจารย์ครับ



เย่ ๆ ๆ ศิษย์รุ่นแรก ปี 46 มารายงานตัวค่ะอาจารย์

เมื่อหันกลับไปทบทวนชีวิต
1 ทศวรรษ...
ย่อมพบพานร่อยรอยแห่งน้ำตา และรอยยิ้มอย่างแจ่มชัด เสมอ
เราล้วนเติบโตมาจากอดีต...
อดีต คือรากเหง้า
.... ครับ....

ออวยพรและเป็นกำลังใจในวิชาชีพครูเพื่อศิษย์ ที่ไม่จบสิ้นค่ะ...

พี่เป็นอีกคนนะคะที่รักและศรัทธาความเป็น "ครู" มาตลอด แต่ไม่มีโอกาสเป็นครูอย่างฝัน

จึงชอบอ่านบันทึกของ "ครู" ค่ะ  โดยเฉพาะคุณครูนักอ่านคนนี้

ยินดีในวาระ ๑ ทศวรรษการเป็นครูนะคะอาจารย์

ขอบคุณมากครับ พี่เปิ้น Dr. Ple ;)...

คือ "รากเหง้า" คือ "ความเป็นไป" นะครับ คุณ แผ่นดิน ;)...

เหน็ดเหนื่อยมิย่อท้อ

มุ่งมั่นต่อสืบปณิธาน

ผ่านข้ามทศวรรษ

....

ยินดียินดียิ่ง

มิ่งมิตรครูผู้ยิ่งอดทน

ฝึกฝนศิษย์ยิ่งดี

^_,^

ดีใจด้วยนะคะคุณครูเงา

ว่าแต่ ....  ครบ  ๑๐  ปีแล้ว  ไม่อยากเปิดเผยใบหน้าสักนิดหรือคะ 

ถามไปงั้นแหละค่ะ    รู้คำตอบประมาณไหน   ๕ ๕ ๕ ๕

ดวงชะตาฟ้าลิขิตมาให้เป็นครู หนีไม่พ้นความเป็นครู 

รออ่านบทความดีๆจากคุณครูนะคะ ^^

10 ปีผ่านไป ไวเหมือนโกหก...อิ อิ

แวะมาชื่นชมและให้กำลังใจคุณครูดีค่ะ..

..ทำแล้วมีความสุขก็ทำต่อไปนะคะ...

ขอบคุณแทนเด็ก ๆ ค่ะ..;>>>

ขอบคุณมากครับ คุณหมอธิ ธิรัมภา กัลยาณมิตรแดนไกลลิบ ๆ ;)...
หน้าตาคงมิใช่ทางเลือกในการคบหากันใช่ไหมครับ 555

ขอแสดงความยินดีด้วยครับ

ที่ได้ทำอาชีพที่มีความสุข

เป็นอาชีพที่ประเสริฐ

ขอบคุณมากๆครับ

ขอบคุณอาจารย์ ขจิต ฝอยทอง เช่นกันครับ ;)...

ที่ยังทำหน้าที่นี้อยู่โดยไม่เสื่ื่อมคลาย

เป็นบทความที่น่าอ่านมากค่ะ หนูก็อยากเป็นอาจารย์มหาลัย จะพยายามเหมือนกันนะค่ะ หลายๆสิ่งที่อาจารย์เขียนมันทำให้ย้อนกลับมาดุตัวเอง แล้วย้อนกลับมาดูความฝันตัวเอง ขอบคุณนะค่ะ

ตั้งความฝันเอาไว้ สักวันหัวใจจะเดินทางครับ น้อง วิราวรรณ สอนแปง ;)...

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท