การนิเทศการศึกษาตามนโยบายการบริหารการเปลี่ยนแปลงของ สพท.สตูล


การนิเทศการศึกษาตามนโยบายการบริหารการเปลี่ยนแปลง
การนิเทศการศึกษาตามนโยบายการบริหารการเปลี่ยนแปลง  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสตูล---------------------------ความเป็นมา                 ปีการศึกษา  2546 - 2547 คะแนนคุณภาพการศึกษาของนักเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสตูลยังไม่เป็นที่น่าพอใจ          ส่งผลกระทบต่อสถานศึกษาหลายประการ เช่น  ไม่ผ่านการประเมินภายนอกในมาตรฐานที่  5 ด้านผู้เรียน  คือผู้เรียนมีความรู้และทักษะที่จำเป็นตามหลักสูตร     นักเรียนสอบแข่งขันได้น้อย  ผู้ปกครองไม่พึงพอใจ    สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสตูลจึงได้กำหนดวิธีการนิเทศการศึกษาเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว โดย   การนิเทศการศึกษาตามนโยบายการบริหารการเปลี่ยนแปลง  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสตูลขึ้นวัตถุประสงค์1.       พัฒนาคะแนนคุณภาพการศึกษา ปีการศึกษา 2548   2.      พัฒนาคะแนนผลการดำเนินงานตามคำรับรองการปฏิบัติราชการประจำปี 2548  ประโยชน์1.       ผู้ปกครองมีความเชื่อมั่นในการจัดการศึกษาของโรงเรียน2.       นักเรียนชนะการประกวดกิจกรรมต่าง ๆกิจกรรม / วิธีการ / ขั้นตอนสำคัญ                1.  วางแผน  (Plan)                        1.1  วิเคราะห์คะแนนคุณภาพการศึกษา  ปีการศึกษา 2546 และ 2547                     1.2  วิเคราะห์ผลการดำเนินงานตามคำรับรองการปฏิบัติราชการ ปี พ.ศ. 2547                     1.3  วิเคราะห์คะแนนสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษา และจุดเด่น  จุดด้อย อื่น ๆ                     1.4  จัดทำแผนปฏิบัติการนิเทศ ที่เน้นการมีส่วนร่วมในระดับสถานศึกษา และนโยบายการบริหารการเปลี่ยนแปลง  ระยะ 1 ปี                 2. ดำเนินการตามแผน  (Do)                     2.1  นำกระบวนการบริหารการเปลี่ยนแปลงซึ่งเป็นนโยบายสำคัญของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสตูลมาเป็นฐานในการนิเทศ  เช่น  นิเทศสมรรถผู้บริหารสถานศึกษา   นิเทศศูนย์เครือข่าย   นิเทศการปฏิบัติงานตามคำรับรองการปฏิบัติราชการ  ฯลฯ    2.2   ปฏิบัติการนิเทศแบบร่วมคิดร่วมทำกับสถานศึกษา โดยกำหนดเป็นแผนระยะสั้น     2.3   ศึกษานิเทศก์รับผิดชอบข้อมูลและการประสานงานเป็นรายศูนย์เครือข่าย    2.5   นิเทศเดือนละ 1 ครั้ง และเพิ่มความถี่ในโรงเรียนที่ต้องดูแลเป็นพิเศษ    2.6   ผลการนิเทศที่เป็นจุดด้อยนำมาเขียนโครงการดำเนินงานพัฒนาต่อเนื่องตลอดปี  เช่นจัดประชุมปฏิบัติการแบบ พาทำ    จัดอบรมให้ความรู้   ศึกษาดูงาน ฯลฯ  2.7  ส่งเสริมการแก้ปัญหาการเรียนการสอนโดยวิธีวิจัยในชั้นเรียน  2.8 จัดกิจกรรมการนิเทศแบบ คุณขอมา  คือ  เมื่อโรงเรียนมีปัญหาติดต่อศึกษานิเทศก์ประจำศูนย์เครือข่ายของตน  ศึกษานิเทศก์จะไปช่วยเหลือทันที  2.9 ประชาสัมพันธ์กิจกรรมเด่นของโรงเรียนทางเไซต์ สพท.สตูล  คือ http://www.osesa.net/    และ เวบไซต็กลุ่มนิเ  คือ http://www.nitessatun.com/   2.10  จักิจกรรมนิเทศออนไลน์ทางเวบไซต์กลุ่มนิเทศ   เมื่อโรงเรียนมีปัญหาส่งE Mail ไปยังศึกษานิเทศก์โดยตรงจะตอบข้อสงสัย หรือ ไปนิเทศที่โรงเรียนทันที           3. ตรวจสอบและประเมิน  (Chack)                    3.1 ศึกษานิเทศก์และบุคลากรใน สพท.สตูล  ติดตาม  ประเมินผลโรงเรียน / ศูนย์เครือข่ายที่รับผิดชอบ ศึกษาการพัฒนา สรุปผลรายเดือน / รายภาค                  3.2  สังเกตพฤติกรรมการสอน  ร่วมกันปรับปรุงวิธีสอนกรณีโรงเรียนร้องขอ  3.3 โรงเรียนรายงานผลการพัฒนาภาพรวมรายปีไปยัง สพท.สตูล  3.4  สรุปรายงานผลการนิเทศรายภาคและรายปี            4. ปรับปรุงและพัฒนา (Action)                    4.1  สรุปประเด็นที่ยังคงเป็นปัญหา  นำไปปรับปรุงพัฒนา                  4.2  เผยแพร่ผลงานโดยทางเอกสารและอินเตอร์เน็ต(เว็บไซต์)ผลการดำเนินงาน1 .   คะแนนคุณภาพการศึกษา ปีการศึกษา 2548  พัฒนาขึ้นร้อยละ 4.68 3.       คะแนนผลการดำเนินงานตามคำรับรองการปฏิบัติราชการประจำปี 2548  พัฒนาขึ้น เป็น 4.739ข้อเสนอแนะ1.       ก่อนปฏิบัติการนิเทศควรสร้างความเข้าใจกับโรงเรียนเกี่ยวกับการร่วมกันพัฒนา  ไม่ใช่การจับผิด2.       เน้นการนิเทศแบบกัลยาณมิตร 
หมายเลขบันทึก: 57448เขียนเมื่อ 6 พฤศจิกายน 2006 17:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:15 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท