การเรียนรู้ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมท้องถิ่นด้วยเทคนิควิจัย “วิทยาศาสตร์เชิงชาติพันธุ์”


การนำความรู้ที่มหาวิทยาลัยมีใส่ผ่านการอบรมให้ชาวบ้าน แต่ควรเป็นการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างนักวิจัย และชาวบ้าน ในการยอมรับความคิดเห็นของชาวบ้าน การให้ชุมชนเกิดการเรียนรู้ที่ยั่งยืน

             เทอมนี้ผมสอนนิสิตปริญญาเอก เทคโนโลยีการศึกษาในรายวิชา การจัดการความรู้ภูมิปัญญาไทย แต่เป็นการสอนโดยกลุ่มหรือทีม อาจารย์ในภาควิชา 5 คน และในช่วงเวลาเดียวกัน ยังไม่ทันเข้าสอน ก็มีผู้เชี่ยวชาญชาวต่างประเทศ แต่มาทำวิจัยมาเก็บข้อมูล เกี่ยวกับท้องถิ่นในประเทศไทย ในเรื่องต่างๆ พอดี

 Prof. J. Lin Compton

 Prof. J. Lin Compton


              โดยประเด็นการประชุมเชิงปฏิบัติการ ตั้งประเด็นไว้ว่า การเรียนรู้ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมท้องถิ่นด้วยเทคนิควิจัย “วิทยาศาสตร์เชิงชาติพันธุ์”  โดย จากมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน มาบอกเล่าประสบการณ์ในการทำวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งก็นับว่าเป็นการดี ที่นิสิตปริญญาเอกเทคโนโลยีการศึกษา ได้เข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว ด้วย โดย เป็นการเข้ารับฟังการบรรยาย การทำกิจกรรม และการลงพื้นที่ที่จังหวัดเลยเพื่อเก็บข้อมูลในพื้นที่ <p>         ประเด็นของการพูดคุย คือการวิจัยเพื่อพัฒนาชุมชน การสร้างความเข้มแข็งของชุมชน ไม่ใช่การเอาความรู้ไปให้ การนำความรู้ที่มหาวิทยาลัยมีใส่ผ่านการอบรมให้ชาวบ้าน แต่ควรเป็นการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างนักวิจัย และชาวบ้าน ในการยอมรับความคิดเห็นของชาวบ้าน การให้ชุมชนเกิดการเรียนรู้ที่ยั่งยืน
</p><p>              นักวิชาการ อาจารย์ เมื่อลงไปชุมชน เป็นคนภายนอก เมื่อเข้าไปสู่ชุมชนมักมองชาวบ้านในแง่ลบ มองว่าไม่มีความรู้จะนำความรู้ไปให้ ชาวบ้านเองก็จะมองตนเองว่าเป็นคนไม่มีความรู้ แต่ความจริงแล้วชาวบ้านมีความรู้มากมาย ความรู้จากพ่อแม่ ปู่ย่าตายาย ที่ถ่ายทอดความรู้จากรุ่นสู่รุ่น
 </p><p>              ฟังฝรั่งพูดมาสองสามคนแล้ว ทำให้รู้สึกว่า แนวโน้มการวิจัยกำลังเปลี่ยนไป จากการวิจัยที่เป็นเชิงปริมาณ ที่เราชาวนักวิจัย นักเทคโนโลยีการศึกษา กำลังใช้เป็นเครื่องมือในการหาความรู้ หาคำตอบ อาจเป็นเครื่องมือที่ไม่สามารถหาคำตอบ หาทางออกของปัญหาได้เพียงลำพังเท่านั้น แต่คำตอบบางคำตอบ อาจต้องการการบอกเล่า การถ่ายทอดประสบการณ์ และความเข้าใจ การฟังความคิดเห็นของคน เป็นเครื่องมือในการหาความรู้ที่เรียกว่า การวิจัยเชิงคุณภาพ แล้วกระมัง</p><p>               </p>

หมายเลขบันทึก: 57381เขียนเมื่อ 6 พฤศจิกายน 2006 11:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:36 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

อืมมม เห็นด้วยกับดร.รุจโรจน์นะคะ...และชอบคำพูดที่ว่า  "คำตอบบางคำตอบ อาจต้องการการบอกเล่า การถ่ายทอดประสบการณ์ และความเข้าใจ การฟังความคิดเห็นของคน เป็นเครื่องมือในการหาความรู้ที่เรียกว่า การวิจัยเชิงคุณภาพ แล้วกระมัง"

 

ขอบคุณน้องนิวครับ เข้ามาแจมอย่างรวดเร็ว สมกับเป็นนักไอทีจริงๆ
  • มาช้ากว่าน้องนิว
  • แต่ชอบงานวิจัยเชิงคุณภาพมากกว่าครับ
  • ขอบคุณมากครับผม

 การลงชุมชนที่ด่านซ้ายน่าตื่นเต้นมาก เสียใจสำหรับท่านที่ไม่ได้ไป  ภาพและเรื่องเล่าเร้าพลังจะนำมาฝากทีหลัง แต่จะบรรยายความรู้สึกหลังจัดงานก่อน 

ในฐานะนิสิตช่วยการดำเนินโครงการ Ethnoscience ครั้งนี้ ช่วงแรกคิดว่าต้องยาก ต้องเหนื่อย เวลากระชั้นคงไม่พร้อมเท่าที่ควร  แต่ก็ดำเนินไปด้วยดี รู้สึกประทับใจมาก แม้จะมีขลุกขลักอยู่บ้างแต่ก็ผ่านไปด้วย ในโอกาสนี้ขออนุญาตเป็นตัวแทนศึกษาศาสตร์ มน. เขียนขอบพระคุณผู้เข้าอบรม Ethno. ทุกท่านที่สละเวลาด้วยเพราะเห็นความสำคัญของการแสวงหาความรู้เพื่อชุมชน และงานนี้จะไม่สามารถสำเร็จได้ จนสร้างพลังแห่งศรัทธาสู่สังคมในวิชาชีพคณาจารย์ หากขาดการประสานงาน การรวมพลังของชาวศึกษาศาสตร์ ทั้งผู้ใหญ่ และพี่ๆ ฝ่ายสนับสนุน โดยเฉพาะพี่นุ่มคนเก่ง งานวิชาการชุมชน หน่วยฝึกอบรม และดร.อมรรัตน์ วัฒนาธร ผู้ช่วยคณบดีคณะศึกษาศาสตร์ ม.นเรศวร รายละเอียดจะนำมาเล่าให้ฟังต่อใน Planet Ethnoscience 

ขอบคุณครับที่ ช่วยเข้ามาบอกเล่าความรู้สึก

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท