คิดเรื่อง OLPC แล้วคิดถึงอาจารย์หมอวิจารณ์


ผมพยายามทำระบบเพื่อ "storytelling" มาตั้งนานแล้วครับ ดังที่เคยได้เล่าใน "AAR ครบรอบหนึ่งปี GotoKnow.org " ความพยายามที่จะทำ ThaiSpot.com และ NeoThailand.net นั้นล้มเหลวไม่เป็นท่า มาได้เข้าท่าขึ้นก็กับ GotoKnow.org นี่เอง

ถึงเวลานี้น่าจะไม่มีคนสงสัยแล้วว่า "storytelling" มันดีต่อ KM อย่างไร และคงไม่มีคนสงสัยแล้วว่า blog มันไม่ใช่ webboard มันต่างกันเยอะ และ blog ไม่ใช่ diary ให้เด็กเขียน

ในตอนนี้ที่ KnowledgeVolution เริ่มได้เป็นรูปเป็นร่างขึ้นเยอะพอประมาณแล้ว คงไม่มีคนสงสัยอีกแล้วว่าทำไมเราจบตั้งปริญญาเอกมาสองคนนี่ มาเที่ยวขอทุนทำ webboard หรือ diary ได้อย่างไร ทำไมไม่ทำอะไรที่มัน "ก้าวหน้า" ด้านระบบสารสนเทศ

นี่ยังไม่นับโครงการ ThaiCal.com และ DotThailand.com ที่ยังไม่ได้อธิบายให้ใครฟังทีนะครับ เพราะยังไม่ได้เริ่ม ต้องเอา KnowledgeVolution ให้เข้าที่ก่อน โครงการที่จะเข้ามาเสริมเหล่านั้นก็จะเข้าพอดี

ที่เราทำได้ทั้งหมดนี้ ก็เป็นเพราะการสนับสนุนจากบุคคลคนเดียวครับ เราต้องกราบขอบพระคุณอาจารย์หมอวิจารณ์ซึ่งเป็นบุคคลที่ "เข้าถึง" "เข้าใจ" "เปิดใจ" และ "มองไกล" กับวิสัยทัศน์ด้านเทคโนโลยีได้ลึกซึ้งมาก

อาจารย์หมอวิจารณ์ "เข้าใจ" ทั้งๆ ที่ในตอนที่เราไปขอทุนนั้น แม้ blog แบบธรรมดา ไม่ได้แบบที่ออกแบบเพื่อ KM อย่างนี้ ยังไม่มีใครในโลกมอง blog เพื่อ KM ด้วยซ้ำเพราะ blog เติบโตมากับ "Citizen Journalism" และปัจจุบันในระดับโลกเรื่อง journalism ก็ยังเป็นประเด็นหลักของ blog อยู่

การนำ blog มามุ่งเป้าเพื่อ KM ในระดับ large scale ขนาดนี้นั้น ประเทศไทยเราทำที่แรกนะครับ

แล้วตอนนี้เราก็เริ่มเข้าสู่ช่วง go beyond blog แล้วด้วย ในเรื่องความคิดเราเป็นผู้นำแล้วครับ อีกไม่นานถ้าทุกอย่างเป็นอย่างที่เราวางแผนไว้ ต่างประเทศต้องมาดูงานที่เราแล้วครับ

ไม่ได้โม้ แต่เล่าให้ฟัง ถ้าไม่เล่าก็คงไม่รู้ ต้องเล่าก่อนที่นายทุนสื่อมวลชนที่ไหนสักแห่งมาบิดเบือนความจริงอีก

ถ้าวันนั้นอาจารย์หมอวิจารณ์บอกว่า blog ก็คือ webboard เราก็จบครับ ประเทศไทยก็ไม่ได้มีโอกาสรู้ว่า เครื่องมือการจัดการความรู้ผ่านระบบเครือข่ายนั้นมันไปได้เยอะกว่า webboard มากนัก

เราคงต้องไปทำงานให้ฝรั่ง และให้ฝรั่งเป็นคนได้ประโยชน์ ส่วนคนไทยค่อย "ตาม" ทีหลัง

เหมือนงานวิจัยเรื่องอื่นๆ อีกมากมายที่ทำโดยคนไทย แต่คนไทยไม่ได้มีเอี่ยวในความสำเร็จเลย

น่าเสียใจที่คนอย่างอาจารย์หมอวิจารณ์ไม่ได้เป็นรัฐมนตรีกระทรวง ICT

ไม่งั้น OLPC คงไม่มีจุดจบในประเทศไทยที่ "อุจาด" ขนาดนี้

เราปล่อยให้คนที่มีวิสัยทัศน์ระดับเห็นว่า OLPC เป็นแค่ "คอมพิวเตอร์ และเป็นแค่ "ของเล่น" มาบริหารกระทรวง ICT ได้อย่างไรนะ

นี่มันเป็นเรื่องน่าเศร้ามากของประเทศไทย

เชื่อผมสิ อีกหลายปีหลังจากนี้ การตัดสินใจถอนตัวจากโครงการ OLPC จะเป็นอีกเรื่องที่คนไทยต้อง "อาย" ในเวทีระดับโลก เหมือนหลายๆ เรื่องที่เรา "อาย" กันอยู่

อยากรู้จริงว่า รมต. ICT คนนี้จะแก้ตัวว่าอย่างใรในอนาคต

เราช่วยจำกันไว้นะครับ ว่าเขาให้เหตุผลที่ถอนตัวจากโครงการว่าอย่างไร เมื่อถึงเวลาเขามาอ้อมแอ้มแก้ตัวในอนาคตด้วยเหตุผลร้อยแปดพันเก้า เราจะได้มีหลักฐานยันเขาได้

ยันไปเลยว่า ไม่ต้องมาแก้ตัว คุณมันไร้วิสัยทัศน์เอง!!

หมายเลขบันทึก: 57342เขียนเมื่อ 6 พฤศจิกายน 2006 08:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:15 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท