จุ่ม...แต่ไม่จม


เป็นวิธีบังคับจิตใจ ให้สามารถรับรู้และช่วยเหลือคนที่แสนทุกข์ได้...โดยที่เราไม่ทุกข์ไปด้วย
ต่อจากบันทึก "เก่ง..ดี..มีสุข"  พี่มาริษายังเล่าให้ฟังว่า  อาจารย์(หมายถึงผู้ดำเนินการให้ความรู้เรื่องจิตตปัญญา ซึ่งท่านเรียกตนเองว่า "กระบวนกร") ยังบอกว่า....บางครั้งคนเรา ได้มีโอกาสเข้าไปรับรู้เรื่องราวที่เป็นทุกข์ของคนอื่น ก็เกิดความเห็นอกเห็นใจ ให้ความช่วยเหลืออย่างเต็มที่ แต่ได้ของแถมกลับมาก็คือมีความรู้สึกสลดหดหู่กับเขาไปด้วย...
และในที่สุด  หากไม่สามารถหลุดออกจากความทุกข์นั้นๆได้ ผลสุดท้ายก็คือกลายเป็นคนที่ไม่มีความสุข เศร้าสร้อย อาจหนักจนถึงขั้นที่ไม่สามารถทำงานต่อไปได้ก็มี...
ท่านกระบวนกรจึงแนะนำว่า วิธีที่ดีที่สุดก็คือ เมื่อต้องรับรู้เรื่องทุกข์ใดๆ ของผู้อื่น (เช่นความทุกข์ของคนไข้...)  ก็ให้ทำเหมือนกับการเอาใจเราใส่ลงในน้ำ ต้องควบคุมจิดใจเราให้จุ่มลงไปให้หมด เพื่อให้รับรู้ถึงความทุกข์ของเขาอย่างแท้จริงและพร้อมจะช่วยเหลืออย่างเต็มที่  แต่ต้องไม่จม  คือเมื่อผ่านพ้นเรื่องราวนั้นแล้วก็สามารถลอยขึ้นมาเหนือน้ำได้อีกครั้งหนึ่ง
 จุ่ม แต่ไม่จม....ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งค่ะ ที่จะควบคุมให้ใจเรามีความสุขได้ ถึงแม้ว่าจะต้องพานพบกับเรื่องทุกข์ๆ ที่เราต้องเข้าไปสัมผัสและช่วยเหลือมากมายเพียงใดก็ตาม.....
คำสำคัญ (Tags): #เรียนรู้#ใจ
หมายเลขบันทึก: 57256เขียนเมื่อ 4 พฤศจิกายน 2006 14:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:14 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
อันนี้คนละอันกับจิ้มจุ่ม ใช่ไหมค่ะ
  • คุณรัตติยาเขียนคห. ทำให้ตัวเองนึกหิวขึ้นมาเลยค่ะ-อิอิ
  • พี่เม่ยค๊ะ ผู้เขียนก็เป็นค่ะ รับฟังเรื่องเศร้าสลดหดหู่ ก็จมไปกับเขาด้วยเหมือนกัน คล้าย ๆ กับดูหนังน๊ะค่ะ ถ้าเป็นหนังเศร้า ชีวิตรันทด ประมาณนั้น อดคิดไม่ได้ว่าตัวเองแสดงเป็นนางเอกในเรื่องไปได้ --โดนล้อทุกที (แต่จมไม่นานน๊ะค๊ะ )

 

  • ทำยากจังเลยค่ะพี่เม่ย    ถ้าลองได้จุ่มเมื่อไหร่ล่ะก็  จมทุกที   เค้าเรียกว่า innnnnn
  • สงสัยต้องไปฝึกวิทยายุทธกับพี่มาริษาแล้วล่ะค่ะ
  • ขอบคุณกับสาระดี ๆ ค่ะพี่เม่ย
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท