เรื่อง OLPC ไม่เขียนไม่ได้


เมื่อวานผมเขียนบันทึกชื่อ "OLPC เรื่องเศร้าระดับโลกของเด็กไทยเพราะความไร้สาระของผู้ใหญ่" ซึ่งผมปิดเอาไว้ไม่ให้คนอ่านเพราะมีความเห็นที่รุนแรงไม่สมควรให้คนอื่นอ่านในช่วงปีนี้

แต่อย่างไรก็ตาม เรื่องที่ประเทศไทยยุติการเข้าร่วมโครงการ OLPC (One Laptop Per Child) นั้น ถ้าผมจะไม่เขียนบันทึกเพื่อรายงานให้ท่านผู้ใช้ใน GotoKnow.org ทราบก็คงไม่ได้

เมื่อวานนี้ ในขณะที่บราซิลได้รับเครื่องต้นแบบแล้ว ประเทศไทยกลับยกเลิกโครงการนี้ ดังที่เป็นข่าวใหญ่ด้านเทคโนโลยีไปทั่วโลก สร้างชื่อด้านลบให้แก่รัฐบาลปัจจุบันในสายตานานาชาติว่ามีปัญหาที่น่าสงสัยด้านเทคโนโลยี

นักวิเคราะห์มองว่านี่เป็นหนึ่งในความพยายามที่จะปิดกั้นการรับรู้ข้อมูลข่าวสารของประชาชนไทย เพราะ OLPC ใช้เทคโนโลยี Mesh Networking ซึ่งปิดกั้นได้ยากมาก นี่เป็นความพยายามปิดกั้นข่าวสารของรัฐบาลที่มาจากการแต่งตั้งของทหาร เช่นเดียวกับรัฐบาลทหารของประเทศเผด็จการอื่นๆ ทั่วไป

อีกมุมหนึ่งนักวิเคราะห์มองว่าเป็นการพยายามเอาใจนายทุนอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์ที่จะถูกกระทบโดยโครงการ OLPC มุมนี้นักวิเคราะห์มองด้วยความสงสัยในความโปร่งใสในการทำงานของรัฐบาลไทย

ไม่ว่ามุมไหนก็ไม่ดี เรื่องนี้เป็นเรื่องที่รัฐบาลคงต้องหาทางแก้ตัวกันต่อไป

เราคนไทยคงไม่มีส่วนที่ต้องไปช่วยรัฐบาลแก้ตัว แค่รู้ว่าเด็กไทยขาดอุปกรณ์ที่จะเข้าถึง "ปัญญา" อย่างที่เด็กในประเทศโลกที่สามอื่นๆ กำลังจะได้รับก็พอแล้ว

การทำ GotoKnow.org ที่เรากำลังทำอยู่นี้ก็ลดความหมายลงไปเยอะ เราจะทำแม่ข่ายของ "ปัญญา" กันไปทำไม ในเมื่อไม่มีใครมีโอกาสเข้าถึงเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ "ปัญญา"

ผมบอกตรงๆ ผมเซ็งสุดๆ ทำไมประเทศไทยช่างเป็นประเทศที่อัปโชคด้าน "ปัญญา" เช่นนี้นะ
หมายเลขบันทึก: 57236เขียนเมื่อ 4 พฤศจิกายน 2006 10:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:14 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)
  • แวะมาให้กำลังใจครับ
  • คงมีหนทางอื่นอีกครับอาจารย์
  • เหรียญมีสองด้านครับผม

ผมเป็นคนหนึ่งที่ไม่เห็นด้วยกับโครงการ OLPC เพราะคิดว่า คนไทยไม่ได้ขาดแคลนเทคโนโลยีขนาดนั้น เรามีคอม และอินเตอร์เน็ทอยู่เหลือเฟือสำหรับผู้ไขว่คว้าปัญญา (ร้านเกมทั้งหลายใช้เครื่อง spec สูงกว่า Laptop นี่อีก) แต่แล้วคีย์เวิร์ดยอดนิยมของเราก็อยู่แค่คำว่า เกมส์ ฟังเพลง ดูดวง หรือที่เกี่ยวข้องกับสื่อลามกอนาจารอื่นๆ

 

สิ่่งสำคัญน่าจะเป็น การสร้างความสามารถในการเรียนรู้ (ทั้งจากสิ่งแวดล้อมและอินเตอร์เน็ท) มากกว่าสนับสนุนการครอบครองอุปกรณ์คอมพิวเตอร์นะครับ  

เหรียญมันก็มีสองด้านอย่างคุณขจิตว่า --

  • ด้านหนึ่งถ้าเด็กนำไปใช้กับการเรียน สร้างสรรค์ก่อเกิดปัญญาก็ดีไป
  • แต่ถ้าอีกด้านหนึ่งเด็กนำไปเล่นเกม หรือใช้ในทางอื่นที่ไม่สร้างสรรค์ล่ะ

สังเกตุตัวอย่างตอนนี้(ที่เห็นๆ ) เด็ก ๆ อยากมีคอมพิวเตอร์ก็คืออยากจะมีไว้เพื่อเล่นเกม ถ้าได้เกมดีสร้างสรรค์ และเสริมสร้างปัญญาก็ดีไปอย่าง แต่นั่นแหละพ่อแม่ก็ต้องควบคุม ดูแลอย่างใกล้ชิด

ตัวเองไม่มีความเข้าใจเรื่องโครงการ OLPC มากนัก แต่อาจเป็นเพราะรัฐบาลชุดนี้เน้นนโยบาย ความพอเพียง ไม่ตามกระแส ไม่เติบโตเร็วเกินไป และโดยปรกติทุกโรงเรียนก็น่าจะมีคอมพิวเตอร์ให้เด็ก ๆ ได้เรียนอยู่

ก็เป็นแค่ความเห็นเล็ก  ๆ แต่อาจแตกต่างจากมุมมองใกล้ตัวผู้เขียน ค่ะ

ขออนุญาต ลปรร. ในเรื่องนี้ด้วยคนนะคะ
  • ส่วนตัวเองก็ไม่ค่อยเห็นด้วยกับโครงการ OLPC นี้อยู่แล้ว เพราะเป็นโครงการที่ฉายเดี่ยว มุ่งเน้นแค่การให้เด็กส่วนใหญ่ได้มีเทคโนโลยีทันสมัยไว้ใช้งาน โดยไม่ได้ให้ความสนใจถึงเรื่องการพัฒนาศักยภาพของเด็ก (ทั้งความรู้ ความคิด และจินตนาการ) ให้ทันไปกับเทคโนโลยีที่จะนำมาใช้เลย  ก็ขนาดเทคโนโลยีที่มีอยู่ในปัจจุบันก็ยังใช้กันไม่ค่อยคุ้มค่าเท่าที่ควร....
  • แต่เห็นด้วยนะคะ ว่าเทคโนโลยีนี้จะช่วยให้การรับข้อมูลข่าวสารได้รวดเร็ว กว้างขวาง เหมาะแก่การสืบค้นหาความรู้ได้อย่างดี  มีประโยชน์อย่างมาก
  • ตามความเห็นของพี่เม่ย คิดว่าโครงการนี้จะช่วยให้เด็กไทยมีโชคดีด้านปัญญาได้ ก็ต่อเมื่อเป็นโครงการระยะยาว ที่ทำไปพร้อมๆ (หรือตามหลัง)กับโครงการอื่นๆที่มุ่งเน้นการพัฒนาศักยภาพผู้ใช้(เด็ก) ให้ใช้งานเทคโนโลยีได้ ถูกงาน ถูกที่ ถูกเวลา ถูกเรื่อง ด้วยค่ะ
กรุณาอ่านความเห็นของผม (และคำอธิบายเพิ่มเติมว่า OLPC ไม่ใช่ "คอมพิวเตอร์") ที่ "เรื่องต่อเนื่องเกี่ยวกับ OLPC" ครับ

กรุณาไปให้ความเห็นต่อที่บันทึกโน้นนะครับ ความเห็นในบันทึกนี้ขอปิดครับ จะได้ต่อเนื่องที่บันทึกโน้นครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท