อัตราการใช้ห้องประชุม: ตัวชี้วัดการ ลปรร.ในภาควิชาพยาธิวิทยา


เป็นที่น่าชื่นอกชื่นใจเป็นอย่างยิ่งที่บัดนี้ ต้นกล้าที่เราหว่านไว้ กำลังงอกงามเติบโต และออกดอกออกผล

แนวทางบริหารของภาควิชา ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ซึ่งเน้น การแลกเปลี่ยนเรียนรู้  การให้คุณค่าคนทุกระดับ  การมุ่งเน้นให้ทุกคนมีส่วนร่วมในกิจกรรมมากที่สุด  พบว่า มีตัวชี้วัดหนึ่งที่สะท้อนว่ามีการดำเนินการตามแนวทางดังกล่าวได้อย่างชัดเจน และเชื่อว่าทุกคนในภาควิชาก็รับรู้ได้ถึงการการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น นั่นก็คือ อัตราการใช้ห้องประชุมของภาควิชา

เรามีห้องประชุมในภาคฯ ทั้งหมด 3 ห้อง เป็นห้องประชุมใหญ่ 2 ห้อง คือ ห้องประชุม 1, ห้องประชุม 2 และห้องประชุมเล็ก 1 ห้อง ซึ่งเพิ่งมีหลังจากที่ตนเองรับตำแหน่งหัวหน้าภาคฯ   ก่อนหน้านี้ เราใช้ห้องประชุม 2 เป็นหลัก เนื่องจากมีความพร้อมมากที่สุด นานๆ ครั้งจะมีชนกันจนต้องใช้ห้องประชุม 1 แต่ปัจจุบัน มีการใช้ห้องประชุม 2 เกือบทุกวัน จนทำให้มีการใช้ห้องประชุม 1 มากขึ้น  ส่วนห้องประชุมเล็ก ซึ่งเหมาะสำหรับการประชุมทีมงานเล็กๆ ก็มีการใช้กันตลอด ดังเช่นในสัปดาห์นี้:-

 

อังคาร 31 ต.ค.

ห้องประชุม 1 ประชุมรับฟังความคิดเห็นร่างคู่มือคุณภาพ
  ห้องประชุม 2 Journal club
พุธ 1 พ.ย. ห้องประชุมเล็ก การพูดคุยระหว่างทีมภาควิชาพยาธิ (นำโดยอ.พรพรต) และภาควิชากุมารเวชศาสตร์ เกี่ยวกับการริเริ่มก่อตั้ง child development center
  ห้องประชุม 1 เสวนาอาชีวอนามัย ระหว่างกรรมการอาชีวอนามัยกับหน่วยรับสิ่งส่งตรวจ
  ห้องประชุม 2 ประชุมระดมสมองระหว่างนักวิจัยในคณะ เพื่อจัดตั้งกลุ่ม Human research group เป็นไอเดียโดยอ.พรพรต จุดประสงค์เพื่อก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และ ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
พฤหัส 2 พ.ย. ห้องประชุม 2 ประชุมรับฟังความคิดเห็นร่างคู่มือคุณภาพ
ศุกร์ 3 พ.ย. ห้องประชุม 2 ประชุมเตรียมการจัดอบรม Realtime PCR
  ห้องประชุม 2 การประชุมเพื่อจัดทำโครงการพัฒนาจิต (ชื่อชั่วคราว) โดย อ.เสาวรัตน์ และ ทีมงาน

 

จะเห็นว่า การประชุมเกือบทั้งหมด เป็นการประชุมเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้  เป็นการทำงานร่วมกัน  มีทั้งระหว่างหน่วยงานต่างๆ ในภาค และ การทำงานร่วมกันกับหน่วยงานนอกภาควิชา  เป็นที่น่าชื่นอกชื่นใจเป็นอย่างยิ่งที่บัดนี้ ต้นกล้าที่เราหว่านไว้ กำลังงอกงามเติบโต และออกดอกออกผล   งานนี้ ต้องขอบพระคุณอาจารย์หมอวิจารณ์ค่ะ ที่นำเรื่องการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และ การเน้นให้เห็นคุณค่าบุคคลทุกระดับ อันเป็นแก่นของการจัดการความรู้ มาเผยแพร่ในสังคมไทยอย่างเป็นรูปธรรม จนตนเองได้นำแนวคิดนี้ มาใช้ในการบริหารภาควิชา

 

หมายเลขบันทึก: 57217เขียนเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2006 23:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:14 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

เห็นรูปงานกีฬาภาควิชาพยาธิฯ  มอ.  เห็นความสุขของคนทำงานที่นี่แสดงออกที่หน้าตาชัดมากครับ

อ้อ (วรรณา)  เลยนึกถึงโครงการ  "Happy Workplace"  เลยจะขอจดหมายข่าวของอาจารย์ ไปให้ที่ประชุมได้เรียนรู้กันต่อครับ

เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเพราะวิสัยทัศน์และความจริงใจในการ"พัฒนาคน"ของอาจารย์จริงๆค่ะ อาจารย์ภูมิใจได้เลย ขอยืนยัน

เราได้เห็นบรรยากาศของ Learning Organization โดยเฉพาะในช่วงเวลาของการเตรียมนำเสนองาน Patho OTOP2 ที่จะเริ่มในสัปดาห์นี้แหละค่ะ เราน่าจะอัดวิดีโอการนำเสนองานแบบสนุกสนานของเราเอาไว้เผยแพร่บ้างนะคะ อาจารย์

คุณธวัช และ คุณอ้อ ยินดีค่ะ

คุณโอ๋  เราจะถ่ายทอดทีวีวงจรปิด และ จะอัดวิดิโอการนำเสนอไว้ด้วยค่ะ  ขอบคุณค่ะที่เสนอแนะ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท