ธีรภัทร 5


เรียนรู้การเช็คเทปในวันศุกร์แห่งชาติ

วันศุกร์ ที่ 3 พฤศจิกายน 2549

วันนี้เป็นวันที่ 2 ของการทำงานที่ศูนย์รังสิตของดิฉันค่ะ แล้วก็เป็นวันทำงานวันสุดท้ายของสัปดาห์นี้ด้วย เรียกกันว่าวันศุกร์แห่งชาติค่ะ คือการตั้งชื่อวันแบบประชดเล็กๆเพราะว่าทุกๆวันศุกร์รถจะติดมากน่ะค่ะ

ดิฉันมาถึงที่ศูนย์ตอน 08.15 น. ด้วยวิธีการเดียวกับเมื่อวาน วันนี้ไม่มีรายการมาถ่ายทำดิฉันจึงไปขอให้อาจารย์สมมาตรสอนการเช็คเทปให้ค่ะ ตอน 09.00 น.อาจารย์สมมาตรพาไปห้อง 232 เป็นห้องเตรียมข้อมูลการตัดต่อ(OFF LINE CUT TO CUT EDIT SUITE) เราจะเรียนการเช็คเทปในห้องนี้กันค่ะ การเช็คเทปเป็นภาษาพูดระดับปากค่ะ หมายถึงการตรวจสอบรายละเอียดเนื้อหาของเทปก่อนนำไปตัดต่อ ซึ่งเทปที่เรานำมาตรวจสอบนั้นเรียกว่า Original Tape

ที่ศูนย์มีเทปที่ใช้อยู่ 2 แบบด้วยกัน คือ 1. แบบ Bata cam และ          2. แบบ DVC Pro ทั้ง 2 แบบสามารถใช้งานได้เหมือนกันแตกต่างกันเล็กน้อยที่ขนาดของม้วนเทปที่ แบบ Bata cam จะมีขนาดใหญ่กว่าทางศูนย์จึงใช้ แบบ DVC Pro มากกว่าเพราะมีขนาดเล็กและสะดวกในการจัดเก็บ เทปทั้ง 2 แบบมีการบันทึกข้อมูลทั้งภาพและเสียงในรูปแบบดิจิตอล สามารถเลือกความละเอียดในการจัดเก็บข้อมูลได้ 2 แบบ คือ 50 Mbps กับ 25 Mbps ซึ่งทางศูนย์จะตั้งค่าความละเอียดไว้ที่ 50 Mbps เป็นมาตรฐาน

ในการตรวจสอบเทปนี้เราจะต้องบันทึกตำแหน่งเริ่มต้น ,ตำแหน่งสิ้นสุด ,ตำแหน่งที่ภาพหรือเสียงมีปัญหา ซึ่งตำแหน่งที่เราจดนี้ คือค่า TCR และ CTL ที่แสดงอยู่บนจอภาพขณะที่เราตรวจสอบนั่นเองค่ะ ค่าทั้ง 2 นี้คือเวลาค่ะ

TCR คือ ค่าเริ่มต้นของการบันทึกเทปจะเริ่มจาก 00.00 ไปเรื่อยๆจนจบม้วนเทป

CTL คือ ค่าที่เราตั้งเองโดยเราจะเริ่มนับตั้งแต่ตอนเริ่มบันทึกเทป อาจจะไม่ใช่ที่ต้นม้วนเทปก็ได้ จะเริ่มตั้งที่ส่วนไหนของเทปก็ได้ที่เราต้องการเช็คเวลาว่าเราถ่ายทำช่วงนั้นไปกี่นานเท่าไร                               ทุกครั้งที่เริ่มการตรวจสอบเทปจะต้องตั้งค่า TCR ให้เป็น 00.00 เสมอ  

ตัวอย่างของการจดบันทึกการเช็คเทป

ชื่อรายการ....................   ตอน......................

พิธีกร อาจารย์.................

วิทยากร.............................

วันที่ถ่ายทำ........................

เริ่มรายการ   TCR (เวลาตั้งแต่เริ่มรายการถึงเวลาตอนจบรายการ)

หมายเหตุ ที่ TCR (เวลาที่เราพบจุดบกพร่องในการบันทึกเทป)

เช่น ที่ TCR 00:28:15  ช่วงที่พิธีกรยกมือไหว้ มือไปถูกไมค์ทำให้เกิดเสียงรบกวน

        ที่ TCR 09:30:09  มีเสียงไอของตากล้องตัวที่ 3 เข้ามารบกวน

ภาพ Insert เริ่มที่ TCR (เวลาเริ่มต้นการถ่ายภาพ Insert จนถึงจบ)

ภาพ Insert  คือ ภาพประกอบที่บันทึกไว้หลังจากภาพการดำเนินรายการปกติ เอาไว้สำหรับเสริมหรือตัดต่อเพิ่มเติม ภาพ Insert จึงจะอยู่ที่ท้ายม้วนเทปเสมอ

และวันนี้ดิฉันได้เช็คเทปของรายการหัตถศิลป์ ทั้งหมด 10 ตอน ต้องตรวจดูรายการตลอดทั้งเทปเพื่อหาข้อผิดพลาดและจดบันทึกไว้ให้ฝ่ายตัดต่อนำไปแก้ไข ซึ่งเทปที่ผ่านการตรวจสอบแล้วนี้จะทำให้ฝ่ายตัดต่อสามารถแก้ไขจุดที่ผิดพลาดได้อย่างรวดเร็วทำให้ลดระยะเวลาในการทำงานได้มากเลยค่ะ

ดิฉันใช้เวลาทั้งวันในการเช็คเทป ซึ่งเป็นงานที่ต้องใช้สมาธิมากพอสมควรแต่ก้ได้ความรู้และสนุกมากเลยค่ะ  

หมายเลขบันทึก: 57172เขียนเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2006 18:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:14 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
นายสมมาตร ยิ่งยงยุทธ
นักศึกษามีความตั้งใจในการปฏิบัติงานดี เรียนรู้งานได้ค่อนข้างเร็วแต่ในการบักทึกการปฏิบัติงานประจำวันอยากให้บันทึกให้เป็นภาษาเขียนที่มีแบบแผนที่ถูกต้องตามหลักภาษา ไม่ควรใช้ภาษาคำพูดมากเกินไป เนื่องจากเมื่อจบการศึกษาไปแล้วออกไปทำงานการใช้หนังสือติดต่องานต่าง ๆ ระหว่างหน่วยงาน จะบันทึกหรือเขียนด้วยภาษาที่เป็นทางการ นักศึกษาควรฝึกหัดให้เคยชิน จะเป็นประโยชน์กับตัวนักศึกษาเองในภายภาคหน้า
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท