ความสุขของคนทั้งชาติ (ตอนจบ)


"ดูแต่ไม่เห็น ฟังแต่ไม่ได้ยิน" เปลี่ยนเป็น "ดูให้เห็น ฟังให้ได้ยิน"

         

 เด็กและเยาวชนกับการรู้เท่าทันสื่อ

          หลังจากจบปาฐกถาของท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขแห่งราชอาณาจักรประเทศภูฏาน (H.E. Lyonpo Dr. Jigmi Singay)  แล้ว ก็เป็นช่วงของสมัชชาสุขภาพเฉพาะประเด็น  ซึ่งจ๊ะจ๋าก็สมัครใจเข้าร่วมในห้องย่อยที่ 6 ในประเด็น เด็กและเยาวชนกับการรู้เท่าทันสื่อ   ซึ่งเป็นช่วงที่น่าสนใจอีกช่วงหนึ่งคือ มีการนำเสนอผลการศึกษาของ ผศ. ดร. พรทิพย์  เย็นจะบกในเรื่อง สื่อมวลชนศึกษาในประเทศไทย (Media Education in Thailand)”  ซึ่งเป็นการนำเสนอผลการสังเคราะห์องค์ความรู้เท่าทันสื่อในประเทศไทย ในเชิงทฤษฏีหลักการ เพื่อสร้างกระแสการขับเคลื่อนเชิงนโยบายการรู้เท่าทันสื่อในประเทศไทยต่อไป

 มี 5 หลักการที่สำคัญที่เรียกว่า เบญจทัศน์คือ

1. มโนทัศน์ (Conceptual) เป็นการสรุปประเด็นความเชื่อมโยงและสิ่งที่เกี่ยวข้องกับการรู้เท่าทันสื่อทุกมิติเข้าด้วยกัน   แล้วสื่อออกมาเป็นกรอบแนวคิดสร้างเป็นภาพความคิด  ซึ่งกรอบมโนทัศน์ต้องอาศัยกระบวนการคิดเชิงมโนทัศน์  10 คิด คือ การคิดเชิงอนาคต การคิดเชิงวิเคราะห์   การคิดเชิงสังเคราะห์  การคิดเชิงวิพากษ์  การคิดเชิงเปรียบเทียบ  การคิดเชิงประยุกต์ การคิดเชิงบูรณาการ  การคิดเชิงสร้างสรรค์ 

 2. วิสัยทัศน์ (Vision) มองไกล แต่ต้องมองเป็น  เชื่อมโยงเป็น  มองไปข้างหน้าด้วยการใช้บทเรียนจากอดีตผสมผสานกับประสบการณ์ในปัจจุบัน สิ่งที่เกิดขึ้นหรือได้ออกมาคือ การก้าวล่วงทางความคิดไปยังอนาคต  ดังนั้น การเคลื่อนไหวทางสังคมให้รู้เท่าทัน เป็นองค์ประกอบหนึ่งของการตระหนักรู้ ประกอบไปด้วยรู้เขา รู้เรา รู้ทัน รู้กัน และ รู้แก้  วิสัยทัศน์ไม่ใช่สิ่งที่เพ้อฝันแต่คือการสร้างความชัดเจนให้กับการเดินทาง

 3. กระบวนทัศน์ (Paradigm) เป็นกรอบของการมองหรือมุมในการมองของแต่ละภาคส่วนแต่ละคนอันนำไปสู่การแสดงออก ซึ่งในแต่ละช่วงเวลาอาจเปลี่ยนแปลงไปเนื่องจากระบบชีวิตและระบบสังคม  กระบวนทัศน์ประกอบไปด้วย การปรับประบวนทัศน์   (Paradigm shift) การเปลี่ยนกระบวนทัศน์(Paradigm change) ซึ่งทั้งสองส่วนเป็นสิ่งที่สำคัญ เพราะในปัจจุบันโลกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว รุนแรง และต่อเนื่อง   

 4. โลกทัศน์ (Worldview) การนำเสนอเรื่องราวเพื่อการสร้างภาพความคิดให้เกิดขึ้นใหม่ มุมมองใหม่ในการวางจุดยืนของกระแสสื่อ คันหาจุดเปลี่ยนร่วมกัน เพื่อเปิดพื้นที่ใหม่ของการรู้เท่าทันสื่อ อาจมีการเรียนการสอน  โดยการสร้างหลักสูตรตั้งแต่ชั้นประถม เพื่อช่วยเอื้ออำนวยต่อการสร้างโลกทัศน์ให้กับคนในสังคม

5. ฉากทัศน์ (Scenario) ความคิดบนฐานการคิดเชิงอนาคต การมองให้รอบด้านถึงอนาคตที่จะเกิดขึ้น

          การเชื่อมโยงทั้ง 5 ทัศน์เข้าด้วยกันจะเป็นพื้นฐานของการสรุปบทเรียนในการรู้เท่าทันสื่อ ซึ่งจะต้องมองเชิงระบบ (System Thinking)  นอกจากนี้ยังมีการนำเสนอปัจจัยที่สำคัญอื่นๆ คือ ทักษะการรู้เท่าทันสื่อ ซึ่งมีองค์ประกอบที่สำคัญคือ การเข้าถึง การวิเคราะฆ์ การประเมินค่าสื่อ  และการสร้างสรรค์  การวิเคราะห์สื่อ  ด้วยการตั้งคำถาม  เช่น ใครคือผู้สร้างเนื้อหาสาระของสื่อนั้นขึ้นมา?  ใช้เทคนิคอะไรบ้างในการดึงดูดความสนใจ?  คนอื่นตีความเนื่อหาสาระของสื่อแตกต่างกันอย่างไร?  สิ่งนั้นๆ เสนอค่านิยม รูปแบบการใช้ชีวิตมุมมองอะไรและอย่างไร?  และใครได้รับประโยชน์จากการนำเสนอของสื่ออย่างแท้จริง?   กระบวนการในการรู้เท่าทันสื่อ รวมถึงผลกระทบของสื่อ ซึ่งมีหลายระดับตั้งแต่ ระดับสำนึกรู้  ระดับทัศนคติ ระดับอารมณ์ความรู้สึก จนไปถึงระดับพฤติกรรม      

          และ มีการเสวนาในเรื่อง  สื่อมวลชนศึกษาในบริบทสังคมไทย ความพร้อมและความเป็นไปได้ โดยผู้ร่วมเสวนามาจากหลายภาคส่วน ทั้งภาคประชาสังคม ภาครัฐ และภาคการศึกษา นำโดย

  • ภาคประชาสังคมคือ คุณเข็มพร วิรุณราพันธ์ ผอ. มูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก และ  คุณวีรพงษ์  ทวีศักดิ์ สื่อมวลชนคาทอลิกแห่งประเทศไทย
  • ภาครัฐ คือ คุณลัดดา  ตั้งสภาชัย ผอ. กลุ่มเฝ้าระวังทางวัฒนธรรม  กระทรวงวัฒนธรรมฯ
  • ภาคการศึกษา คือ ผศ. ดร. พรทิพย์  เย็นจะบก  รองคณบดี คณะมนุษย์ศาสตร์ ม. เกษตรศาสตร์

สิ่งที่ได้เรียนรู้ คือ 

  1. การให้ความสำคัญของการรู้เท่าทันสื่อจากแต่ละภาคส่วน
  2. เกิดความเชื่อมโยงในการทำงานในการรู้เท่าทันสื่อของหลายฝ่าย ทั้งภาคประชาสังคม ภาคการศึกษา และภาคราชการ เพื่อสอดส่อง ดูแล เฝ้าระวังให้เกิดสื่อดีๆ ออกมากๆ
  3. แต่ละภาคส่วนมีการทำงานเชิงรุกมากขึ้น ซึ่งเดิมเป็นการทำงานเชิงรับมืออย่างเดียว
  4. ภาคประชาสังคมโดยมูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก เป็นแกนนำสำคัญในเรื่องนี้
  5. มีการมอบรางวัลเพื่อเป็นกำลังใจในการสร้างสรรค์สื่อดีๆ คือ  Media Award  โดยไม่ต้องส่งสื่อมา แต่จะมีแมวมองไปสืบและให้รางวัลเอง    ช่าง..เหมือนกับการทำงานของ สคส. เสียจริงเชียว เพราะเราต้องการรู้จริง เป็นแมวคอยมองหาความสำเร็จเล็กๆ หาคุณเอื้อ คุณอำนวย คุณกิจ ที่ทำหน้าที่ได้ดี ให้กำลังใจด้วยรางวัลเล็กๆ น้อย แต่ทรงคุณค่ากับเค้าเพื่อเป็นแรงใจในการทำงานด้านนั้นๆ ต่อไป

หมายเลขบันทึก: 57158เขียนเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2006 16:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:14 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
  • เบื้องต้นพี่คงต้องพยายามที่จะทำความเข้าใจและเชื่อม 5 ทัศน์ก่อนเนอะ ..แต่..ต้องใช้น้ำตาลกี่กิโลดีละคะน้องจ๋า ? 
  • เห็นใจแมวมองอย่างสค.ส.ที่ต้องทำงานอย่างหนักด้วยล่ะ
  • พี่ก็พยายามเป็นแมวมองให้แล้วแต่เป็นแมวที่ใช้ไม่คอ่ยได้เลยล่ะ
  • ได้ความรู้ดี
  • อยากเห็นงานวิจัยภาคการศึกษามาสู่กสนปฎิบัติ ไม่ใช่อยู่แต่บนหิ้งครับ
  • ขอบคุณมากครับ

จากการเข้าร่วมงาน ทำให้จ๊ะจ๋ามีแนวความคิดได้ว่าน่าจะเกิดความเชื่อมโยงทุกภาคส่วนในสังคมไทย และในงานนี้ก็ถือว่าเป็นนิมิตหมายอันดีที่เริ่มเห็นประกายนั่นแล้วคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท