Policy & Strategy vs. Execution


          เมื่อวันที่ ๒๖ ตค. ๔๙ ผมไปประชุมสภาจุฬาฯ มีการนำเสนอเชิงนโยบายเรื่องการพัฒนาบัณฑิตศึกษา และเรื่องหลักสูตรนานาชาติระดับบัณฑิตศึกษา ซึ่งน่าชื่นชมมาก มีการคิดวิเคราะห์เชิงระบบมาอย่างดี และนำเสนอยุทธศาสตร์เพื่อดำเนินการที่ผมตื่นตาตื่นใจ และให้ความรู้แก่ผมมาก

          อาจารย์ของจุฬาฯ ท่านหนึ่ง เข้ามาทักผม ว่าผมเป็นนายกสภาฯ มหิดลหรือ ผมตอบว่าใช่ แต่ในสภามหิดลไม่ค่อยมีเรื่องเชิงระบบอย่างนี้มาอภิปรายกัน ท่านอาจารย์ท่านนั้นบอกว่า แต่ในทางปฏิบัติ ในเรื่องบัณฑิตศึกษาและความเป็นนานาชาติ ม. มหิดล ทำได้ดีกว่า เพราะมีวิทยาลัยนานาชาติ และมีการบริหารที่กระจายอำนาจ ในขณะที่ของจุฬาฯ การบริหารมีลักษณะรวมศูนย์ นี่ว่าตามคำของท่านนะครับ

          ผมกลับมาคิดต่อ ทำให้นึกถึงหลักการสร้างความสำเร็จในภารกิจหลักขององค์กร นักวิชาการด้านการบริหารเขาบอกว่าส่วนที่ยากที่สุดคือ execution หรือการทำให้มีการปฏิบัติ เขาบอกว่าการทำแผนยุทธศาสตร์ง่ายกว่าการทำให้เกิดการปฏิบัติจนบรรลุผล ในหลายๆ กรณี มีแต่แผนยุทธศาสตร์ แต่ execute ไม่ได้ เพราะเอาชนะแรงเฉื่อยหรือแรงต้านภายในองค์กรไม่ได้

          ที่จริงการพัฒนานโยบายและยุทธศาสตร์ก็สำคัญนะครับ ไม่ใช่ไม่สำคัญ แต่การทำให้มีการปฏิบัติจนบรรลุผล (execution) สำคัญกว่า

          ที่เล่ามานี้ไม่ต้องการเปรียบเทียบว่ามหาวิทยาลัยไหนดีกว่า เพียงต้องการชี้ประเด็นสำคัญในการบริหารมหาวิทยาลัย

วิจารณ์ พานิช
๒๖ ตค. ๔๙

คำสำคัญ (Tags): #มหาวิทยาลัย
หมายเลขบันทึก: 57131เขียนเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2006 15:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 เมษายน 2012 14:47 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท