IT กับการพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนรู้


IT ดี มีความรู้
ไอ.ที.กับการพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนรู้                เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology:IT)  หรือเทคโนโลยีและการสื่อสาร  (Information  and  Communication Technology:ICTs)  ก็คือเทคโนโลยีสองด้านหลัก ๆ ที่ประกอบด้วยเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์  และเทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคมที่ผนวกเข้าด้วยกัน  เพื่อใช้ในกระบวนการจัดหา จัดเก็บ สร้าง และเผยแพร่สารสนเทศในรูปต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเสียง ภาพ ภาพเคลื่อนไหว  ข้อความหรือตัวอักษร  และตัวเลข  เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ  ความถูกต้อง  ความแม่นยำ  และความรวดเร็วให้ทันต่อการนำไปใช้ประโยชน์                ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมีอย่างน้อย  5  ประการ(Souter 1999: 409)  ได้แก่  การสื่อสารถือเป็นสิ่งจำเป็นในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์  สิ่งสำคัญที่มีส่วนในการพัฒนากิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์ประกอบด้วย  Communication  media,  การสื่อสารโทรคมนาคม (Telecoms),  และเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT)  ซึ่งทั้งนี้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารจะประกอบด้วยผลิตภัณฑ์หลักมากไปกว่าโทรศัพท์และคอมพิวเตอร์  เช่น  แฟกซ์,อินเทอร์เน็ต,อีเมล์  ทำให้สารสนเทศเผยแพร่หรือกระจายออกไปในที่ต่าง ๆ ได้สะดวก  ซึ่งก่อให้เกิดความสำคัญประการต่อมาคือมีผลให้การใช้งานด้านต่าง ๆ มีราคาถูกลง  นอกจากนี้  เครื่อข่ายสื่อสาร(Communication  networks)  ก็ได้รับประโยชน์จากเครื่อข่ายภายนอก  เนื่องจากจำนวนการใช้เครือข่าย  จำนวนผู้เชื่อมต่อ  และจำนวนผู้ที่มีศักยภาพในการเข้าเชื่อมต่อกับเครือข่ายนับวันจะเพิ่มสูงขึ้น  และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารทำให้ฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์  และต้นทุนการใช้  ICT  มีราคาถูกลง                ในส่วนความสำคัญของเทคโนโลยีในด้านที่มีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมด้านต่าง ๆ ของผู้คนมีอยู่หลายประการ (จอห์น  ไนซ์บิตต์  อ้างถึงใน  ยืน  ภู่วรรณ)  เช่น  เทคโนโลยีสารสนเทศ  ทำให้สังคมเปลี่ยนจากสังคมอุตสาหกรรมมาเป็นสังคมสารสนเทศ  และทำให้ระบบเศรษฐกิจเปลี่ยนจากระบบแห่งชาติไปเป็นเศรษฐกิจโลก  ที่ทำให้ระบบเศรษฐกิจของโลกผูกพันกับทุกประเทศ  ความเชื่อมโยงของเครือข่ายสารสนเทศทำให้เกิดสังคมโลกาภิวัตน์ตามมา  อีกทั้งทำให้องค์กรมีลักษณะผูกพัน  มีการบังคับบัญชาแบบแนวราบมากขึ้น  หน่วยธุรกิจมีขนาดเล็กลง  และเชื่อมโยงกันกับหน่วยธุรกิจอื่นเป็นเครือข่าย  การดำเนินธุรกิจมีการแข่งขันกันในด้านความเร็ว  โดยอาศัยหลักการใช้ระบบเครื่อข่ายคอมพิวเตอร์  และการสื่อสารโทรคมนาคมเป็นตัวสนับสนุนเพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลได้ง่ายและรวดเร็ว  ซึ่งเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเทคโนโลยีแบบสุนทรียสัมผัส  และสามารถตอบสนองตามความต้องการการใช้เทคโนโลยีในรูปแบบใหม่ที่เลือกได้เอง  และเทคโนโลยีสารสนเทศทำให้เกิดสภาพทางการทำงานแบบทุกสถานที่และทุกเวลา  ทั้งนี้เทคโนโลยีสารสนเทศยังก่อให้เกิดการวางแผนการดำเนินการระยะยาวขึ้น  อีกทั้งยังทำให้วิถีการตัดสินใจ  หรือเลือกทางเลือกใด้ละเอียดขึ้น                จึงอาจกล่าวได้ว่า  เทคโนโลยีสารสนเทศมีบทบาทที่สำคัญในทุกวงการ  มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงโลกด้านความเป็นอยู่  สังคม  เศรษฐกิจ  การศึกษา  การแพทย์  เกษตรกรรม  อุตสาหกรรมการเมือง  ตลอดจนการวิจัยและการพัฒนาต่าง ๆ                ในส่วนของด้านการนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT)  มาใช้เพื่อการพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนรู้นั้น  ซึ่งการจัดการเรียนรู้ของระบบการศึกษาในปัจจุบันนี้ ถือว่าการเรียนการสอนเป็นกระบวนการที่จำเป็นและสำคัญอย่างยิ่ง เพราะถ้ากระบวน การเรียน การสอนมีประสิทธิภาพ มีเนื้อหาตรงตามหลักสูตร มีอุปกรณ์หรือสื่อการเรียนการสอนต่าง ๆ เพื่อช่วยเสริมแรงจูงใจ ให้นักเรียน มีความตั้งใจเรียน และช่วยเร้าความสนใจในการเรียนเพิ่มขึ้น จากเนื้อหาที่มีอยู่ในหนังสือมีกิจกรรมการเรียน การสอน แบบยึดนักเรียนเป็นศูนย์กลาง โดยที่นักเรียนสามารถค้นคว้าหาความรู้ได้ด้วยตนเอง ก็จะทำให้นักเรียนรู้จักคิดเป็น ทำเป็น แก้ไขปัญหาได้ ย่อมส่งผลให้นักเรียนอยู่ในเกณฑ์ที่ดีขึ้น และนักเรียนก็ไม่เบื่อที่จะเรียนรู้ปัจจุบันนี้จะพบว่าอิทธิพลของคอมพิวเตอร์ได้เข้ามามีบทบาทอย่างมาก  ในกระบวนการเรียนการสอน โดยการนำคอมพิวเตอร์ และสื่อทางอินเทอร์เน็ตมาช่วยในการนำเสนอเนื้อหา กิจกรรมในการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบ ซึ่งนักเรียนสามารถ เรียนรู้เนื้อหาและฝึกทักษะ จากคอมพิวเตอร์ผ่านทางอินเทอร์เน็ต  ได้ด้วยตนเอง  ซึ่งทำให้กิจกรรมการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นได้มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้เพื่อการพัฒนาด้านการจัดการศึกษาหรือการจัดการเรียนรู้ในปัจจุบัน  ได้แก่การเรียนรู้แบบออนไลน์หรือ E-learning การเรียนรู้แบบออนไลน์เป็นการศึกษา เรียนรู้ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์อินเทอร์เน็ต (Internet) หรืออินทราเน็ต (Intranet) เป็นการเรียนรู้ด้วยตัวเอง ผู้เรียนจะได้เรียนตามความสามารถและความสนใจของตน โดยเนื้อหาของบทเรียนซึ่งประกอบด้วย ข้อความ รูปภาพ เสียง วิดีโอและมัลติมีเดียอื่นๆ จะถูกส่งไปยังผู้เรียนผ่านเว็บเบราว์เซอร์(Web Browser) โดยผู้เรียน ผู้สอน และเพื่อนร่วมชั้นเรียนทุกคน สามารถติดต่อ ปรึกษา แลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกันได้เช่นเดียวกับการเรียนในชั้นเรียนปกติ โดยอาศัยเครื่องมือการติดต่อสื่อสารที่ทันสมัย สำหรับทุกคนที่สามารถเรียนรู้ได้ทุกเวลา และทุกสถานที่ (Learn for all : anyone, anywhere and anytime) ซึ่งการให้บริการการเรียนแบบออนไลน์ มีองค์ประกอบที่สำคัญ 4 ส่วน โดยแต่ละส่วนจะต้องได้รับการออกแบบเป็นอย่างดี เพราะเมื่อนำมาประกอบเข้าด้วยกันแล้วระบบทั้งหมดจะต้องทำงานประสานกันได้อย่างลงตัวของเนื้อหาบทเรียน  ระบบบริหารการเรียน ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลาง กำหนดลำดับของเนื้อหาในบทเรียน เราเรียกระบบนี้ว่าระบบบริหารการเรียน (E-Learning Management System : LMS) ดังนั้นระบบบริหารการเรียนจึงเป็นส่วนที่เอื้ออำนวยให้ผู้เรียนได้ศึกษาเรียนรู้ได้ด้วยตนเองจนจบหลักสูตร  และการติดต่อสื่อสาร การเรียนแบบ E-learning นำรูปแบบการติดต่อสื่อสารแบบ 2 ทาง มาใช้ประกอบในการเรียน โดยเครื่องมือที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารอาจแบ่งได้เป็น 2 ประเภทคือ ประเภทReal-time ได้แก่ Chat (message, voice), White board/Text slide, Real-time Annotations, Interactive poll, Conferencing และอื่นๆ ส่วนอีกแบบคือ ประเภท Non real-time ได้แก่ Web-board, E-mailบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction - CAI)บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนจะเสนอสารสนเทศที่ได้ผ่านกระบวนการสร้างและพิจารณามาเป็นอย่างดี โดยมีเนื้อหาวิชาหรือสารสนเทศ แบบฝึกหัด การทดสอบและการให้ข้อมูลป้อนกลับให้ผู้เรียนได้ตอบสนองต่อบทเรียนได้ตามระดับความสามารถของตนเอง เนื้อหาวิชาที่นำเสนอจะอยู่ในรูปมัลติมีเดีย ซึ่งประกอบด้วย อักษร รูปภาพ เสียง และ/หรือ ทั้งภาพและเสียง ซึ่งมีพื้นฐานมาจากการนำหลักการเบื้องต้นทางจิตวิทยาการเรียนรู้มาใช้ในการออกแบบ โดยอาศัยพฤติกรรมการเรียนรู้ (Learning Behavior) ทฤษฎีการเสริมแรง (Reinforcement Theory) ทฤษฎีการวางเงื่อนไขปฏิบัติ (Operant Conditioning Theory) ซึ่งถือว่าความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนองและการเสริมแรงเป็นสิ่งสำคัญ โดยมีจุดมุ่งหมายนำผู้เรียนไปสู่การเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพซึ่งอาศัยการสอนที่มีการวางโปรแกรมไว้ล่วงหน้า เป็นการให้ผู้เรียนมีโอกาสเรียนรู้ได้ด้วยตนเองและมีผลย้อนกลับทันทีและเรียนรู้ไปทีละขั้นตอนอย่างเหมาะสมตามความต้องการและความสามารถของตนวีดิทัศน์ตามอัธยาศัย (Video on Demand - VOD)การจัดการฐานข้อมูลต้องอาศัยโปรแกรมที่ทำหน้าที่ในการกำหนดลักษณะข้อมูลที่จะเก็บไว้ในฐานข้อมูล อำนวยความสะดวกในการบันทึกข้อมูลลงในฐานข้อมูล กำหนดผู้ที่ได้รับอนุญาตให้ใช้ฐานข้อมูลได้ พร้อมกับกำหนดด้วยว่าให้ใช้ได้แบบใด เช่น ให้อ่านข้อมูลได้อย่างเดียวหรือให้แก้ไขข้อมูลได้ด้วย นอกจากนั้นยังอำนวยความสะดวกในการค้นหาข้อมูล การแก้ไขปรับปรุงข้อมูล ตลอดจนการจัดทำข้อมูลสำรองด้วย โดยอาศัยโปรแกรมที่เรียกว่า ระบบการจัดการฐานข้อมูล(Database Management System: DBMS) ซึ่งโปรแกรมที่ได้รับความนิยมในการจัดการฐานข้อมูล ได้แก่ Microsoft Access, Oracle, Informix, dBase, FoxPro, และ Paradox เป็นต้นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-books )หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถอ่านได้ทางอินเทอร์เน็ต สำหรับเครื่องมือที่จำเป็นต้องมีในการอ่านหนังสือประเภทนี้ก็คือฮาร์ดแวร์ประเภทเครื่องคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์พกพาอื่นๆ พร้อมทั้งติดตั้งระบบปฏิบัติการหรือซอฟต์แวร์ที่ใช้อ่านข้อความต่างๆ ตัวอย่างเช่น ออแกไนเซอร์แบบพกพา พีดีเอ เป็นต้น ส่วนการดึงข้อมูล E-books ซึ่งจะอยู่บนเว็บไซต์ที่ให้บริการทางด้านนี้มาอ่านก็จะใช้วิธีการดาวน์โหลดผ่านทางอินเทอร์เน็ตเป็นส่วนใหญ่ลักษณะไฟล์ของ E-books หากนักเขียนหรือสำนักพิมพ์ต้องการสร้าง E-books จะสามารถเลือกได้สี่รูปแบบ คือ Hyper Text Markup Language (HTML), Portable Document Format (PDF), Peanut Markup Language (PML) และ Extensive Markup Language (XML)ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ (E-library)ในปัจจุบันสังคมไทยเราอยู่ในยุคข่าวสาร ทำให้มีการกระจายข้อมูลข่าวสารได้อย่าง ดังนั้นห้องสมุดจึงต้องเปลี่ยนแปลงระบบการทำงานด้านต่างๆ โดยเฉพาะงานด้านบริการจะมีบทบาทที่เด่นชัด ความต้องการของผู้ใช้บริการจึงเป็นแรงผลักดันให้ห้องสมุดเปลี่ยนการให้บริการงานห้องสมุดมาเป็นระบบอัตโนมัติ เช่น  ระบบที่สามารถให้บริการและตรวจสอบได้  ระบบบริการยืม - คืน ทรัพยากรด้วยแถบรหัสบาร์โค้ด  ระบบบริการสืบค้นข้อมูลทรัพยากร  ระบบตรวจเช็คสถิติการใช้บริการห้องสมุดระบบตรวจเช็คสถิติการยืม คืนทรัพยากร  การสำรวจทรัพยากรประจำปี  และการพิมพ์บาร์โค้ดทรัพยากรและสมาชิกอย่างไรก็ตามยังมีปัจจัยที่ทำให้เกิดความล้มเหลวในการนำเทคโนโลยีสารสนเทสมาใช้อีกเช่นกัน  ซึ่งมีงานวิจัยที่บ่งชี้ถึงความล้มเหลวหรือความผิดพลาดที่เกิดจากการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในองค์กร  เช่น  การขาดการวางแผนที่ดีพอ  การนำเทคโนโลยีที่ไม่เหมาะสมมาใช้งาน  หรืออาจจะขาดการจัดการหรือสนับสนุนจากผู้บริหารระดับสูงสำหรับสาเหตุความล้มเหลวอื่น ๆ ที่ได้พบจากการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้  เช่น  ใช้เวลาในการดำเนินการมากเกินไป  หรือนำเทคโนโลยีที่ล้ำสมัยหรือยังไม่ผ่านการพิสูจน์มาใช้งาน  การประเมินแผนความต้องการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศไม่ถูกต้อง  ผู้จำหน่ายไม่มีประสิทธิภาพและขาดความรับผิดชอบ  และระยะเวลาของการพัฒนาหรือนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้จนเสร็จสมบูรณ์ใช้เวลาน้อยกว่าหนึ่งปีนอกจากนี้ในด้านผู้ใช้พบว่าการไม่ประสบความสำเร็จเกิดจาก  การกลัวความเปลี่ยนแปลง  กล่าวคือ  ผู้คนกลัวที่จะเรียนรู้การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ  รวมทั้งกลัวว่าเทคโนโลยีสารสนเทศจะเข้ามาลดบทบาทและความสำคัญในหน้าที่การงานที่รับผิดชอบของตนให้ลดน้อยลง  จนทำให้ต่อต้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศการไม่ติดตามข่าวสารความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างสม่ำเสมอก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ไม่ประสบความสำเร็จได้  เพราะเทคโนโลยีสารสนเทศจะเปลี่ยนแปลงเร็วมาก  หากไม่หมั่นติดตามอย่างสม่ำเสมอแล้วจะทำให้กลายเป็นคนล้าหลังและตกขอบ  เกิดภาวะชะงักงันในการเรียนรู้และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของประเทศกระจายไม่ทั่วถึง  ก็เป็นอีกประการหนึ่งที่ทำให้การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศไม่ประสบความสำเร็จ  เพราะทำให้ขาดความเสมอภาคในการใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศ  หรือเกิดการใช้กระจุกตัวเพียงบางพื้นที่  ทำให้อุปสรรคในการใช้งานด้านต่าง ๆ ตามมา  เช่น  ระบบโทรศัพท์  อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศในคริสต์ศตวรรษที่ 21 มีแนวโน้มที่จะพัฒนาคอมพิวเตอร์ให้มีความสามารถใกล้เคียงกับมนุษย์ เช่น การเข้าภาษาสื่อสารของมนุษย์ โครงข่ายประสาทเทียม ระบบจำลอง ระบบเสมือนจริง โดยพยายามนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์มากขึ้น ลดข้อผิดพลาดและป้องกันไม่ให้นำไปใช้ในทางที่ไม่ถูกต้องหรือผิดกฎหมาย  เพราะถึงแม้เทคโนโลยีสารสนเทศจะนำวิทยาการก้าวหน้ามากมายมหาศาล  แต่อย่างไรก็ตาม  เทคโนโลยีทุกอย่างจะเปรียบเสมือนเหรียญคือมีสองด้าน  คือทั้งด้านคุณประโยชน์และด้านโทษภัยของเทคโนโลยี  หรืออาจเรียกอีกอย่างว่าด้านบวกด้านลบแนวโน้มในด้านบวกการพัฒนาเครือข่ายคอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่เชื่อมโยงกันทั่วโลก ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ช่องทางการดำเนินธุรกิจ เช่น การทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ การผ่อนคลายด้วยการดูหนัง ฟังเพลง และบันเทิงต่างๆ เกมออนไลน์รวมทั้งการพัฒนาให้คอมพิวเตอร์สามารถฟังและตอบเป็นภาษาพูดได้ อ่านตัวอักษรหรือลายมือเขียนได้ การแสดงผลของคอมพิวเตอร์ได้เสมือนจริง เป็นแบบสามมิติ และการรับรู้ด้วยประสาทสัมผัส เสมือนว่าได้อยู่ในที่นั้นจริง  ยังไปถึงการพัฒนาระบบสารสนเทศ ฐานข้อมูล ฐานความรู้ เพื่อพัฒนาระบบผู้เชี่ยวชาญและการจัดการความรู้                การศึกษาตามอัธยาศัยด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-learning) การเรียนการสอนด้วยระบบโทรศึกษา (tele-education) การค้นคว้าหาความรู้ได้ตลอด 24 ชั่วโมงจากห้องสมุดเสมือน (virtual library)และการพัฒนาเครือข่ายโทรคมนาคม ระบบการสื่อสารผ่านเครือข่ายไร้สาย เครือข่ายดาวเทียม ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ทำให้สามารถค้นหาตำแหน่งได้อย่างแม่นยำ  รวมไปถึงการบริหารจัดการภาครัฐสมัยใหม่ โดยการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและเครือข่ายการสื่อสารเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินการของภาครัฐที่เรียกว่า รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (e-government) รวมทั้งระบบฐานข้อมูลประชาชน หรือ e-citizenแนวโน้มในด้านลบด้านแนวโน้มในทางด้านลบอันเกิดจากความก้าวหน้าของเทคโนโลยี  เช่น  ความผิดพลาดในการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ ทั้งส่วนฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ ที่เกิดขึ้นจากการออกแบบและพัฒนา ทำให้เกิดความเสียหายต่อระบบและสูญเสียค่าใช้จ่ายในการแก้ปัญหา  การละเมิดลิขสิทธิ์ของทรัพย์สินทางปัญญา การทำสำเนาและลอกเลียนแบบ  รวมไปถึงการก่ออาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ การโจรกรรมข้อมูล การล่วงละเมิด การก่อกวนระบบคอมพิวเตอร์จะเห็นได้ว่าในสังคมสารสนเทศ เทคโนโลยีสารสนเทศมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก คนในสังคมมีการปรับตัวเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลง คนทุกระดับอายุ เกือบทุกอาชีพ มีความต้องการสารสนเทศอยู่ตลอดเวลาใช้เทคโนโลยีสารสนเทศทั้งทางตรงและทางอ้อม เทคโนโลยีที่มีการพัฒนาและเริ่มนำมาประยุกต์ใช้ไม่ว่าจะเป็น ระบบปัญญาประดิษฐ์ ยูบิควิตัส การเรียนผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งการบริหารประเทศก็ยังมีการตั้งโครงการรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ พวกเราที่เป็นส่วนหนึ่งของสังคมสารสนเทศจึงควรเตรียมความพร้อมในการปรับตัวเพื่อให้สามารถนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาเป็นเครื่องมือช่วยอำนวยความสะดวกในการดำเนินชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นการศึกษาหาความรู้ การประกอบธุรกิจ การบริหารจัดการ การพักผ่อนและบันเทิง รวมทั้งการสร้างโอกาสใหม่ๆ ให้กับชีวิตของตนเองอ้างอิงhttp://dusithost.dusit.ac.th/~librarianl/it107/C2.htmhttp://www.sa ac.th/elearning/index.htm        
หมายเลขบันทึก: 57024เขียนเมื่อ 2 พฤศจิกายน 2006 21:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:14 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท