วิทยาลัยการจัดการทางสังคม (วจส.)


         ผมเคยบันทึกเรื่อง วจส. ไว้ที่ http://gotoknow.org/blog/thaikm/4721 กว่าปีมาแล้วไม่ได้บันทึกเพิ่มเติมเลย

         รู้สึกผิดที่เป็นกรรมการสถาบันของเขาแล้วมีโอกาสไปร่วมประชุมน้อย   ในการประชุมเมื่อวันที่ 28 ก.ค.49 และ 26 ก.ย.49  ผมไม่ได้เข้าประชุม   และในการประชุมครั้งต่อไปวันที่ 19 ธ.ค.49  ผมก็ทำท่าว่าจะเข้าประชุมไม่ได้

         คณะกรรมการชุดที่นัดประชุมแบบไม่มีระบบว่าทุกกี่เดือน   วันไหน  สัปดาห์ไหนของเดือน  แล้วนัดไว้ล่วงหน้าเป็นปี   ถ้าไม่มีระบบอย่างนี้ผมจะมีโอกาสเข้าร่วมน้อย   เพราะมักจะถูกนัดอื่นจองไว้ก่อน   ผมมี pocket PC เป็นนายครับ   ใครนัดไว้ก่อนก็ได้เวลาไปก่อน

         ในรายงานการประชุมเมื่อวันที่ 28 ก.ค.49   มีการรายงานเพื่อทราบ   เรื่องการจัดการความรู้ในพื้นที่ตำบลแม่ทา  กิ่งอำเภอแม่ออน จ.เชียงใหม่   เขาจดรายงานไว้ดังนี้
    "นายสวิง ตันอุด  ผู้อำนวยการ วจส.ภาคเหนือ   ได้รายงานว่าปีนี้จะครบรอบ 20 ปีการทำงานของแม่ทา   การทำงานเริ่มจากกลุ่มเล็ก ๆ พัฒนาไปเป็น กลุ่มเกษตร  เครือข่ายและสหกรณ์   ค่อย ๆ ทำจากเล็กไปใหญ่   มีการส่งต่อกันเป็นรุ่นที่ 3 แล้ว   แม่ทาขยับงานไปสู่เชิงนโยบายป่าชุมชนเกษตรนำร่อง
     ได้พูดคุยกับชาวบ้าน   ชาวบ้านเล่าว่ามีความสุข  มีอิสระมากขึ้น   ทุกวันนี้มีคนเข้าไปเรียนรู้ปีละประมาณ 200 คณะ   จึงต้องยกระดับสร้างเครื่องมือสื่อสาร   สร้างสถาบันการเรียนรู้  
     ชาวบ้านมีความมั่นใจในตัวเอง   กล้าที่จะคุยกับข้าราชการทุกระดับ   เรียนรู้ที่จะแก้ไขปัญหาในชุมชนลดความขัดแย้งที่เกิดขึ้น"

         ทำให้ผมหวนไปนึกถึงเรื่อง "กลุ่มคนรุ่นใหม่และเกษตรกรน้อยชุมชนแม่ทา  รู้จักตัวเอง  รู้จักธรรมชาติ  รู้จักพอ"  ในหนังสือ "ชีวิตพอเพียง" ที่แจกในงานสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ 2549

         เรื่องราวของชุมชนแม่ทาเป็นเรื่องราวของความดี  คนทำดี  ชุมชนเข้มแข็ง  ได้รับรู้แล้วเกิดความสุข

วิจารณ์  พานิช
 2 พ.ย.49

หมายเลขบันทึก: 56921เขียนเมื่อ 2 พฤศจิกายน 2006 11:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:13 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท