สันติชน
นาย วรนันท์ มูฮัมหมัด รอมฎอน บุนนาค

ศูนย์การเรียนรู้ฃุมฃน/สถานีถ่ายทอดภูมิปัญญาฃาวบ้าน


เรื่องราวของการศึกษาเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ไม่ว่าจะเป็นศูนย์การเรียนรู้ชุมชนหรือสถานีถ่ายทอดภูมิปัญญาชาวบ้านกำลังถูกทำให้หายไปอย่างไม่เห็นความสำคัญ ไม่ใส่ใจ ไม่เข้าใจเงื่อนไขของคนหลายระดับที่ล้วนแล้วแต่มองไม่ออก มองไม่เห็นศักยภาพอันเข้มแข็งในเรื่องภูมิปัญญาของชุมชนมาใช้ มาสานต่อ ซึ่งนับว่าน่าเสียดายอย่างยิ่งเพราะภูมิปัญญเป็นรากเหง้าของวัฒนธรรมในด้านต่างๆและส่วนใหญ่สะท้อนการดำเนินชีวิตที่งดงาม มีคุณค่าและประโยชน์คณานับ
ผมมีบทเรียนเรื่องศูนย์การเรียนรู้ชุมฃน หรือ ใครอาจเรียกว่าเป็น สถานีถ่ายทอดภูมิปัญญาชาวบ้านก็ได้ เมื่อสมัยทำงานองค์การแคร์(โครงการส่งเสริมและสนับสนุนธุรกิจขนาดเล็กSmall Enterprice extention project นั้นมีกิจกรรมอยู่ 2 กิจกรรมที่เราได้รวมงานกับชุมชนและเกิดการพัฒนางานมาเป็นศูนย์การเรียนรู้ฃชุมชน บ้านบุ่งหวาย อ.วาริณชำราบ(หัตถกรรมเสื่อแปรรูป)บ้านหัวทุ่ง อ.ตระการพืชผล (ตีเหล็ก) จังหวัดทางอีสาน และบ้านทุ่งมะขามป้อม อ.ปะเหลียน จ.ตรัง(ตำข้าวซ้อมมือ) พื้นที่ภาคใต้ โดยบ้านบุ่งหวายอยู่หน้าวัดป่านานาชาติ ชาวบ้านจึงมีหลายครอบครัวที่ทอเสื่อและแปรรูปหลากหลายชนิด ที่น่าสนใจคือการแปรรูปอาสนะ และเครื่องใช้ของพระหลากหลายชนิด ส่วนที่บ้านหัวทุ่ง ชาวบ้านทั้งหมู่บ้านแปรรูปตีเหล็ก ตีมืด เสียม ขวาน เคียว นำแหนบมาจากฝั่งลาว อำเภอเขมราฐห่างจาหหมู่บ้าน 50 กิโลเมตรมาทำฝีมือดี ผลิตภัณฑ์มีคุณภาพสูง ส่วนที่ทุ่งมะขามป้อมกลุ่มแม่บ้านตำข้าวซ้อมมือ ใช้ของพื้นบ้านแท้ๆทำ อาทิครกสีมือ ครกตำข้าว สากตำข้าว กระด้ง ทั้ง 3 พื้นที่มรอะไรคล้ายกันคือ เนื้อหาของกิจกรรมเหล่านี้ถูกนำไปเป็นหลักสูตรของโรงเรียนในหมู่บ้านทำการเรียนการสอนแบบบูรณาการ ซึ่งครูของแต่ละพื้นที่จะนำเด็กๆมาเรียนรู้กระบวนการผลิตพร้อมรู้จักและใช้อุปกรณ์ต่างๆโดยมีสมาชิกในแต่ละกลุ่มเป็นครูภูมิปัญญากิตติมศักดิ์เป็นผู้คอยใช้ความรู้ถ่ายทอดภูมิปัญญา และขฯนี้บางพื้นที่กลายเป็นหลักสูตรวิชาชีพของนักเรียนอาชีวะไปแล้ว นับได้ว่าภูมิปัญญาของชุมชนและงานหัตถอุตสาหกรรมชาวบ้านจะได้ถูกสานต่อเป็นงานอาชีพที่ไม่มีวีนสูญหาย โรงเรียนใดที่อยู่ใกล้แหล่งภูมิปัญญท้องถิ่น ผู้นำโรงเรียนต้องเปิดกว้างและนำบทเรียนนี้ไปเก็บเกี่ยวน่าจะดีนะครับ
หมายเลขบันทึก: 56920เขียนเมื่อ 2 พฤศจิกายน 2006 11:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 มิถุนายน 2012 06:56 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
สิ่งที่น่าค้นหาเพื่อที่จะพัฒนาให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตชุมชน ทั้งกระบวนการและเป้าหมาย คือ ธรรมชาติของชาวบ้านครับ...แต่ด้วยข้อจำกัด คือ นักพัฒนา เป็นคนนอกชุมชน การที่จะเข้าใจในมุมมองแบบชาวบ้าน คงยากเต็มที การเรียนรู้และซึมซับให้ใกล้เคียงที่สุด คงจะสามารถจัดเงื่อนไขการเรียนรู้ได้เป็นธรรมชาติและเหมาะกับชุมชนมากที่สุดครับ...
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท