บทบาทของแกนนำชุมชนต่อโครงการป้องกันเอดส์


ัมพร ศรีสำรวล
สำนักโรคเอดส์ วัณโรค และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กรมควบคุมโรค

ผลการศึกษา
- พบว่า แกนนำเยาวชนมีบทบาทในการมีส่วนร่วม และมีความนใจในกิจกรรมของโครงการ อยู่ในระดับดี และดีกว่าผู้นำชุมชน แกนนำชุมชนได้จัดกิจกรรม เช่น ประชุมวางแผนการทำงานป้องกันเอดส์ ให้ความรู้และคำปรึกษา ระดมกองทุน รณรงค์ประชาสัมพันธ์เอดส์ รู้ว่ามีแหล่งให้ข้อมูลเอดส์ ได้แก่ สถานีอนามัย บ้านผู้นำชุมชน ศูนย์ข้อมูลข่าวสารเอดส์ ทีวี วิทยุ และเสียงตามสาย ชุมชนกล้าพูดคุยและซักถามเรื่องเอดส์ และถุงยางอนามัยมากขึ้น มีสื่อเอดส์ เช่น ป้ายประชาสัมพันธ์ โปสเตอร์ แผ่นพับ เสื้อใส่รณรงค์ ชุมชนยอมรับการพกพาถุงยางอนามัยมากขึ้น รู้ว่ามีแหล่งหาถุงยางอนามัย เช่น สถานีอนามัย บ้านผู้นำชุมชน ร้านค้า ปั้มน้ำมัน

- ปัญหาที่พบ เช่น การถ่ายทอดความรู้ให้ผู้อื่น วัสดุอุปกรณ์ส่งมาล่าช้า การให้ความร่วมมือและต่อเนื่องในการร่วมกิจกรรมของชุมชน มีข้อเสนอแนะว่า จัดสรรงบประมาณให้ตรงเวลา สนับสนุนสื่อให้มากขึ้นตามความต้องการของชุมชน ติดตั้งเครื่องจำหน่ายถุงยางอนามัยในแหล่งท่องเที่ยว

- ระดับทบาทการมีส่วนร่วมในกิจกรรมของแกนนำชุมชนสามารถนำไปคาดการณ์ความ สำเร็จหรือความล้มเหลวของโครงการได้ ซึ่งผลการวิจัย พบว่า บทบาทและความพร้อมของผู้นำชุมชนต่อโครงการป้องกันเอดส์ยังไม่ดีเท่าที่ควร จึงควรให้ความสนับสนุน ส่งเสริม และกระตุ้นให้ได้แสดงบทบาทให้มากยิ่งขึ้น และควรเร่งส่งเสริมสร้างศักยภาพแกนนำชุมชนเพื่อเพิ่มพูนทักษะความรู้ ความเข้าใจให้มากยิ่งขึ้น

จากการนำเสนอผลงานทางวิชาการ
การประชุมวิชาการประจำปีกระทรวงสาธารณสุข ครั้งที่ 13 ประจำปี 2548



หมายเลขบันทึก: 56892เขียนเมื่อ 2 พฤศจิกายน 2006 10:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มิถุนายน 2012 16:49 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท