AnthroCat-Thailand
นาย ปรัชญาณินทร์ วงศ์อทิติกุล

ความรุนแรงแบบพลั้งเผลอและลืมตัว


เด็ก ๆ เยาวชนที่เล่นเกมส์ ต่างเห็นเป็นสิ่งที่ปกติธรรมดา ซึ่งในด้านหนึ่งมันย่อมธรรมดา เพราะเป็นไม่ใช่สิ่งที่เป็นจริงในชีวิติ มันก็แค่ในเกมส์ การรับรู้ของคนเราเมื่อเห็นสิ่งไหนซ้ำ ๆ จนกลายเป็นเรื่องธรรมดาไปแล้ว ย่อมไม่มีผลต่อจิตใจ มันทำให้เด็กเหล่านั้นกลายเป็นผู้เมินเฉยต่อสังคมได้ และเมินเฉยต่อความรุนแรง และสิ่งที่ปลุกเร้าให้เห็นเป็นสิ่งปกติ

วันนี้อยากเขียนเกี่ยวกับความรุนแรงทางความคิดและคำพูดของกลุ่มวัยรุ่นที่เล่นเกมส์ออนไลน์ (Online games) เพราะผู้เขียนชอบที่จะไปนั่งใช้อินเตอร์เน็ทตามร้านอินเตอร์เน็ทคาเฟ่ (Internet cafe') อยู่เสมอ (จน...ที่บ้านยังไม่มีเน็ทเป็นของตระกูล)

 ซึ่งแน่นอน ร้านอินเตอร์เน็ททั่วไป เป็นแหล่งรวมของคนทุกกลุ่มที่สามารถใช้ประโยชน์จากอินเตอร์เน็ทเป็น ไม่ว่า เด็กอายุต่ำกว่า 10 ขวบ ไปจนถึงรุ่นใหญ่ ซึ่งการแสวงหาความสุขจากการท่องไปในโลกไซเบอร์ ก็เป็นไปตามวัตถุประสงค์และความชอบส่วนบุคคลเป็นสำคัญ แต่กิจกรรมอย่างหนึ่งที่เป็นกิจกรรมประจำวันที่ขาดไม่ได้ และได้กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของรูปแบบการใช้เวลาว่าง-ไม่ว่าง ของกลุ่มวัยรุ่นและเยาวชนในสังคมเมือง (และในบางสังคมชนบท) ก็คือ การเล่นเกมส์ออนไลน์

นับว่าการเล่นเกมส์เป็นหนทางหนึ่งที่ช่วยผ่อนคลายความเครียดหลังจากนั่งฟังบรรยายสุดมหาโหดจากอาจารย์ที่เอาแต่พร่ามบ่นหน้าชั้นเรียน หรือหนีจากบรรยากาศที่น่าเบื่อหน่ายในบ้านที่มีผู้ปกครองขี้บ่นและใช้งาน ดังนั้น อะไรจะดีไปกว่าการเข้ามาเล่นเกมส์ในร้านเน็ท แอร์เย็นฉ่ำ ...

(เดี๋ยวมาเขียนต่อ)

 

ได้โอกาสกลับมาเขียนต่อเสียที

 

ท่ามกลางบรรยากาศที่เย็นฉ่ำในห้องของร้านเกมส์ออนไลน์นั้น สิ่งที่เกิดขึ้น การเข้าไปอยู่ท่ามกลางสังคมที่ค่อนข้างมีความเป็นอิสระจากการเฝ้าติดตามและการเฝ้าระวังจากผู้ปกครอง เป็นช่วงเวลาแห่งการเดินทางที่ไร้ขอบเขต และเป็นการเปิดประตูสู่โลกแห่งความอยากรู้อยากเห็น

 

เด็ก เยาวชน วัยรุ่น-รุ่นเล็ก-รุ่นใหญ่  ล้วนแต่ ใช้ โลกไซเบอร์ สเปซ (Cyber Space) เป็นโลกของตัวเอง ติดตามความใคร่อยากรู้อยากเห็น ไม่ว่าจะเพื่อวัตถุประสงค์ใด ก็ล้วนแต่ เพื่อสนองความต้องการของตนเป็นที่ตั้ง

 

หันกลับมาที่ เกมส์ออนไลน์ (On line Games) การเล่นเกมส์เป็นสิ่งที่ดี เพราะเป็นการฝึกระบบคิด ฝึกการแก้ปัญหาที่กำลังเผชิญ ซึ่งปัญหาที่เกมส์ผูกขึ้นก็มาจากพื้นฐานปัญหาที่มีอยู่ในสังคมจริง แต่สิ่งที่ต่างออกไป คือ ปัญหาในเกมส์เป็นปัญหาที่สามารถผลิตซ้ำ ได้อยู่เรื่อย ๆ ถ้าหากผู้เล่นไม่สามารถผ่านการแก้ปัญหาหรือเลื่อนระดับชั้นผู้เล่น (up level) ก็จะต้องกลับมาอยู่ ณ ปัญหาเดิม หรือภายใต้เงื่อนไขเดิม อีกครั้ง ซึ่งการที่ไม่สามารถจะผ่านปัญหาได้ในครั้งแล้วครั้งเล่านี้ มันส่งผลต่อการรับรู้ถึงภาวะแห่งความเป็นจริงว่า ปัญหาที่เผชิญนั้นไม่สามารถจะกลับมาแก้ตัวได้อยู่บ่อย เพราะ ในโลกแห่งความเป็นจริงมันผ่านแล้วผ่านไปด้วยเงื่อนไขแห่งการเวลา เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว เด็ก ๆ ที่ยังไม่มีวุฒิภาวะพอที่จะเข้าใจและเห็นซึ่งความเป็นจริงเช่นนี้ได้ ก็จะเกิดความเมินเฉยและเห็นว่าเหตุการณ์ที่ยุ่งยากของชีวิตเป็นเรื่องที่ธรรมดา และสามารถจะละทิ้ง หรือคิดว่าประเดี๋ยวค่อยกลับไปจัดการใหม่ ซึงปรากฏอยู่เสมอว่าเด็กวัยรุ่นสมัยใหม่ที่อ้างว่าตนเองเป็น กลุ่มคนที่ (คิด) นอกกรอบ เป็น คนกลุ่มโพสท์โมเดิร์นนิสซึ่ม (Postmodernism) มีความเห็นว่าชีวิตเป็นเรื่องที่สามารถทดลองได้อย่างสุขสันต์หรรษา ผู้เขียนไม่โต้แย้งว่า ชีวิตคือการเรียนรู้ ชีวิตคือห้องวิทยาศาสตร์ที่สามารถทดลองและหาคำตอบได้จากหลักการ เหตุผล ประสบการณ์ และข้อผิดพลาด แต่การมีความคิดเช่นนี้ในระดับที่สูงมากเกินไป ย่อมไม่ใช่สิ่งที่ดีนัก

               

ความเป็นอิสระปราศจากการติดตามควบคุมของเหล่าผู้ปกครองเหล่านี้ ทำให้เกิดสิ่งที่ติดตามมาอย่างไม่น่าเชื่อ ดังเช่นที่เกิดขึ้นในสังคมอเมริกัน ซึ่งเป็นสังคมที่เน้นความเป็นปัจเจกบุคคลสูง แม้กระทั่งพ่อ แม่ ลูก คนในครอบครัว ยังมีความเป็นปัจเจกชนอย่างมาก ความเป็นปัจเจกชนนี่เองที่ทำให้คดีเยาวชนในอเมริกาในปริมาณมาก ๆ พอกับคดีทางแพ่งที่เกิดจากภาคธุรกิจซึงเป็นเรื่องของผู้ที่บรรลุนิติภาวะแล้ว คดีเยาวชนที่เกิดขึ้นล้วนแต่เกิดจากการที่เด็กอเมริกันชนมีความเป็นอิสระสูง เน้นความเป็นปัจเจก และมีการลอกเลียนแบบจากเกมส์ จากภาพยนตร์ ซึ่งแน่นอนโดนกมลสันดานของมนุษย์ทุกกลุ่มทุกเชื้อชาติ ความรุนแรง เป็นสิ่งที่ถูกกดทับไว้ภายใน และไม่ยินยอมให้เล็ดลอดออกมาได้โดยง่าย แต่เมื่อ มีการกระตุ้นเร้าจากภายนอก สัตว์ป่า ย่อมแสดงตน ดังนั้น ความรุนแรงจากลักษณะการเล่นของเกมส์ที่มีอยู่ในปัจจุบัน เช่น เกมส์ยิงปืน (Counter, SP Strike อื่น ๆ ) ล้วนแต่พยายามเสนอภาพที่จำลองให้เหมือนจริงมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เช่น เสียงปืนที่เหมือนจริง ภาพเลือดแดงฉาน การบุกห้ำหั่นแบบประชิดตัวด้วยอาวุธมือที่ทำให้คู่ต่อสู้หัวขาด แขนขาด อย่างสยดสยอง เป็นต้น เด็ก ๆ เยาวชนที่เล่นเกมส์ ต่างเห็นเป็นสิ่งที่ปกติธรรมดา ซึ่งในด้านหนึ่งมันย่อมธรรมดา เพราะเป็นไม่ใช่สิ่งที่เป็นจริงในชีวิติ มันก็แค่ในเกมส์  การรับรู้ของคนเราเมื่อเห็นสิ่งไหนซ้ำ ๆ จนกลายเป็นเรื่องธรรมดาไปแล้ว ย่อมไม่มีผลต่อจิตใจ มันทำให้เด็กเหล่านั้นกลายเป็นผู้เมินเฉยต่อสังคมได้ และเมินเฉยต่อความรุนแรง และสิ่งที่ปลุกเร้าให้เห็นเป็นสิ่งปกติ

 

นอกจากนี้ ด้านความรุนแรงที่เกิดจากความพลั้งเผลอและถูกปลูกฝังให้อย่างไม่รู้สึกตัวนี้ ได้ถูกแสดงออกมาอยู่เสมอ เช่น การสบถคำพูดที่รุนแรง คำที่ใช้หยาบคาย โดยไม่มีความเกรงใจผู้อื่น และการที่มีอารมณ์ร่วมไปกับสถานการณ์ในเกมส์ที่กำลังตามไล่ล่ายิงและต้องฆ่าศัตรูที่อยู่ในเกมส์ให้ได้ ล้วนแต่เป็นการปลูกสันดานแห่งความเป็นผู้นิยมความรุนแรง (ผู้เขียนยืนยันที่จะใช้คำนี้) ต่อเด็กที่เล่นเกมส์

 

โดยเฉพาะเกมส์ที่มาจากประเทศอเมริกาที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการการทำร้ายร่างกายมนุษย์เพื่อทำการแย่งชิง จารกรรม ยิงต่อสู้กับเจ้าหน้าที่ตำรวจเพื่อหลบหนี (เป็นเกมส์ที่เด็กเรียกว่า เกมส์ขโมยรถ) หรือ เกมส์ที่ชื่อว่า RAN เป็นเกมส์ที่ มีตัวละครเป็นนักเรียนนักศึกษาในโรงเรียนของญี่ปุ่น จะมีการเข้ากลุ่มเป็นพวก แล้ว ค่อยรวมตัวกันไปยกพวกตีกับอีกกลุ่มหนึ่งที่ไม่ใช่กลุ่มตน มันคงไม่ผิด ถ้าตัวละครในเกมส์เป็นสัตว์ประหลาด แต่นี้ ตัวละครกลับเป็น คนที่เป็นตัวแทนคนจริง ดูแล้ว มัน อันธพาล ใช่หรือไม่ ?

 

แล้วยิ่งโดยเฉพาะในประเทศไทยยังไม่มีการจัด Rate ของเกมส์สำหรับกลุ่มผู้เล่น ทุกคน ตั้งแต่เด็กไปจนรุ่นแก่ ที่เดินเข้ามาในร้านสามารถเล่นได้ทุกเกมส์ตั้งแต่เกมส์หน่อมแน้ม เด็ก ๆ น่ารัก ๆ ไปจนถึง เกมส์เลือดพล่านสาดกระเซ็น ไม่มีการจัดการเกี่ยวกับความเหมาะสม

                 เด็กที่ว่ากันว่าเป็นผ้าขาว ก็จะมาซึมซับเอาความรุนแรงและคำพูดที่ไม่เหมาะสม จากบรรยากาศในร้านเกมส์ไป มันเป็นความรุนแรงที่ผลั้งเผลอและลืมตัวของใครกันแน่ ?????

 

หมายเลขบันทึก: 56846เขียนเมื่อ 2 พฤศจิกายน 2006 00:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:13 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

มายืนยัน ว่า มันรุนแรง จริง ๆ สำหรับการแสดงออก ทั้งด้านวาจา (คำพูด) และการใช้อารมณ์ผ่านการเคาะแป้นอักษร (Key Board)

 เพราะวันนี้ มานั่งในร้านเน็ทอีก พบว่า มีกลุ่มเด็กที่เข้ามาเล่น กำลังเล่นเกมส์แข่งเต้น แบบออนไลน์

การเล่นเกมส์ออนไลน์นี้ ดีอยู่อย่างหนึ่งคือ มีการสื่อสารระหว่างกันกับผู้เล่นคนอื่น ๆ ได้ โดยการพิมพ์ประโยคคำพูด

 และก็มีเด็กผู้หญิงคนหนึ่งอายุ ผมกะว่าน่าจะประมาณ 7-8 ขวบ เป็นคนเล่นเกมส์

จู่ ๆ เด็กผู้หญิงคนนี้ก็สบถออกมาว่า "ไอ้หน้าส้นตีน"

ยืนยันว่าได้ยินเต็มสองหู เมื่อเล่นไปได้สักพัก ก็เริ่มมีการแสดงอาการทางกายที่เต็มไปด้วยความรุนแรง เพราะเล่นได้ไม่ดี แพ้และเคาะแป้นลูกศรผิด ทำให้ไม่ได้คะแนน เพราะท่าที่ตัวการ์ตูนที่เป็นตัวแทนของผู้เล่นก็จะเต้นก็จะผิดไปด้วย เด็กคนนี้ ก็เริ่มเคาะแป้นอย่างรุนแรงและหนักหน่วง พร้อม ๆ กับ สบถ อุทาน และพูดแต่คำหยาบคาย ซึ่งประโยคหนึ่งที่ทำให้ผมถึงกับ "จี๊ด" ขึ้นสมอง ก็คือ เด็กคนนี้พูดออกเสียงประโยคที่จะคุยกับผู้เล่นที่กำลังเล่นอยู่อีกปลายสายอีกทางหนึ่งว่า "แม่มึงตายเหรอ?" และอีกหลายประโยคที่เลวร้าย และไม่น่ารัก ไม่เหมาะสม ที่พรั่งพรูออกจากปากเด็กผู้หญิงเล็ก ๆ คนหนึ่ง

ผมได้ยินและได้ฟังเช่นนี้แล้ว รู้สึกว่า เด็ก ๆ สมัยนี้ใช้ภาษาที่เลวร้าย และไม่รู้สึกกระดากอายในการพูดจาหยาบคายและพูดคุยกันด้วยคำรุนแรง

จริง ๆ แล้ว เด็กคนนี้ มีแม่เป็นผู้พามาเล่นเกมส์ และแม่ก็เล่นเกมส์ อยู่ด้วย และไม่ได้ทำการดุด่า หรือตำหนิลูกตัวเองแม้แต่คำเดียว

มันแปลกไหม ? ที่ว่าแปลกนี้ ผมแปลกหรือคนเหล่านั้นแปลก ?

หรือว่า ผม ล้าสมัย ไม่ทันโลก ???

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท