ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของคนเข้าเมืองผิดกฎหมาย


ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของคนเข้าเมืองผิดกฎหมาย

                ผู้ที่เป็นคนเข้าเมืองผิดกฎหมายคือผู้ที่หลบหนีเข้าประเทศไทยโดยวิธีการที่ฝ่าฝืนกับกฎหมาย พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ.2522 ในลักษณะต่างๆ เพื่อเข้ามาท่องเที่ยว ตั้งถิ่นฐาน หรือเพื่อใช้แรงงานในลักษณะของแรงงานต่างด้าวเป็นต้น ปัญหาของผู้ที่เข้าเมืองโดยผิดกฎหมายของประเทศไทยนั้น ส่วนใหญ่เป็นการหลบหนีเข้าเมืองของแรงงานจากประเทศเพื่อนบ้านที่มีชายแดนติดต่อกับเขตพื้นที่ของประเทศไทย เช่น แรงงานจากประเทศ ลาว เมียรม่า กำพูชา เป็นต้น เนื่องจากประเทศเหล่านี้ มีเขตชายแดนที่ติดต่อกับประเทศไทย สามารถเดินทางเข้าเมืองมาได้โดยง่าย ประกอบดวยรายได้ขั้นต่ำของประเทศทั้งสามไม่เพียงพอต่อการดำรงชีพ จึงเกิดเป็นการอพยพเข้าเมืองในรูปแบบต่างๆทั้งการอพยพด้วยตนเอง หรืออาศัยนายหน้าค้าแรงงานข้ามชาติ ก่อให้เกิดเป็นการเข้าเมืองโดยผิดกฎหมายของแรงงานต่างด้าวจากกลุ่มประเทศดังกล่าวขึ้นเป็นจำนวนมากในประเทศไทย

                 เมื่อมีประเด็นปัญหาเรื่องของแรงงานต่างด้าวเข้าเมืองผิดกฎหมายในประเทศไทยมากขึ้น สิ่งที่ตามมาคือการละเมิดสิทธิมนุษยชนของแรงงานต่างด้าวเหล่านี้ เนื่องจากได้หลบหนีเข้าประเทศไทยมาอย่างผิดกฎหมาย ดังนั้นจึงไม่ได้รับการคุ้มครองสิทธิต่างๆโดยรัฐไทย ในฐานะที่เป็นมนุษย์คนหนึ่ง ที่ควรจะได้รับการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนที่ใครจะมาละเมิดมิได้ เพราะเกรงกลัวว่าจะถูกจับกุมในข้อหาที่หลบหนีเข้าเมืองอย่างผิดกฎหมาย จนทำให้ไม่กล้าที่จะเรียกร้องสิทธิต่างๆที่ควรจะได้รับความคุ้มครอง ดังเช่นในกรณีของ แรงงานต่างด้าวถูกขนเข้าเมืองมาเพื่อค้าแรงงานในประเทศไทย ถูกปฏิบัติอย่างไร้มนุษยธรรม กล่าวคือ ถูกขนส่งทางตู้คอนเทนเนอร์ในปริมาณมหาศาล จนทำให้เกิดเป็นโรคระบาด ป่วย หรือเสียชีวิตในระหว่างขนส่ง หรือในกรณีที่คนงานต่างด้าวเข้าเมืองผิดกฎหมายถูกนายจ้างใช้แรงงานอย่างไม่เป็นธรรม หรือที่ได้ยินเป็นที่คุ้นหูคือ ถูกใช้แรงงานเยี่ยงทาส แต่ก็ไม่สามารถที่จะแจ้งต่อตำรวจได้ เนื่องจากเกรงกลัวว่าจะถูกจับเพราะหลบหนีเข้าเมืองมาอย่างผิดกฎหมายเป็นความผิดทางอาญา ทำให้เหตุการณ์การละเมิดสิทธิดังกล่าวเกิดขึ้นในประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง

                แต่ในปัจจุบันรัฐไทยได้ให้โอกาสแรงงานต่างด้าวที่เข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย สามารถเข้าทำพาสปอร์ต วีซ่าเพื่อเป็นแรงงานที่ถูกต้องตามกฎหมายในประเทศไทยได้ ที่กรมการจัดหางาน ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาที่เบื้องต้นของผู้ที่หลบหนีเข้าเมืองอย่างผิดกฎหมายทำให้ไม่ได้รับการคุ้มครองสิทธิต่างๆ อย่างถูกต้องตามกฎหมายของรัฐไทย ดังนั้นหากแรงงานต่างด้าวได้ถูกขึ้นทะเบียนความเป็นแรงงานต่างด้าวในประเทศไทยอย่างถูกต้องตามกฎหมายของประเทศไทย ก็จะได้รับการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานที่ใครจะมาละเมิดมิได้ รวมถึงเป็นการคุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ให้กับแรงงานต่างด้าวประเภทนี้อีกด้วย

อ้างอิง

ความผิดฐานนำคนต่างด้าวเข้าเมือง

http://www.decha.com/main/showTopic.php?id=1721

แรงงานต่างด้าวเข้าเมืองผิดกฎหมาย "หลบหนีเข้าเมือง"

http://treasurygroup.net/?p=490

พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522

http://www.immigration.go.th/nov2004/doc/act_imm_2522.html

หมายเลขบันทึก: 568269เขียนเมื่อ 17 พฤษภาคม 2014 11:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 พฤษภาคม 2014 11:16 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท