ทำความรู้จักศาลสิทธิมนุษยชนยุโรป


ทำความรู้จักศาลสิทธิมนุษยชนยุโรป

           เป็นที่น่าสงสัยอย่างมากของข้าพเจ้าที่ว่า กรณีของการละเมิดสิทธิมนุษยชนบนโลกนี้มักเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องทั้งใน และต่างประเทศ จนทำให้ข้าพเจ้าเกิดความสงสัยขึ้นมาว่า หากถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนขึ้นมาจะต้องทำอย่างไร จึงได้ทำการค้นคว้าหาข้อมูลเกี่ยวกับหน่วยงานที่ทำหน้าที่ตัดสินปัญหาเรื่องสิทธิมนุษยชนที่เกิดขึ้นบนโลก

            ในประเทศไทยแม้ในปัจจุบันจะให้ความสำคัญกับสิทธิมนุษยชนที่จะถูกละเมิดมิได้ แต่ก็ยังมิได้มีการจัดตั้งศาลสิทธิมนุษยชนของประเทศไทยขึ้น ดังนั้นหากเกิดกรณีที่มีความเกี่ยวเนื่องกับสิทธิมนุษยชนที่ถูกละเมิดโดยรัฐ หรือหน่วยงานของรัฐนั้น มักจะถูกส่งเรื่องไปที่ศาลปกครอง หรือ กรรมการสิทธิมนุษยชนเท่านั้น แต่ยังคงมิได้มีศาลสิทธิมนุษยชนโดยตรงในประเทศไทย

              ข้าพเจ้าจึงได้ทำการศึกษาในส่วนของศาลสิทธิมนุษยชนในต่างประเทศ และได้รู้จักกับ ศาลสิทธิมนุษยชนยุโรป (The European of Human Rights-ECtHR) ตั้งอยู่ที่เมืองสตราส์บูร์ก (Strasbourg) ประเทศฝรั่งเศส ตามหลักการในอนุสัญญายุโรปว่าด้วยเรื่องสิทธิมนุษยชน ปี 1950 (The European Convention on Human Rights) เพื่อดูแลและตรวจสอบการปฏิบัติตามอนุสัญญาของประเทศสมาชิก ซึ่งอนุสัญญายุโรปว่าด้วยสิทธิมนุษยชน มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า อนุสัญญาเพื่อคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐาน (Convention for the Protection of Human Rights and Fundamental Freedoms) ซึ่งเป็นหนึ่งในอนุสัญญาที่สำคัญที่สุด ที่สภายุโรป (The Council of Europe) ซึ่งประกอบด้วยประเทศสมาชิกของสภายุโรป ทั้ง 47 ประเทศได้เข้าเป็นภาคีและรับหลักการของอนุสัญญาฯ การนำคดีขึ้นสู่ศาลสิทธิมนุษยชนยุโรป จะสามารถทำได้โดยรัฐบาลคู่กรณีหรือบุคคลธรรมดาเพื่อฟ้องร้องรัฐบาลของรัฐภาคีทั้ง 47 ประเทศหากเกิดการละเมิดในสิทธิมนุษยชนโดยรัฐ ทั้งนี้คำพิพากษาของศาลมีผลผูกพันต่อรัฐคู่กรณีที่จะต้องปฏิบัติตามคำสั่งของศาล และแนวทางการพิจารณาคดียึดถือตามคำพิพากษาที่ได้พิพากษาไปแล้วเป็นหลัก (Case law) [1]

              ทั้งนี้ 47 ประเทศที่เป็นภาคีในอนุสัญญาศาลสิทธิมนุษยชนยุโรปนั้น เมื่อเกิดเหตุการณ์ละเมิดสิทธิมนุษยชนขึ้นในประเทศเหล่านี้ ระหว่างรัฐต่อบุคคลก็สามารถส่งเรื่องให้กับศาลนี้ได้ภายหลังจากการตัดสินคดีของศาลสูงสุดในประเทศนั้นๆเรียบร้อยแล้ว แต่ที่น่าเสียดายคือในประเทศไทย และแถบทวีปเอเชีย ยังไม่มีศาลที่ทำหน้าที่ตัดสินข้อพิพาทในเรื่องของสิทธิมนุษยชนโดยตรง เป็นเหตุให้กรณีปัญหาสิทธิมนุษยชนมักจะไม่ถูกแก้ไขอย่างตรงจุดและรวดเร็ว

อ้างอิง

รู้จักมั้ยศาลสิทธิมนุษยชนยุโรป

http://www.l3nr.org/posts/465646

ศาลสิทธิมนุษยชนแห่งยุโรป VS เคท มิดเดิลตัน

http://www.l3nr.org/posts/466240

EUROPEAN COURT OF HUMAN RIGHTS

http://library.nhrc.or.th/Dictionary/search_dic.php?Search=E&page=2

สืบค้นข้อมูลเมื่อวันที่ 16 พ.ค. 57

หมายเลขบันทึก: 568203เขียนเมื่อ 16 พฤษภาคม 2014 21:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 พฤษภาคม 2014 21:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท