ครอบครัวข้ามชาติ


ครอบครัวข้ามชาติ

              คำว่าครอบครัวข้ามชาติเป็นคำเรียกครอบครัวที่มีความสัมพันธ์ หรือมีความเกี่ยวเนื่องกับประเทศอื่นๆนอกเหนือจากประเทศที่เป็นถิ่นที่อยู่อาศัย มีความหมายในหลายลักษณะด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น ครอบครัวที่มีการสมรสระหว่างสามีและภรรยาต่างสัญชาติกัน หรือครอบครัวที่อพยพจากถิ่นฐานเดิมเพื่อหลบหนีสถานการณ์อันตราย และเพื่อประกอบอาชีพ

              กรณีศึกษาเรื่องครอบครัวข้ามชาติที่ข้าพเจ้าสนใจในประเด็นนี้คือ เรื่องของครอบครัวฐานะรุ่งอุดม หรือครอบครัวของน้อง เด็กชายจิตภานุ ฐานะรุ่งอุดม หรือ แอสะโม่เคร เด็กชายที่มีสัญชาติไทยเนื่องจากในเวลาอีกไม่นานประเทศไทยและอีก 9 ประเทศจะเข้าร่วมเป็น สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรืออาเซียน [1] ซึ่งเป็นการเปิดเขตเศรษฐกิจและสงคม ทำให้เกิดการถ่ายเทแลกเปลี่ยนแรงงานอาชีพ และวัฒนธรรมระหว่างประเทศที่เป็นภาคีสมาชิคอาเซียน

               ทั้งนี้ข้าพเจ้าเชื่อว่าเมื่อมีการเปิดเขตอาเซียน จะมีกรณีของครอบครัวข้ามชาติในลักษณะเดียวกันกับครอบครัวฐานะรุ่งอุดม อีกมากมาย กล่าวคือ ครอบครัวฐานะรุ่งอุดม คือครอบครัวที่เกิดจาก สามีผู้มีสัญชาติไทย แต่ภรรยาเป็นคนต่างด้าวสัญชาติเมียนม่า ทำงานในประเทศไทย และเมื่อมีบุตร ที่เกิดในประเทศไทย บุตรจึงควรที่จะได้รับสัญชาติไทย โดยการเกิด ตาม พ.ร.บ.สัญชาติ มาตรา 7 เพราะบิดามีสัญชาติไทยและน้องเกิดในประเทศไทย บุตรชายของครอบครัวนี้จึงมีสัญชาติไทย แต่ภายหลังการเกิดของบุตรชายครอบครัวฐานะรุ่งอุดม หรือน้องแอ้สะโม่เคร ได้ถูกบิดามารดานำไปเลี้ยงที่ประเทศเมียรม่า โดยที่เจ้าหน้าที่ทางทะเบียนไม่ทราบว่าน้องมีสัญชาติไทย ทำให้น้องไม่สามารถเข้าถึงสิทธิในการรักษาพยาบาลฟรี หรือบัตรทองของประเทศไทยได้ เคราะห์ยังดีที่ต่อมามีการแก้ไขทางทะเบียนจนทำให้น้องแอ้สะโม่เครมีสิทธิในการรักษาพยาบาลเช่นเดียวกับุคคลสัญชาติไทยคนอื่นๆ

               ในอนาคตกรณีเช่นเดียวกับครอบครัวฐานะรุ่งอุดมเป็นจำนวนมากอย่างแน่นอน เนื่องจากการเปิดเขตเศรษฐกิจอาเซียนนี้ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนหมุนเวียนแรงงานต่างชาติที่ย้ายถิ่นฐานเพื่อประกอบอาชีพ รวมถึงการเดินทางท่องเที่ยวอย่างสะดวกสบาย อาจเป็นเหตุให้มีครอบครัวข้ามชาติเกิดขึ้นในหลายๆประเทศ และในกรณีนี้จึงต้องมีการตรวจสอบอย่างจริงจังถึงสถานะทางทะเบียนของมนุษย์ทุกคน เพราะครอบครัวข้ามชาตินี้อาจะเป็นเหตุให้มีการตกหล่นของการได้รับสัญชาติ หรือ การเข้าถึงสิทธิต่างๆตามสัญชาติที่มีอยู่ จนกลายเป็นปัญหาถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนในที่สุด ดังเช่น น้องแอ้สะโม่เคร ที่นอกจากได้รับสิทธิในการรักษาพยาบาลตาม สิทธิในการมีสุขภาพดีแล้ว ในอนาคตเมื่อถึงอายุที่ต้องได้รับการศึกษา น้องควรมีสิทธิที่จะได้รับการศึกษาในฐานะที่เปนผู้มีสัญชาติไทย ตามสิทธิในการได้รับศึกษา

               ดังนั้นหน่วยงานราชการที่มีหน้าที่ หรือเกี่ยวข้องกับการควบคุมลิทธิของมนุษย์ทุกคนตามกฎหมายของแต่ละประเทศควรให้ความสำคัญอย่างจริงจังในเรื่องของการพิสูจน์สัญชาติ หรือการรับรองสิทธิในฐานะที่เป็นมนุษย์ เพราะท้ายที่สุดแล้ว การได้รับสัญชาตินั้นเป็นเรื่องแรกที่สำคัญที่สุดสำหรับมนุษย์คนหนึ่ง หากไม่มีสัญชาติ หรือตกเป็นบุคคลไร้รัฐทั้งๆที่ควรที่จะได้รับการพิสูจน์สัญชาติว่าเป็นคนสัญชาตินั้นๆ ก็เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนของมนุษย์ผู้นั้นแล้ว

อ้างอิง

[1]รู้จัก 10 ประเทศอาเซียน ประวัติอาเซียน10ประเทศ

http://hilight.kapook.com/view/67028

ครอบครัวข้ามชาติตรงพื้นที่ระหว่างชายแดนไทย-ลาว โดย รศ.ดร.สุชาดา ทวีสิทธิ์

http://www.gotoknow.org/posts/269020

กรณีศึกษาน้องแอสะโม่เคร : ดอกไม้น้อยของอาเซียน

http://www.gotoknow.org/posts/554464

สืบค้นข้อมูลเมื่อวันที่ 10 พ.ค. 2557

หมายเลขบันทึก: 567972เขียนเมื่อ 14 พฤษภาคม 2014 22:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 พฤษภาคม 2014 22:08 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท