มนุษย์ที่ข้ามชาติ : กรณีศึกษาน้องดนัย ยื่อบ๊อ


มนุษย์ที่ข้ามชาติ

            ในการศึกษาหัวข้อมนุษย์ที่ข้ามชาตินั้น ข้าพเจ้าได้ทำการศึกษา กรณีของน้องดนัย ยื่อบ๊อ ที่เกิดในครอบครัวที่มีบิดาเป็นคนต่างด้าวซึ่งอพยพมาจากประเทศเมียนม่า และมารดาที่เป็นคนไทย แต่ด้วยเหตุผลทางทะเบียนอะไรก็ตามแต่ ทำให้มารดาของน้องดนัย ได้รับสัญชาติล่าช้า ภายหลังน้องดนัยเกิดกว่า สิบปี ดังนั้นในขณะที่น้องดนัยเกิด บิดาและมารดามิได้มีสัญชาติไทย ทำให้น้องดนัยมิได้รับสัญชาติไทย หรือสัญชาติใดๆ เลย และตกเป็นบุคคลไร้รัฐในที่สุด

            บุคคลไร้รัฐในกรณีนี้คือ เป็นบุคคลที่มิได้รับการรับรองสถานะความเป็นบุคคลทางทะเบียนจากรัฐใดๆเลย เป็นต้นเหตุสำคัญที่ทำให้น้องดนัยถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนต่างๆอย่างไม่ยุติธรรม กล่าวคือ การที่น้องดนัยไม่มีสัญชาติทำให้น้องดนัยไม่สามารถเข้าถึงสิทธิที่ตนควรมี อย่างน้อยที่สุดคือน้องดนัยควรได้รับสัญชาติไทย เพราะเกิดในประเทศไทย แต่น้องดนัยมิได้รับสัญชาติ จึงทำให้ข้าพเจ้าเกิดความสงสัยว่าความผิดพลาดนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร ข้าพเจ้าจึงได้ทำการหาข้อมูลในเรื่องวิธีการได้รับสัญชาติไทย ตามกฎหมายของประเทศไทย ได้ความว่า

พระราชบัญญัติ สัญชาติ พ.ศ. ๒๕๐๘

มาตรา ๗

บุคคลดังตอไปนี้ยอมไดสัญชาติไทยโดยการเกิด

(๑) ผูเกิดโดยบิดาหรือมารดาเปนผูมีสัญชาติไทย ไมวาจะเกิดในหรือนอกราชอาณาจักรไทย

(๒) ผูเกิดในราชอาณาจักรไทย ยกเวนบุคคลตามมาตรา ๗ ทวิ วรรคหนึ่ง

มาตรา ๗ ทวิ

ผูเกิดในราชอาณาจักรไทย โดยบิดาและมารดาเปนคนตางดาว ยอมไมไดรับสัญชาติไทย ถาในขณะที่เกิดบิดาตามกฎหมายหรือบิดาซึ่งมิไดมีการสมรสกับมารดาหรือมารดาของผูนั้นเปน

(๑) ผูที่ไดรับการผอนผันใหพักอาศัยอยูในราชอาณาจักรไทยเปนกรณีพิเศษเฉพาะราย

(๒) ผูที่ไดรับอนุญาตใหเขาอยูในราชอาณาจักรไทยเพียงชั่วคราว หรือ

(๓) ผูที่เขามาอยูในราชอาณาจักรไทยโดยไมไดรับอนุญาตตามกฎหมายวาดวยคนเขาเมือง

              ในกรณีที่เห็นสมควรรัฐมนตรีจะพิจารณาและสั่งเฉพาะรายใหบุคคลตามวรรคหนึ่งไดสัญชาติไทยก็ได ตามหลักเกณฑที่คณะรัฐมนตรีกําหนด

              ใหถือวาผูเกิดในราชอาณาจักรไทยซึ่งไมไดสัญชาติไทยตามวรรคหนึ่งเปนผูที่เขามาอยูในราชอาณาจักรไทยโดยไมไดรับอนุญาตตามกฎหมายวาดวยคนเขาเมือง เวนแตจะมีการสั่งเปนอยางอื่นตามกฎหมายวาดวยการนั้น [1]

              กล่าวคือ ตามข้อเท็จจริงแล้ว มารดาของน้องดนัยเป็นคนไทยที่ได้รับการพิสูจน์สัญชาติ และได้รับสัญชาติ ดังนั้นตามข้อเท็จจริงแล้วน้องดนัยควรได้รับสัญชาติไทยโดยการเกิด ตามมาตรา 7 แต่อย่างไรก็ตามการได้สัญชาติของมารดาน้องดนัยเกิดขึ้นภายหลังการเกิดของน้องดนัย ส่งผลให้ในขณะที่น้องดนัยเกิดมารดาของน้องก็ตกอยู่ในสถานะของบุคคลที่ไร้สัญชาติเช่นกัน และที่สำคัญคือในขณะเกิดบิดาของน้องดนัยอยู่ในสถานะของคนต่างด้าวที่เข้าเมืองผิดกฎหมาย ตามมาตรา 7 ทวิ(3) ทำให้การได้รับสัญชาติของน้องดนัยจึงไม่เกิดขึ้น

              แต่กระนั้นข้าพเจ้าก็มองว่ามารดาของน้องดนัยเป็นคนไทย เกิดในประเทศไทย และได้รับการพิสูจน์สัญชาติแล้วว่ามีสัญชาติไทย เมื่อมารดาของน้องดนัยได้รับการพิสูจน์สัญชาติแล้วน้องดนัยก็ควรที่จะได้รับสัญชาติไทยตามมาตรา 7 (1) แต่สิ่งที่เกิดขึ้นคือ น้องดนัยมิได้รับสัญชาติตามมารดาแต่อย่างใด

              ข้าพเจ้าคิดว่าสิ่งที่เกิดขึ้นนั้นเป็นเรี่องไม่สมควรอย่างยิ่ง เพราะนอกจากจะขัดกับกฎหมาย พ.ร.บ. สัญชาติว่าด้วยเรื่องของการได้สัญชาติไทยแล้ว การที่น้องดนัยไร้รัฐ ไร้สัญชาติทั้งๆที่มีกฎหมายบัญญัติให้ได้รับสัญชาติไทยตามมารดา ก็เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนของน้องอย่างชัดเจน จนทำให้น้องไม่สามารถเข้าถึงสิทธิต่างๆได้อย่างที่ควรจะเป็น ทั้งนี้อาจเพราะถูกละเลย จากหน่วยงานราชการ ที่มักจะละเลยและปฏิเสธที่จะดำเนินการตามกฎหมายให้กับบุคคลที่ไร้สัญชาติและทำเรื่องขอสัญชาติไทยจนทำให้เกิดเป็นปัญหามนุษย์ที่ไร้รัฐและละเมิดสิทธิมนุษยชนของบุคคลเหล่านี้ในที่สุด

อ้างอิง

[1]พ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ. 2508

http://www.thaigeneralkonsulat.de/th/consular/nati...

การได้สัญชาติไทยของบุคคลที่ไม่มีสัญชาติไทย

http://www.gotoknow.org/posts/510683

สืบค้นข้อมูลเมื่อวันที่ 5 พ.ค. 2557

หมายเลขบันทึก: 567914เขียนเมื่อ 13 พฤษภาคม 2014 22:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 พฤษภาคม 2014 22:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท