เรียนรู้สังคมผ่านชีววิทยา


ชีววิทยาสอนบทเรียนทางสังคมได้ เพราะขีววิทยา คือ "สังคมที่มีชีวิต"

ผมเริ่มกลับมาอ่านหาความรู้ทางชีววิทยาเมื่อไม่นานมานี้เอง เพื่อปูพื้นฐานให้ตนเองเชื่อมต่อกับศาสตร์แขนงใหม่ ๆ ได้

นั่งอ่านเรื่อง cell biology ผมก็รู้สึกว่า เอ๊ะ นี่ผมกำลังอ่านตำราชีววิทยาอยู่หรือ เพราะอ่านแล้วรู้สึกราวกับอ่านประวัติศาสตร์การเมือง หรือตำราทางสังคมวิทยา

ที่รู้สึกอย่างนั้น เพราะความสัมพันธ์ระดับเซลล์ เป็นความสัมพันธ์ที่โยงใยซับซ้อน เป็นเหตุเป็นผล แต่ก็ไม่ได้ตรงไปตรงมา มีความสัมพันธ์แบบร่วมมือ (พันธมิตร) หรือแบบถ่วงดุล หรือแม้แต่หักล้างกันเอง การควบคุมแบบวัฏจักร ฯลฯ เช่น การเกิด apoptosis  ซึ่งล้วนสะท้อนให้เห็นว่า แม้ในสังคมระดับเซลล์ ก็มีสังคมวิทยา หรือการเมืองระดับเซลล์ได้

หรือเมื่ออ่านเรื่องเกี่ยวกับทฤษฎีวิวัฒนาการ ก็เป็นเช่นเดียวกัน นั่นคือ ไม่ว่าจะเป็นเซลล์เกิดวิวัฒนาการ หรือจะเป็นระดับสิ่งมีชีวิตเกิดวิวัฒนาการ หรือสังคมและการเมืองเกิดวิวัฒนาการ ต่างก็เป็นการวิวัฒนาการที่เราพอจะอธิบายได้ และยังไม่สามารถหลุดจากกรอบแนวคิดเรื่องวิวัฒนาการ

ผมเคยอ่านนิยายเรื่อง evolution ของ stephen baxter เขาบรรยายถึงพฤติกรรมของตัวผู้ในฝูงว่า พยายามแข่งขันกันอวดสาว และทำให้วิวัฒนาการไปสู่รูปลักษณ์หรือลักษณะเด่น เป็นตัวผลักดันให้เกิดการกลายเป็นสปีชีส์ใหม่ (specation) โดยเขาตั้งข้อสังเกตุว่า เป็นการลงทุนทางชีววิทยาที่สูงมาก ซึ่งในสภาพที่มีความบีบคั้นรุนแรง (เช่น ถ้าสาวไม่สน ก็สูญพันธุ์) ก็จะเป็นตัวเร่งให้เกิด speciation โดยหากต้นทุนสังคมต่ำมาก ทั้งเผ่าพันธุ์อยู่สบาย ก็จะไม่มีวิวัฒนาการแบบแตกแขนง

ลองดูตัวอย่างทางธุรกิจก็ได้

สมมติว่ามีสินค้าอยู่ายการหนึ่ง ที่มีต้นทุนผลิตที่สูงมาก มีมาร์จินกำไรต่ำนิดเดียว เช่น สิ่งทอ

การที่ต้นทุนสูง ผู้ผลิตที่เกี่ยวข้อง ก็เริ่มต้องเกิด speciation แตกแขนงตัวเองให้กลายพันธุ์ เพื่อให้โดดเด่นกว่าคนอื่น จะได้อยู่รอด

สิ่งที่เกิดคือการวิวัฒนาการแยกสายพันธุ์

บางรายก็เน้นหั่นต้นทุน เช่น ลดขนาดองค์กร เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต

บางรายก็ไปเน้นสร้างภาพลักษณ์สินค้า โดยลงทุน R & D ด้านการออกแบบ

บางรายก็ไปเน้นตรงเพิ่มยอดขาย เน้นขายให้ถูก (หั่นมาร์จิน) แต่ให้มีฐานลูกค้าที่กว้างขึ้นมหาศาล

ผลคือ ยิ่งนานวัน กลุ่มต่าง ๆ เหล่านี้ก็จะยิ่งวิวัฒนาำการห่างออกจากกัน จนถึงจุดหนึ่ง ก็แยกขาดออกจากกันแบบไม่เหลือเค้า

กลุ่มแรกอยู่ตลาดบน

กลุ่มที่สองอยู่ตลาดกลาง

กลุ่มที่สามอยู่ตลาดล่าง

ถ้าสิ่งทอกำไรดีมากตั้งแต่ต้น (ต้นทุนผลิตต่ำมาก) ผู้ผลิตก็คงไม่ต้องขวนขวายอะไรมาก จะวิวัฒนาการไปทางเดียวคือ ทำอย่างไรจะผลิตให้ได้มากขึ้น กลมกลืนกันไปหมด

ปรากฎการณ์ทางสังคมก็ไม่ต่างกัน

ในสภาพที่ต้นทุนทางสังคมสูง ก็จะผลักดันให้เกิด speciation ของสังคมขึ้น คือมีการแตกแยกทางความคิดมูลฐาน แตกต่างในการรับรู้สภาพแวดล้อมรอบตัว มีวิถีสังคมที่เดินทางแยกขาดออกจากกันอย่างสิ้นเชิง เป็นการแยกตัวทางสังคมแบบขาดเยื่อใย เกิดมากขึ้น รุนแรงขึ้น กรณีการแตกสลายของประเทศยูโกสลาเวีย เกิดเป็นประเทศเล็กประเทศน้อยมากมาย ที่สังคมโลกยังขนลุกขนพองกับการเข่นฆ่ากันเองของคนที่เคยอยู่ร่วมสังคมเดียวกันในยุคของเรานี้ ก็คงเป็นตัวอย่างให้เห็นว่า การเมืองที่ล้มเหลว ทำให้ต้นทุนทางสังคมสูง จะมีชะตากรรมอย่างไร

ผมเคยเจอขอทานในเมืองนอก ฉุกใจคิดว่า เมืองเขามีต้นทุนทางสังคมสูงกว่าเรามาก ในเมืองหนาว ไม่มีบ้านอยู่ ไม่มีเงินจ่ายค่าพลังงานความร้อน มีสิทธิตายได้ แต่บ้านเรา เอื้อเฟื้อต่อการมีชีวิตอยู่มากกว่า

ต้นทุนทางสังคมที่ผมมอง หมายถึงค่าใช้จ่ายรวมของผู้คนในมิติต่าง ๆ เพื่อให้คนอยู่ในสังคม ดำเนินชีวิตอยู่ได้เป็นปรกติสุข

วิถีของวิธีคิดก็ผลักภาระให้ต้นทุนสังคมสูงขึ้น เช่น

ที่เกี่ยวกับการใช้จ่าย เช่น ความฟุ้งเฟ้อ-บ้่ากระแสอิน-เทรนด์ บ้ามือถือ บ้าซื้อเงินผ่อน บ้ากู้หนี้ยืมสินเพื่อใช้จ่ายไร้สาระ (กู้อย่างมีสาระไม่อยู่ในข่ายนี้ครับ) บ้าพนัน ก็ทำให้สังคมต้องเหนื่อยผิดปรกติ เหนื่อยในการหาเงิน เหนื่อยในการใช้เงิน เหนื่อยในการทวงเงิน หรือเหนื่อยในการสอบคตีฆาตกรรมเกี่ยวกับเรื่องเงิน

ที่เกี่ยวกับเรื่องการใช้ชีวิตไม่เป็น ก็ส่งผลถึงคนอื่น เช่น ตัวเองใช้จ่ายสุขภาพฟุ่มเฟือยจนสุขภาพขาดมือ ก็ต้องไปเบียดบังเป็นภาระสุขภาพแก่สังคม เช่น ตัวเองเมา ขับไปชนคนอื่นตาย เดือดร้อนทีนึงหลายคน 

ลองกลับมาดำเนินตามรอยเบื้องพระยุคลบาทของในหลวงของเราเถอะครับ ผมเชื่อว่าจะลดต้นทุนทางสังคมได้มหาศาล

หรือจะเรียนรู้จากยูโกสลาเวียก็ได้ครับ เพราะเราก็อยู่ไม่ห่างจากเขาเท่าไหร่ ค่าเรียนประวัติศาสตร์ไม่แพงครับ ถ้าเราไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์ซะเอง

มีคำสาปของนักประวัติศาสตร์ครับ

"Those who cannot learn from history are doomed to repeat it." (George Santayana)

ผมขอแปลในสำนวนผมเอง ซึ่งรับรองว่าแปลไม่ตรงครับ

"ถ้าเราไม่เรียนประวัติศาสตร์จากคนอื่น เราก็จะเป็นประวัติศาสตร์ให้คนอื่นเรียน"

 

หมายเลขบันทึก: 56789เขียนเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2006 16:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 เมษายน 2012 01:32 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
มองไปไกลหมือนกันนะครับ มองถึงยูโกสลาเวียเลย นายบอนมองแค่กลเกมทางการเมืองของไทยนี่เองครับ

ความสัมพันธ์ระดับเซลล์ที่โยงใยซับซ้อน เป็นการออกแบบระบบที่ดีที่สุึดอีกระบบหนึ่ง เทคโนโลยีอย่างหุ่นยน เครื่องยนต์กลไก ยังออกแบบเช่นนี้ไม่ได้เลยนะครับ เพราะร่างกายมีการพัฒนา เติบโต เสื่อมสลาย  (เหมือนการนเมืองเช่นกัน)

คนที่เรียนชีววิทยา หลายคนมองอะไรได้ลึกเ่ช่นกัน

ขอขอบคุณอาจารย์ wwibul และท่านผู้อ่าน...

  • ตอนผมเรียนทฤษฎีองค์การ (organization theory) ภาคพิเศษ นิด้า (M.P.A.) > ทฤษฎีการบริหารก็มีลักษณะเช่นนี้เหมือนกัน

ทฤษฎีช่วงหลังๆ ไม่ว่าจะเป็นทฤษฎีทางจิตวิทยา หรือการบริหาร จะอ้างอิง....

  • (1). ตัวแบบชีววิทยา (biological model) เพิ่มมากขึ้น
    (2). ภูมิปัญญาตะวันออกมากขึ้นเช่นกัน

ตัวอย่างเช่น การเปิดเสรีทางการค้า >

  • ท่าน ศ.นพ.ประเวศ วะสี กล่าวว่า เซลล์ที่เปิดเสรี (ยอมให้สารเคมี เช่น ประจุ / ion โปรตีน ฯลฯ) ผ่านเข้าออกได้อิสระเป็นเซลล์ที่ตายแล้ว
  • เซลล์ที่มีชีวิตอยู่มีลักษณะ "เลือกสรร" ให้สิ่งที่ปลอดภัยผ่านเข้าออกได้ (semipermeable membrane)
  • โชคร้ายที่รัฐบาลไม่ฟังท่าน และพังมาแล้วหลายรัฐบาล

ขอขอบคุณอีกครั้งหนึ่ง...

ความแตกต่างที่ ร่วมมือ แข่งขัน พัฒนา ทำลาย

ความเหมือนกันที่ ร่วมมือ แข่งขัน พัฒนา ทำลาย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท