กฎหมายระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิมนุษยชนในสังคมไทย


กฎหมายระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิมนุษยชนในสังคมไทย

              สิทธิมนุษยชนเป็นสิทธิที่มนุษย์ทุกคนบนโลกมี และได้รับติดตัวมาตั้งแต่เกิด ซึ่งมีแนวคิดพื้นฐานมาจากความเท่าเทียมกันของมนุษย์ที่จะไม่มีแบ่งแยกว่าใครอยู่เหนือกว่าใคร ในแง่ของศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ กล่าวคือ มนุษย์ทุกคนจะต้องเคารพสิทธิ์มนุษยชนซึ่งกันและกัน นอกจากกฎหมายของแต่ละรัฐ หรือแต่ละประเทศจะต้องมีบทบัญญัติที่คุ้มครองสิทธิมนุษยชนของประชาชนในรัฐนั้นๆแล้ว หน่วยงานระหว่างประเทศยังต้องมีกฎหมายหรืออนุสัญญาต่างๆ เพื่อคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของมนุษย์ทั่วๆไป เพื่อควบคุมมิให้เกิดเหตุการณ์การละเมิดสิทธิมนุษยชนโดยรัฐ หรือโดยใครก็ตามสำหรับรัฐหรือประเทศที่เข้าชื่อเป็นภาคีสมาชิคของอนุสัญญานั้นๆ

              ในส่วนของอนุสัญญาต่างๆหรือกฎหมายระหว่างประเทศที่มีเนื้อหาสำคัญคือการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในด้านต่างๆของ มนุษย์ทุกคนบนโลก นอกจาก ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนแล้วยังมี ตราสารระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนที่พัฒนามาจากปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนหลัก ๆ มีทั้งสิ้น 9 ฉบับได้แก่

            (1) กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covenant on Civil and Political Rights-ICCPR)

            (2) กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม (International Covenant on Economic, Social and Cultural Rights-ICESCR)

            (3) อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติในทุกรูปแบบต่อสตรี (Convention on the Elimination of All Forms of Discrimination Against Women-CEDAW)

            (4) อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก (Convention on the Rights of the Child-CRC)

            (5) อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกประติบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบ (Convention on the Elimination of All Forms of Racial Discrimination-CERD)

            (6) อนุสัญญาว่าด้วยการต่อต้านการทรมานและการประติบัติหรือการลงโทษอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือย่ำยีศักดิ์ศรี (Convention against Torture and Other Cruel, Inhuman or Degrading Treatment or Punishment- CAT)

             (7) อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการ (Convention on the Rights of Persons with Disabilities - CRPD)

             (8) อนุสัญญาว่าด้วยการป้องกันบุคคลจากการหายสาบสูญโดยถูกบังคับ (Convention on the Protection of All Persons from Enforced Disappearance - CED)

             (9) อนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิของแรงงานโยกย้ายถิ่นฐานและสมาชิกในครอบครัว (Convention on the Protection of the Rights of Migrants Workers and Member of their Families MWC)

             ปัจจุบันประเทศไทยเข้าเป็นภาคีตราสารระหว่างประเทศหลักเหล่านี้แล้วทั้งสิ้น 7 ฉบับส่วนอนุสัญญาอีกสองฉบับที่ไทยยังไม่ได้เป็นภาคีคือ อนุสัญญาว่าด้วยการป้องกันบุคคลจากการหายสาบสูญโดยถูกบังคับ และอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิของแรงงานโยกย้ายถิ่นฐานและสมาชิกในครอบครัว [1]

             ทั้งนี้ข้าพเจ้าเห็นว่า อนุสัญญาที่มักถูกละเมิดโดยบุคคลต่างๆ หรือโดยรัฐนั้นๆเอง และเป็นที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่งสำหรับข้าพเจ้าคือ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการ

              อนุสัญญานี้มีความมุ่งประสงค์เพื่อส่งเสริม คุ้มครองและประกันให้คนพิการทั้งปวง ได้อุปโภคสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐานทั้งปวงอย่างเต็มที่และเท่าเทียมกัน และส่งเสริมการเคารพในศักดิ์ศรีที่มีมาแต่กำเนิดคนพิการ หมายความรวมถึงบุคคลที่มีความบกพร่องทางร่างกาย จิตใจ สติปญัญา หรือทางประสาทสัมผัสในระยะยาว ซึ่งเมื่อมีปฏิสัมพันธ์ กับอุปสรรคนานัปการ จะกีดขวางการมีส่วนร่วมในสังคมอย่างเต็มที่และมีประสิทธิผลบนพื้นฐานที่เท่าเทียมกับบุคคลอื่น [2]

             ตัวอย่างกรณีศึกษาที่เห็นเป็นประจำในสังคมไทย คือการเลือกปฏิบัติต่อคนพิการ เสมือนเป็นประชาชนอีกชนชั้นที่มักจะถูกดูถูก ว่าไม่สามารถอยู่ในสังคมได้เช่นเดียวกับคนปกติที่มีร่างกายครบถ้วนสมบูรณ์ แม้ในบางกรณี การเลือกปฏิบัติต่อคนพิการจะมิได้ถูกแสดงออกอย่างชัดแจ้ง แต่บ่อยครั้งก็ได้ถูกแสดงออกมาในรูปแบบของการกีดกันการเข้าทำงานในอาชีพต่างๆ เช่น การกำหนดคุณสมบัติในการรับสมัครเข้าทำงาน ซึ่งมีลักษณะที่กีดกันมิให้คนพิการมีสิทธิที่จะเข้าทำงานได้ เป็นต้น

              กล่าวคือ สังคมไทยในปัจจุบันนั้นยังคงมีการเลือกปฏิบัติต่อคนพิการอย่างไม่เท่าเทียมอยู่เสมอ ทั้งในเรื่องของการรับเข้าทำงาน หรือการ ดูหมิ่นเหยียดหยาม ความผิดปกติของผู้พิการนั้น ซึ่งข้าพเจ้ามองว่าการกระทำดังกล่าวเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างน่าละอาย ของผู้ที่มีร่างกายทุกส่วนครบถ้วนสมบูรณ์ แต่กลับมีใจพิการ ที่ไม่ให้โอกาสแก่ผู้ที่มีความผิดปกติทางร่างกาย ที่แม้ว่าจะทำให้เขาไม่สามารถกระทำการสิ่งใดได้อย่างสมบูรณ์เช่นเดียวกับคนปกติทั่วไป แต่ก็ควรที่จะให้โอกาสคนพิการที่จะใช้ความสามารถที่มีอยู่เพื่อทำงานเลี้ยงชีพของตน และไม่ตกเป็นภาระปัญหาสังคมของประเทศต่อไป

อ้างอิง

[1]ตราสารระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนที่ไทยเป็นภาคี 

http://www.mfa.go.th/humanrights/human-rights-conv...

[2]อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิของคนพิการ 

http://www.pwdsthai.com/files/law/rights.pdf

สืบค้นข้อมูลเมื่อวันที่ 3 พ.ค. 2557

หมายเลขบันทึก: 567831เขียนเมื่อ 12 พฤษภาคม 2014 21:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 พฤษภาคม 2014 21:24 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท