ปัญหาสิทธิมนุษยชนของผู้ลี้ภัย/ผู้หนีภัยความตาย


ปัญหาสิทธิมนุษยชนของผู้ลี้ภัย/ผู้หนีภัยความตาย

           ผู้ลี้ภัยหมายถึงบุคคลที่อยู่นอกประเทศต้นกำเนิดหรือประเทศที่มีถิ่นฐานประจำ เพราะเขาผู้นั้นประสบกับภัยอันเกิดแต่การตามล่า การกดขี่ด้วยเหตุทาง เชื้อชาติ ศาสนา สัญชาติ ความเห็นทางการเมือง หรือ การเป็นสมาชิกของกลุ่มสังคมที่ถูกตามล่า บางครั้งอาจเรียกผู้ลี้ภัยว่า ผู้ขอที่ลี้ภัย (asylum seeker) จนกว่าจะได้รับการยอมรับสถานภาพของผู้ลี้ภัย[1]

           ผู้หนีภัยความตาย คือ ผู้หนีภัยที่เกิดกับชีวิต ทั้งภัยโดยตรง และโดยอ้อม ภัยโดยตรง เช่น ภัยจากการสู้รบ ส่วนภัยความตาย โดยอ้อม คือ ภัยความตายทางกายภาพ ซึ่งเกิดจากการคาดการณ์ได้ว่า ถ้าไม่หนีออกมาจากพื้นที่นั้นจะต้องตาย หรือ กรณี ภัยความตายอีกประเภทหนึ่งคือภัยความตายทางจิตใจ เช่น การข่มขืน เป็นต้น

           ในเรื่องของภฎหมายที่มีความเกี่ยวข้องกับผู้ลี้ภัย คือกฎหมายอนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย ค.ศ. 1951 (พ.ศ.2494) โดยประเทศที่เข้าเป็นภาคีในอนุสัญญานี้จะต้องให้สิทธิกับผู้ลี้ภัย เช่นเดียวกับประชาชนในรัฐนั้น เช่น สิทธิการเดินทางโดยเสรี ในประเทศและหากต้องการเดินทางไปต่างประเทศ รัฐที่ดูแลผู้ลี้ภัยอยู่ก็ต้องออกเอกสารเดินทางให้ รวมไปถึงสิทธิทางการศึกษาและสิทธิอื่น ๆ ก็ต้องเท่าเทียมกันซึ่งประเทศไทยได้เล็งเห็นว่าการเป็นภาคีอนุสัญญานี้จะมีผลร้ายมากกว่าผลดี ประเทศไทยจึงมิได้เข้าร่วมเป็นภาคีในอนุสัญญาดังกล่าว กล่าวคือ ผู้ที่หนีภัยอันตรายจากประเทศของตนเข้ามาในประเทศไทย จึงมีสถานะเพียงแค่ผู้ลี้ภัยความตายเท่านั้น

          ในส่วนของผู้หนีภัยความตายที่ลี้ภัยมาอยู่ในประเทศไทยนั้น เนื่องจากกฎหมายของประเทศไทยมีการบัญญัติให้ความสำคัญเรื่องความเท่าเทียม และศักศรีความเป็นมนุษย์ในหลายๆบทบัญญัติของกฎหมาย เช่นในรัฐธรรมนูญของราชอาณาจักรไทย เป็นต้น ดังนั้นผู้หนีภัยความตายจึงได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมในฐานะเป็นมนุษย์คนหนึ่ง และมีสิทธิต่ายๆตามกฎหมายของประเทศไทย เช่นเดียวกับประชาชนสัญชาติไทย

           แต่อย่างไรก็ตามการจัดการกับผู้หนีภัยความตายของประเทศไทยนั้นได้กำหนดพื้นที่สำหรับอยู่อาศัยให้กับผู้หนีภัยความตายในลักษณะของค่ายผู้หนีภัยความตาย ซึ่งจะจำกัดมิให้ผู้หนีภัยความตายออกจากพื้นที่ดังกล่าว ไม่อนุญาตให้เดินทางออกไปสถานที่อื่น ไม่ว่าจะเพื่อเหตุผลใดๆก็ตาม ซึ่งโดยหลักแล้วข้าพเจ้าคิดว่า เป็นการจำกัดสิทธิมนุษยชนของผู้หนีภัยความตายเหล่านั้น เนื่องจากในปฏิญญา สากลที่ว่าด้วยเรื่องสิทธิมนุษยชนนั้น มนุษย์ทุกคนควรมีสิทธิในการเลือกที่อยู่อาศัก ประกอบอาชีพ และเดินทาง ดังนั้นการจำกัดพื้นที่สำหรับผู้หนีภัยความตายนั้นดูเหมือนจะเป็นการกระทำที่ขัดต่อสิทธิมนุษยชนรูปแบบหนึ่งเลยทีเดียว

            แม้ว่าข้าพเจ้าก็มองว่าการควบคุมดูแลผู้หนีภัยความตายนั้น จริงอยู่ที่การควบคุมให้อยู่ที่พื้นที่ที่จำกัด เป็นการขัดต่อสิทธิมนุษยชนรูปแบบหนึ่ง แต่ข้าพเจ้าคิดว่าการควบคุมดูแลผู้หนีภัยความตาย สำหรับประเทศไทย หากให้สิทธิทั้งหมดแก่ผู้หนีภัยความตายเช่นเดียวกับพลเมืองของประเทศอาจนำมาสู่ผลร้ายหลายประการ ทั้งในเรื่องของความวุ่นวายในการควบคุมดูแล ปัญหาการแย่งชิงที่อยู่อาศัย ปัญหาแรงงาน เป็นต้น ดังนั้นข้าพเจ้าคิดว่าหากประเทศไทยยังไม่มีความพร้อมในการเข้าเป็นภาคีในอนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย ก็มีความจำเป็นที่จะต้องจำกัดพื้นที่อยู่อาศัยให้กับผู้หนีภัยความตาย

             แต่กระนั้นข้าพเจ้าคิดว่าการจำกัดสิทธิมนุษยชนของผู้หนีภัยความตายก็มิได้เป็นเรื่องที่สำควรกระทำไปเสียทั้งหมด เนื่องจากตามรัฐธรรมนูญของรัฐไทยนั้นให้ความสำคัญกับศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ที่มีความเท่าเทียมกัน ดังนั้นข้าพเจ้ามองว่าไม่ควรจะจำกัดสิทธิของผู้หนีภัยความตายมากมายเสียจนไม่สามารถออจากพื้นที่ที่ถูกกำหนดไว้ หรือค่าย ได้เลย แต่ควรที่จะให้สิทธิต่างๆที่สามารถควบคุมความสงบเรียบร้อยได้ เช่น สิทธิในการประกอบอาชีพ หรืออาจใหสิทธิในการออกจากค่ายเพื่อประกอบอาชีพ อาจจะเป็นการขออนุญาตเป็นครั้งคราว ก็คงจะดีกว่าการจำกัดมิให้สามารถออกจากค่ายได้เพียงแต่ก้าวขาเพียงก้าวเดียวจนทำให้ผู้หนีภัยความตายเหล่านั้นรู้สึกเหมือนกับว่าตนเองถูกขังอยู่ในกรงที่ไม่สามารถหนีออกไปไหนได้แม้ว่าจะรอดจากความตาย แต่ก็มิได้มีชีวิตเช่นเดียวกับผู้อื่นแต่อย่างใด

อ้างอิง

[1] ผู้ลี้ภัย

http://th.wikipedia.org/wiki/ผู้ลี้ภัย

บทสัมภาษณ์ : “สิทธิของผู้หนีภัยความตาย”จากมุมมองนักวิชาการด้านสิทธิ 

http://salweennews.org/home/?p=986

สืบค้นข้อมูลวันที่ 20 พ.ค. 57

หมายเลขบันทึก: 567719เขียนเมื่อ 10 พฤษภาคม 2014 23:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 พฤษภาคม 2014 21:21 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท