KM เพื่อเกษตรธรรมชาติและอาหารปลอดสารพิษ จ. พิจิตร (๑)


KM เพื่อเกษตรธรรมชาติและอาหารปลอดสารพิษ จ. พิจิตร (๑)

        มูลนิธิร่วมพัฒนาพิจิตรและเครือข่ายพันธมิตร นำโดยคุณสุรเดช เดชคุ้มวงศ์ ดำเนินการเรื่องการส่งเสริมเกษตรธรรมชาติและอาหารปลอดสารพิษใน จ. พิจิตร มาหลายปี     จนเวลานี้เริ่มเห็นผล    เขาบอกว่าส่วนหนึ่งเพราะใช้เทคนิค KM เข้ามาช่วย    ผมได้ขออนุญาตตัดตอนเอกสารบางส่วนเอามาเล่าในบล็อกนี้    และได้เสนอให้ทีมคุณสุรเดชเขียนเล่าในบล็อกของตนเองด้วย

                           

                                      คุณสุรเดช  เดชคุ้มวงศ์

     
ชมรมเกษตรธรรมชาติและอาหารปลอดสารพิษ เป็นองค์กรที่มีเป้าหมายคือ การพึ่งตนเอง
และพึ่งพากันเองของเกษตรกร เป็นองค์กรที่มีพื้นที่การทำงานในจังหวัดพิจิตร  ก่อตั้งขึ้นเมื่อ เดือนกันยายน 2542 มีสมาชิก จำนวน 5,000 คน ศูนย์ประสานงานตั้งอยู่เลขที่ 4 / 178 – 179 ถ.สระหลวง อ.เมือง จังหวัดพิจิตร ปัจจุบันมีนายณรงค์ แฉล้มวงศ์ เป็นประธานชมรมฯ มีรายละเอียดขององค์กรคือ
1. คุณลักษณะทั่วไปขององค์กร
(1)   วัตถุประสงค์การดำเนินงาน
• สร้างผู้นำการเปลี่ยนแปลงสู่การพึ่งตนเองและพึ่งพากันเอง
• สร้างเครือข่ายการเรียนรู้ผู้มีน้ำใจ
• เป็นแหล่งเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง และเกษตรปลอดสารพิษ
• ส่งเสริมภูมิปัญญาและพัฒนาเทคโนโลยีพื้นบ้าน
• ส่งเสริมการอนุรักษ์ ฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ
• พัฒนาและส่งเสริมธุรกิจชุมชน
• ผลักดันนโยบายที่สอดคล้องกับเป้าหมายสู่ภาครัฐ
(2)  ยุทธศาสตร์
• การสร้างความเข้มแข็งขององค์กรและเครือข่าย
•  การเสริมสร้างกระบวนการเรียนรู้
•  การพัฒนาองค์ความรู้ภูมิปัญญา เทคโนโลยี รูปแบบการผลิต การแปรรูป การตลาด และการบริหารจัดการองค์กรและโครงการแบบมีส่วนร่วม
•  การรณรงค์เผย แพร่
•  ประสานพหุภาคี
•   ตั้งกองทุนส่งเสริมเกษตรยั่งยืน
(3) สัญลักษณ์ของเครือข่าย   วันที่ 10 มกราคม 2545  มีการจัดประชุมในเรื่องการทำตราสัญลักษณ์ของเครือข่าย ให้มีลักษณะ  “ ชาวนาใส่งอบคล้องคอมที่หัวไหล่ ผูกผ้าขาวม้าถือโทรศัพท์ ขี่ควาย มีพื้นหญ้าสีเขียวอยู่ด้านล่าง ” โดยมีความหมายว่า ชาวนา คือเกษตรกร ควายหมายถึงการพึ่งตนเอง โทรศัพท์ หมายถึง การเชื่อมเครือข่าย 
(4)  หน้าที่และบทบาทของคณะกรรมการ (กรรมการ วาระ 1 ปี)
• เป็นผู้สื่อสาร ทั้งในเรื่องแนวคิด และชี้ทิศทาง นำสิ่งใหม่เข้ามาภายในชมรมฯ
• แลกเปลี่ยนเรียนรู้ระดับจังหวัด ตำบล อำเภอ หมู่บ้าน
• ประสานงานเครือข่ายทั้งภายในและภายนอก
• ฟื้นฟูภูมิปัญญา วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม
(5) ภูมิหลังและการเข้ามาเป็นกรรมการชมรมฯและผู้ประสานงานแต่ละกลุ่ม บุคคลเหล่านี้ มีบทบาทสำคัญอย่างมากในกระบวนการสื่อสาร ก่อนมาทำงานเป็นทีมงานในชมรมเกษตรธรรมชาติ โดยแบ่งการเข้ามาได้เป็น 3 ลักษณะ คือ
• ทำงานเกี่ยวข้องกับการพัฒนาชุมชนอยู่แล้ว เช่น อาสาสมัครสาธารณสุข
(อสม) เช่น นายน้ำพอง เปียดี นายสินชัย  บุญอาจ นักวิชาการสาธารณสุข เช่นนายวรพล เลือดทหาร เป็นประธานหรือผู้ประสานงานกลุ่มองค์กรชาวบ้านที่ทำงานพัฒนาชุมชนอยู่แล้ว เช่น นายสมบัติ  จันทร์เชื้อ นายมนูญ มณีโชติ เป็นปราชญ์ชาวบ้านที่ได้รับการเคารพนับถืออยู่แล้ว เช่น นายบำรุง วรรณชาติ นายณรงค์  แฉล้มวงศ์ นายจวน ผลเกิด 
• ผ่านสื่อกลาง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับสาธารณสุข โดย
เฉพาะหมออนามัยหรือนักวิชาการสำนักงานสาธารณสุขเห็นว่าทำเกษตรปลอดสารพิษอยู่แล้ว หรือสนใจเกษตรปลอดสารพิษอยู่จึงเชิญเข้ามาเป็นแกนนำเกษตรกร  ซึ่งกลุ่มคนเหล่านี้มีจำนวนมากที่สุด
• เข้ามาเรียน วปอ.ภาคประชาชน (รายละเอียดข้อ 4.5.4 ) เมื่อเจ้าหน้าที่และทีมผู้จัด วปอ.ภาคประชาชน เห็นว่า “ มีแวว ”  คือ มีความสนใจ มีลักษณะเป็นผู้นำ มีความเป็นมาของการทำงานชุมชนที่น่าสนใจ จากการบอกเล่าของแกนนำเกษตรกรที่พามา เช่น คุณไพทูรย์ เสรีพงศ์ อาจารย์ จำรัส  มาเนียม

      ชมรมเกษตรธรรมชาติและอาหารปลอดสารพิษ เป็นองค์กรที่มีเป้าหมายคือ การพึ่งตนเองและพึ่งพากันเองของเกษตรกร เป็นองค์กรที่มีพื้นที่การทำงานในจังหวัดพิจิตร  ก่อตั้งขึ้นเมื่อ เดือนกันยายน 2542 มีสมาชิก จำนวน 5,000 คน ศูนย์ประสานงานตั้งอยู่เลขที่ 4 / 178 – 179 ถ.สระหลวง อ.เมือง จังหวัดพิจิตร ปัจจุบันมีนายณรงค์ แฉล้มวงศ์ เป็นประธานชมรมฯ มีรายละเอียดขององค์กรคือ 1. คุณลักษณะทั่วไปขององค์กร (1)   วัตถุประสงค์การดำเนินงาน• สร้างผู้นำการเปลี่ยนแปลงสู่การพึ่งตนเองและพึ่งพากันเอง• สร้างเครือข่ายการเรียนรู้ผู้มีน้ำใจ• เป็นแหล่งเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง และเกษตรปลอดสารพิษ• ส่งเสริมภูมิปัญญาและพัฒนาเทคโนโลยีพื้นบ้าน• ส่งเสริมการอนุรักษ์ ฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ • พัฒนาและส่งเสริมธุรกิจชุมชน• ผลักดันนโยบายที่สอดคล้องกับเป้าหมายสู่ภาครัฐ(2)  ยุทธศาสตร์• การสร้างความเข้มแข็งขององค์กรและเครือข่าย•  การเสริมสร้างกระบวนการเรียนรู้•  การพัฒนาองค์ความรู้ภูมิปัญญา เทคโนโลยี รูปแบบการผลิต การแปรรูป การตลาด และการบริหารจัดการองค์กรและโครงการแบบมีส่วนร่วม•  การรณรงค์เผย แพร่•  ประสานพหุภาคี•   ตั้งกองทุนส่งเสริมเกษตรยั่งยืน(3) สัญลักษณ์ของเครือข่าย   วันที่ 10 มกราคม 2545  มีการจัดประชุมในเรื่องการทำตราสัญลักษณ์ของเครือข่าย ให้มีลักษณะ  “ ชาวนาใส่งอบคล้องคอมที่หัวไหล่ ผูกผ้าขาวม้าถือโทรศัพท์ ขี่ควาย มีพื้นหญ้าสีเขียวอยู่ด้านล่าง ” โดยมีความหมายว่า ชาวนา คือเกษตรกร ควายหมายถึงการพึ่งตนเอง โทรศัพท์ หมายถึง การเชื่อมเครือข่าย  (4)  หน้าที่และบทบาทของคณะกรรมการ (กรรมการ วาระ 1 ปี) • เป็นผู้สื่อสาร ทั้งในเรื่องแนวคิด และชี้ทิศทาง นำสิ่งใหม่เข้ามาภายในชมรมฯ• แลกเปลี่ยนเรียนรู้ระดับจังหวัด ตำบล อำเภอ หมู่บ้าน• ประสานงานเครือข่ายทั้งภายในและภายนอก • ฟื้นฟูภูมิปัญญา วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม (5) ภูมิหลังและการเข้ามาเป็นกรรมการชมรมฯและผู้ประสานงานแต่ละกลุ่ม บุคคลเหล่านี้ มีบทบาทสำคัญอย่างมากในกระบวนการสื่อสาร ก่อนมาทำงานเป็นทีมงานในชมรมเกษตรธรรมชาติ โดยแบ่งการเข้ามาได้เป็น 3 ลักษณะ คือ• ทำงานเกี่ยวข้องกับการพัฒนาชุมชนอยู่แล้ว เช่น อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม) เช่น นายน้ำพอง เปียดี นายสินชัย  บุญอาจ นักวิชาการสาธารณสุข เช่นนายวรพล เลือดทหาร เป็นประธานหรือผู้ประสานงานกลุ่มองค์กรชาวบ้านที่ทำงานพัฒนาชุมชนอยู่แล้ว เช่น นายสมบัติ  จันทร์เชื้อ นายมนูญ มณีโชติ เป็นปราชญ์ชาวบ้านที่ได้รับการเคารพนับถืออยู่แล้ว เช่น นายบำรุง วรรณชาติ นายณรงค์  แฉล้มวงศ์ นายจวน ผลเกิด  • ผ่านสื่อกลาง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับสาธารณสุข โดยเฉพาะหมออนามัยหรือนักวิชาการสำนักงานสาธารณสุขเห็นว่าทำเกษตรปลอดสารพิษอยู่แล้ว หรือสนใจเกษตรปลอดสารพิษอยู่จึงเชิญเข้ามาเป็นแกนนำเกษตรกร  ซึ่งกลุ่มคนเหล่านี้มีจำนวนมากที่สุด • เข้ามาเรียน วปอ.ภาคประชาชน (รายละเอียดข้อ 4.5.4 ) เมื่อเจ้าหน้าที่และทีมผู้จัด วปอ.ภาคประชาชน เห็นว่า “ มีแวว ”  คือ มีความสนใจ มีลักษณะเป็นผู้นำ มีความเป็นมาของการทำงานชุมชนที่น่าสนใจ จากการบอกเล่าของแกนนำเกษตรกรที่พามา เช่น คุณไพทูรย์ เสรีพงศ์ อาจารย์ จำรัส  มาเนียม

(6) รายชื่อคณะทำงานและกรรมการแต่ละฝ่าย  ประกอบด้วย
1. นายณรงค์    แฉล้มวงศ์  ประธาน
2. นายสมบัติ   จันทร์เชื้อ   รองประธาน
3. นางสาวจำรัส  เสือดี    เลขา
4. นายน้ำพอง เปียดี    เหรัญญิก
5. กรรมการแต่ละฝ่าย
การปรับปรุงและพัฒนาพันธุ์ข้าว  คณะทำงาน นายสินชัย  บุญอาจ  นายแสน เขียวเทียน นายผดุง เครือบุปผา นายมนูญ   มณีโชติ
ศูนย์กระจายกากน้ำตาล  คณะทำงาน นายณรงค์  แฉล้มวงศ์ นางสาวชูศรี  กลิ่นสุคันธ์  นายประทีป บุญสิงห์ นางสาวจำรัส  เสือดี
หลักสูตร วิทยากรกระบวนการการเปลี่ยนแปลงสู่การพึ่งตนเองและพึ่งพากันเอง (วปอ.ภาคประชาชน) คณะทำงาน นายณรงค์  แฉล้มวงศ์ นายสมบัติ จันทร์เชื้อ นายจวน ผลเกิด  นายสมพงษ์   ธูปอ้น   นายบำรุง  วรรณ   ชาติ นายน้ำพอง  เปียดี นางสาวจำรัส เสือดี  นางสาวชูศรี กลิ่นสุคันธ์ นางสาวสุนทร ตุตะพะ นางสาวจำรัส  เสือดี นายชนะ พูนทรัพย์
(7) การเสริมพลังกรรมการและผู้ประสานงานในแต่ละกลุ่ม
• การเชิญเข้ามาร่วมประชุม  การประชุมที่ชมรมฯจัดขึ้นประมาณ 2 – 5 ครั้ง ต่อเดือน มีเนื้อหาหลัก ๆ คือ การให้ข้อมูล ในเรื่อง สถานการณ์ความเป็นไปของบ้านเมืองทั้งของพิจิตร ประเทศไทยในขณะนั้น  กรณีตัวอย่างการทำงานเกษตรยั่งยืนของภาคอีสาน  ส่วนใหญ่ผู้ให้ข้อมูลจะเป็น คุณสุรเดช   เดชคุ้มวงศ์ แจ้งข้อมูลสถานะโครงการปัจจุบัน โครงการหรือเรื่องต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเกษตรปลอดสารพิษ ที่แจ้งเข้ามายังเจ้าหน้าที่มูลนิธิ ผู้แจ้งคือ เจ้าหน้าที่มูลนิธิและแกนนำเกษตรกร ผลการดำเนินงานเกษตรปลอดสารพิษหรือเรื่องต่าง ๆ ที่แกนนำเกษตรกรอยากจะแจ้งให้ทราบ นอกจากนี้ในช่วงหลังเป็นการแลกเปลี่ยน พูดคุย ระดมความคิดเห็น หรือบางครั้งตัดสินใจในบางเรื่องที่ต้องการดำเนินงานภายหลังการประชุม  ลักษณะกรจัดเวที มีทั้งการพูดคุยภายในห้องประชุม และบางครั้งเคลื่อนไปประชุมยังพื้นที่ของเกษตรกร หมุนเวียนไปเรื่อง ๆ โดยสลับไปในแต่ละพื้นที่ของแกนนำเกษตรกร
• การดูงาน ภายนอกจังหวัดพิจิตร เนื้อหาส่วนใหญ่เป็นเรื่องแนวคิดและเทคนิคผสมผสานกันไป สถานที่ดูงานส่วนใหญ่จะเป็นภาคอีสาน โดยเฉพาะ เครือข่ายปราชญ์ชาวบ้านและพหุภาคีภาคอีสาน  ที่มีแกนนำ เช่น พ่อสุทธินันท์ ปรัชพฤกษ์ พ่อคำเดื่อง ภาษี  การดูงานส่วนใหญ่จะไม่ได้ไปเฉพาะการดูงาน แต่หลายครั้งจะเลือกไปในช่วงที่เจ้าของสถานที่มีการจัดงานนำเสนอผลงานในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาคุณภาพชีวิต เหตุผลที่เลือกไปในช่วงดังกล่าว เนื่องจากเห็นว่า งานดังกล่าวเป็นที่รวมของสุดยอดปราชญ์ชาวบ้านภาคอีสาน และ มีเนื้อหาข้อมูลต่าง ๆ ที่นำมาสรุปพร้อมนำเสนอแล้ว การดูงานดังกล่าว เช่น งานเครือข่ายปราชญ์ชาวบ้านและพหุภาคภาคอีสาน ครั้งที่ 1 ,ครั้งที่ 2 และครั้งที่ 3 งานข้าวอินทรีย์ จังหวัดยโสธร ซึ่งผลจากการดูงานดังกล่าวแกนนำเกษตรกรมักจะได้แนวคิดใหม่ ๆ มาเสมอ เช่น แนวคิดการพึ่งตนเองและพึ่งพากันเอง การตั้งเป้าหมายอีสาน 1 ล้านครอบครัวพึ่งตนเองได้ภายใน 20 ปี การทำเกษตรไม่ยากไม่จน 1 ไร่  ได้กำลังใจ จากการที่แกนนำเกษตรกรพูดว่า พิจิตรบ้านเราดินก็ดีกว่า น้ำก็ดีกว่า อีสาน อีก ฉะนั้นเราก็น่าจะทำได้หรือดีกว่าเขาเสียอีก
• การเชิญให้เข้าร่วมงานระดับภาค และประเทศ งานดังกล่าว ส่วนใหญ่เป็นแหล่งทุน หรือหน่วยงานที่สนับสนุนด้านต่าง ๆ ภายนอกจังหวัด เช่น งานสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ของสำนักงานปฎิรูปสุขภาพและภาคีร่วม  รวมพลคนสร้างสุข ของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ งานดังกล่าวชมรมฯเชิญแกนนำที่มีความสนใจหมุนเปลี่ยนกันไปร่วมงาน ซึ่งงานดังกล่าว แกนนำจะได้รับความรู้และสถานการณ์ใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้น เกิดกำลังใจในการทำงาน ซึ่งการร่วมงานลักษณะนี้ มีทั้งบุคลากรมูลนิธิไปร่วมด้วย หรือบางครั้งส่งไปร่วมเฉพาะแกนนำเกษตรกร ซึ่งถ้าคุณสุรเดช (เลขามูลนิธิไปด้วย)  มักจะจัดโปรแกรมพิเศษ คือ การหาเวลานอกคุยกับ “ คนดัง ” ในเรื่องเกษตรยั่งยืน ไม่ว่าจะเป็น ปราชญ์ชาวบ้านภาคอีสาน พ่อผู้ใหญ่วิบูลย์ เข็มเฉลิม  ซึ่งส่วนใหญ่ พ่อเหล่านี้จะไปร่วมงานด้วย ลักษณะพิเศษนี้ ทำให้การไปร่วมงานแกนนำจะได้ความคิดจากผู้รู้เหล่านี้เพิ่มเติม เกือบทุกครั้ง


         โปรดติดตามตอนที่ ๒

วิจารณ์ พานิช
๑๙ ตค. ๔๘

หมายเลขบันทึก: 5677เขียนเมื่อ 21 ตุลาคม 2005 09:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 08:18 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
เรียน ศ.นพ.วิจารณ์ ที่เคารพ ดิฉันปฏิบัติงานที่กลุ่มงานพัฒนาบุคลากร สำนักงานสาธารณสุข จ.สิงห์บุรี ซึ่งในปีนี้ สสจ.ได้รับมอบหมายให้เป็นเจ้าภาพรับผิดชอบการพัฒนาองค์กรของจังหวัด(ตามนโยบาย CEO)ตามกรอบการประเมินผลการปฏิบัติราชการ ของ กพร.มิติที่ 4 ประเด็นการประเมินผล คือ การจัดการความรู้ เพื่อสนับสนุนประเด็นยุทธศาสตร์เสริมสร้างขีดความสามารถในการผลิตข้าวและผลผลิตทางการเกษตรให้มีมาตรฐานและปลอดภัย ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์ที่ผ่านการทำ blueprint for change ปี 2548 ดิฉันอยากจะขอคำปรึกษาแนะนำเกี่ยวกับแนวทางในการจัดการความรู้ตามประเด็นดังกล่าว ในมุมมองของท่าน เพื่อนำไปต่อยอดดำเนินการได้อย่างมีคุณภาพ เนื่องจากยังไม่เคยทำKM เต็มรูปแบบมาก่อนเลย เคยแต่เป็นเจ้าภาพจัดอบรมเรื่อง KM ให้จังหวัดในปีที่ผ่านมา ซึ่งก็ยังมองไม่เห็นการปฏิบัติจริงที่จะประสบความสำเร็จถึงขั้นสนับสนุนยุทธศาสตร์ได้ ทำให้วิตกกังวลกับภารกิจนี้อย่างมาก กลัวว่าจะทำได้ไม่ดีสมกับที่ได้รับมอบหมายเป็นเจ้าภาพหลัก กรุณาให้ความช่วยเหลือด้วยนะคะ ขอบพระคุณอย่างสูงมา ณ โอกาสนี้ด้วย สิริกร เอกธีรธรรม สสจ.สิงห์บุรี
ลองติดต่อคุณสุรเดชดูนะครับ  [email protected], มือถือ 09 961 1204

ผมสนใจมากตอน วันนั้นอาจารย์ ธีร์ยุทธ ให้ไปหาข้อมูลชุมชนมา ผมไปขอข้อมูลแผนชุมชนที่อนามัยเจ้าหน้าที่บอกว่าแผนอะไร

ผมเลยไม่ได้ข้อมูลไปเสนออาจารย์ได้แต่ที่แผนพัฒนาอบต.แทน วันนั้นผมตอบอาจารย์ว่าผมไม่รู้ว่าบ้านผมมี เรื่องเกี่ยวกับปราชน์ชาวบ้านหรือชุมชนพอเพียงหรือเปล่า(ผมต้องข้อโทษที่ตอบแบบนั้น) แลัวันนั้นอาจารย์เอาเรื่องนี้แหละมาฉายให้ดู ทำให้ผมโง่หรือไม่ใส่ใจในเรื่องนี้ ทั้งที่ผมสนใจมาก ผมเรียนต่อการจัดการระบบสุขภาพก้ด้วยเหตุผลเรื่องพวกนี้มากเลย ผมแค่อยากบอกว่าผมภูมิใจมากที่บ้านเราก็มี ผมสนใจเรื่องการอยู่แบบพอเพียง และลดการใช้สารพิาผมไม่รู้ว่าจะเริ่มอย่างไร ผมอยากมีใครแนะนำบ้าง ผมอยากทราบ เราเดินเข้าไปถาม ไปปรึกษาขอข้อมูลเลยได้ไหม ต้องมีพิธีการอะไรไหม ผมอยากเริ่มที่ตัวเอง ครอบครัวแล้วค่อย แบ่งปันเพื่อนบ้านอยากทำให้เขาเห็นก่อนน่ะครับ รบกวนหน่อยน่ะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท